สืบค้นงานวิจัย
การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อผลิตลูกพันธุ์ปลาดุกอุย แบบประชาชนมีส่วนร่วม
ณิศา มาชู, รัชฎา เศรษฐวงศ์สิน, สบาย ตันไทย, ประสพโชค ตันไทย, สงวนศักดิ์ รัติโชติ, วิชัย ชูปล้อง, ณิศา มาชู, รัชฎา เศรษฐวงศ์สิน, สบาย ตันไทย, ประสพโชค ตันไทย, สงวนศักดิ์ รัติโชติ, วิชัย ชูปล้อง - มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ชื่อเรื่อง: การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อผลิตลูกพันธุ์ปลาดุกอุย แบบประชาชนมีส่วนร่วม
ชื่อเรื่อง (EN): Community Based Research for Catfish’s Fry Production
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: (1) บทคัดย่อ การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อผลิตลูกพันธุ์ปลาดุกอุยแบบประชาชนมีส่วนร่วม สบาย ตันไทย1 รัชฎา เศรษฐวงศ์สิน2 ณิศา มาชู3 ประสพโชค ตันไทย4 และ สงวนศักดิ์ รัติโชติ5 การวิจัยครั้งนี้เป็นการนำความรู้เชิงวิชาการ และทักษะวิจัย เรื่อง การเพาะพันธุ์ปลาไปผลิตลูกพันธุ์ปลาดุกอุยตามความต้องการของเกษตรกรบ้านลานควาย ต.บ้านใหม่ อ.ระโนด สงขลา โดยการเพาะพันธุ์ปลาทั้งรูปแบบการฉีดฮอร์โมนผสมเทียมและฉีดฮอร์โมนให้วางไข่ในนาข้าว ผลการศึกษาพบว่าการฉีดฮอร์โมนผสมเทียม เป็นวิธีที่เกษตรกรเห็นว่าคุ้มค่าและได้ประโยชน์สูงสุด โดยใช้ฮอร์โมนสุพรีแฟกท์ 10-30 ไมโครกรัม/แม่ปลา 1 กิโลกรัม ขึ้นกับความสมบูรณ์เพศ ส่วนพ่อปลาใช้สุพรีแฟกท์ 5 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ร่วมกับโมทีเลียม 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัมทั้ง 2 เพศ ในส่วนของปลาที่ให้วางไข่ในนาข้าว พบว่า พืชน้ำมีส่วนในการชักนำให้ปลาดุกอุยวางไข่ โดยพ่อปลาจะดูแลไข่และตัวอ่อน วิธีการนี้เก็บรวมลูกปลายาก มีอัตรารอดต่ำ สำหรับการอนุบาลลูกปลาวัยอ่อนพบว่าไรแดงเป็นอาหารที่ทำให้ลูกปลาเจริญเติบโตดีและมีอัตรารอดสูงมากกว่า 50% โดยมีต้นทุนการผลิตลูกปลาในระยะเวลา 30 วัน ประมาณ 0.34 บาท/ตัว ขณะนี้มีกลุ่มเกษตรกรหลัก 2 กลุ่ม ที่ดำเนินการในโครงการวิจัย คือ กลุ่มเลี้ยงปลาบ้านลานควาย ม.6 ต.บ้านใหม่ อ.ระโนด จ.สงขลา และกลุ่มบ้านคุณกระจ่าง บุญยัง ม.3 ต.ระโนด อ.ระโนด จ.สงขลา มีผู้สนใจเข้ามาศึกษาเป็นระยะ ๆ ทั้งสองกลุ่มได้ปรับเปลี่ยนการเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยเป็นปลาดุกลูกผสม เพราะเลี้ยงง่าย โตเร็ว ให้ผลผลิตในระยะสั้น มีตลาดจำหน่ายมาก และเป็นที่ต้องการของเกษตรกรที่เลี้ยงปลา แม้ว่าการดำเนินการส่งเสริมให้เกิดการเพาะพันธุ์ปลาในครั้งนี้ จะไม่เกิดผลโดยตรงกับปลาดุกอุย แต่ความต้องการเข้ามาศึกษาเพื่อไปประยุกต์ใช้กับการเพาะเลี้ยงปลาอื่น ๆ ก็คาดว่าจะส่งผลให้การจับปลาในธรรมชาติลดลง คงความอุดมสมบูรณ์ในธรรมชาติไว้ ตอบสนองต่อการใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องตลอดไป สิ่งสำคัญคือเกษตรกร มีรายได้และอาชีพเสริม มีการนำวัตถุดิบและทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การรวมกลุ่มดำเนินงานร่วมกันย่อมก่อให้เกิดการผูกพัน เกื้อกูล ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ช่วยสร้างสังคมการเกษตรให้เข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ____________________________________________________________________ 1 ผศ., คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 2 ดร., คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 3 อาจารย์, คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 4 วิศวกรการเกษตร, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8 5 เกษตรกร, 79/4 ม.4 ต.บ้านใหม่ อ.ระโนด จ.สงขลา
บทคัดย่อ (EN): (2) Community Based Research for Catfish’s Fry Production Sabai Tanthai1 Rachada Settavongsin2 Nisa Mashoo3 Prasopchok Tanthai4 And Saoansak Rathishode5 Acknowledgement and Laboratory Skill of Catfish Hatchery have been performed serving farmers in Ban Lankwai Tambon Banmai, Amphoe Ranot Changwat Songkhla. Activated fish by injected hormone then artificial fertilization and let some fish lay eggs in the rice field. The study show that breeding fish by using Suprefact hormone 10-30 ?g/ kg of female fish, it is up to the readiness of the fish and 5 ?g / kg of male fish then added 5 mg / kg of motelium with both male and female, after that using artificial fertilization later was the method that the farmers thought it was useful and worth doing. In the other case lay eggs in the rice field also show that aquatic plants help induce the layling fish and the male fish was took care eggs and fry. Collecting the fry was difficult by using this method, so the survival rate of the fry vary low. In nursing young fish, Water flea (Rai Dang) was the best food for them, the survival rate was high more than 50%. The investment in producing young fish for 30 days was 0.34 baht / fish Now there are two main groups of farmers, one is from Ban Lankwai and the other is from Ban Khun Kvajang Boonyoung, Moo 3, Tambon Ranot Amphoe Ranot Changwat Songkhla. There will be many interested people come to learn and practice from there two groups. However some of these people have adapted and changed from catfish to hybrid catfish. They found that using hybrid catfish gave more fish to the farmers and took shorter time and it is easy to sell in the market. These hybrid young fish are always needed by those fish farmers. The study helped reduce the catching natural fish, preserve the nature and the environment, and it helps the farmers work together. They will help each other. This will make the community strong and they can lean on their own feet. _____________________________________________________________________________________________________________________________________________________________ 1 Assist. Professor , Faculty of Agricultural Technology, Songkhla Rajabhat University 2 Dr., Faculty of Agricultural Technology, Songkhla Rajabhat University 3 Instructer, Faculty of Agricultural Technology, Songkhla Rajabhat University 4 Office of Agriculture Research and Development Region 8 5A Residence of Banlankhuai 79/4 M.6 Banmai Ranod Songkhla
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-11-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-10-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อผลิตลูกพันธุ์ปลาดุกอุย แบบประชาชนมีส่วนร่วม
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
31 ตุลาคม 2551
การอนุบาลปลาดุกอุยในกระชัง การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับปลาดุก การวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวเสาไห้พันธุ์เจ๊กเชยเชิงพาณิชย์จังหวัดสระบุรี โครงการวิจัยการวิจัยและพัฒนาการผลิตพันธุ์พืชเพื่อการผลิตพืชระบบเกษตรอินทรีย์ การวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตข้าวเสาไห้พันธุ์เจ๊กเชยเชิงพาณิชย์จังหวัดสระบุรี ระบบการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์เพื่อการผลิตสายพันธุ์ปลาบึก โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตชา โครงการวิจัยพัฒนาพันธุ์มันฝรั่งและเทคโนโลยีการผลิต การวิจัยและพัฒนาการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสม การพัฒนาระบบน้ำหมุนเวียนสำหรับการเลี้ยงปลาดุกลูกผสม (Clarias macrocephalus X C. gariepinus)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก