สืบค้นงานวิจัย
ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวลูกผสมระหว่างข้าวปลูก x ข้าวป่าและข้าวปลูก x ข้าววัชพืช
นภัทร สมควร - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวลูกผสมระหว่างข้าวปลูก x ข้าวป่าและข้าวปลูก x ข้าววัชพืช
ชื่อเรื่อง (EN): Yield and yield component of F1 hybrids between crop x wild rice and crop x weedy rice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นภัทร สมควร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Napat Somkual
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของลูกผสมที่เกิดจากข้าวปลูกกับข้าววัชพืชและข้าวปลูกกับข้าวป่า ประกอบด้วยลูกผสมชั่วที่ 1 จำนวน 4 คู่ผสม โดยใช้ข้าวปลูกจำนวน 2 พันธุ์ (ชัยนาท1 และ กข6) เป็นพันธุ์แม่ ผสมกับข้าววัชพืช (weedy rice) จากจังหวัดกาญจนบุรี (KG16) และประชากรข้าวป่า (Oryza rufigon) จากลำพูน (LP) เป็นพันธุ์พ่อ ทดลองในช่วงฤดูปลูก 2547/2548 ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยปลูกข้าวลูกผสมชั่วที่ 1 จำนวน 4 ต้น แทรกไว้ตรงกลางของแปลง และปลูกพันธุ์ข้าวปลูกระยะ 25x25 เชนสิเมตร ล้อมรอบข้าวลูกผสมนั้นไว้ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) ประกอบด้วย 2 ซ้ำ เมื่อถึงระยะออกรวง บันทึกอายุออกรวงและนับจำนวนหน่อต่อต้น เมื่อถึงระยะสุกแก่ สุ่มเก็บเกี่ยวข้าวปลูกในพื้นที่ 1 ตารางเมตร แยกสุ่มอีก 10 รวงนำมาวัดความยาวรวง นับจำนวนเมล็ดต่อรวง เปอร์เซ็นต์การติดเมล็ด เปอร์เซ็นต์การร่วง ส่วนที่เหลือนำไปนวดและชั่งผลผลิต ส่วนลูกผสมเก็บเกี่ยวทั้ง 4 ต้น นำมาวัดเช่นเดียวกับข้าวปลูกโดยวัดทุกรวง จากการทดลองพบว่าผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของลูกผสมระหว่างข้าวปลูกกับข้าววัชพืช และข้าวปลูกกับข้าวป่า มีความแตกต่างกันตามการรวมตัวของคู่ผสม ในลักษณะอายุวันออกรวง ข้าวชัยนาท1 (CNT1 ไม่ไวแสง) มีอายุออกรวงที่ 66 วัน โดยลูกผสมชัยนาท1 กับข้าววัชพืชมีอายุออกรวงช้ากว่าข้าวปลูก 6 วัน ส่วนลูกผสมข้าวปลูกกับข้าวป่ามีอายุออกรวงช้ากว่า 21 วัน ในลักษณะช่อดอกย่อยต่อรวง ข้าวปลูก (CNT1) และลูกผสมข้าวปลูกกับข้าววัชพืชมีค่าไม่แตกต่างมีค่าประมาณ 130 ช่อดอกย่อย ขณะที่ลูกผสมข้าวปลูกกับข้าวป่ามีค่าน้อยที่สุด 99 ช่อดอกต่อรวง ในลักษณะเปอร์เซ็นต์การติดเมล็ด ข้าว กข6 (RD6) มีค่าประมาณ 94% โดยลูกผสมข้าวปลูกกับข้าววัชพืชมีค่าเฉลี่ย 77% ขณะที่ลูกผสมข้าวปลูกกับข้าวป่ามีเปอร์เซ็นต์การติดเมล็ดต่ำที่สุด 52% ในลักษณะน้ำหนักเมล็ดต่อต้นพบว่าลูกผสมระหว่างข้าวปลูกกับข้าววัชพืชของ CNT1 และ RD6 มีค่าไม่แตกต่างกันมีค่าประมาณ 27-30 กรัมต่อต้น ส่วนลูกผสมข้าวปลูกกับข้าวป่าของทั้ง 2 พันธุ์มีค่าต่ำกว่าประมาณ 20 กรัมต่อต้น
บทคัดย่อ (EN): This study was to evaluate yield and yield components of F1 hybrids between crop x wild rice and crop x weedy rice. The F1 hybrids were derived from two crop rice (CNT1 and RD6, as female parent) crosses with weedy rice (from Kanchanaburi Province, KG16) and wild rice from Lamphun province (Oryza rufipogon) (as male parent). The experiment was carried out in the 2004/2005 season at Multiple Cropping Center, and Department of Agronomy, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University. Crop rice parents and their F1 hybrids were tested in field plots in Completely Randomized Design with two replications. Four plants of F1 hybrids were grown in the center and around of them were crop rice with 25cmx25cm spacing. At flowering, days to flowering and tillers per plant were determined. At maturity, 1mx1m of crop rice were harvested. Ten panicles were sampling for panicle length, spikelets per panicle, seed fertility percentage and shattering percentage and the rest were threshed for grain yield. All F1 hybrids were harvested and evaluated for the same traits as crop rice. Yield and yield components of F1 hybrids between crop x wild rice and crop x weedy rice were differed and depended on the combination of parental lines. For days to flowering, Chainat1 (CNT1) was 66 days, F1 hybrids between CNT1 x weedy nice and CNT1 x wild rice flowering later than crop at 6 and 21 days, respectively. For spikelets per panicle, CNT1 and F1 hybrids between CNT1 x weedy rice were about 130 spikelets. While F1 hybrids between CNT1 x wild rice was 99 spikelets. In fertility percentage, RD6, F1 hybrids between RD6 x weedy and RD6 × wild rice were about 94, 77 and 52 % respectively. Yield per plant of CNT1, RD6 and their F1 hybrids between crop × weedy rice were about 27-30 gram per plant while Ft hybrids between crop x wild rice of both crops were about 20 gram per plant.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/doa/search_detail/result/156037
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: 1 table
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวลูกผสมระหว่างข้าวปลูก x ข้าวป่าและข้าวปลูก x ข้าววัชพืช
นภัทร สมควร
กรมการข้าว
2548
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การประเมินพันธุกรรมข้าวป่าและข้าวปลูกในประชากรข้าววัชพืช ระบบการผลิตและต้นทุนการผลิตข้าวอินทรีย์เป็นพืชหลักเทียบกับการผลิตข้าวมาตรฐาน (GAP) ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย การประเมินลักษณะและความหลากหลายของข้าววัชพืชที่พบขึ้นระบาดในแปลงข้าวปลูกพันธุ์ปทุมธานี 1 ผลของการอบดินโดยใช้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ต่อการควบคุมข้าววัชพืชในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ผลของการใช้สารกำจัดวัชพืชต่อการควบคุมวัชพืชและผลผลิต ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในสภาพนาหว่านข้าวแห้ง การใช้สารกำจัดวัชพืช Fenoxaprop-p-ethyl และ Lactofen ในถั่วเหลืองปลูกหลังข้าว ศึกษาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพข้าว และชนิดของบรรจุภัณฑ์เพื่อการเก็บรักษาของข้าวซ้อมมือในเขตพื้นที่จังหวัดพัทลุง สมรรถนะในการผสมพันธุ์เพื่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตระหว่างข้าวไร่และข้าวนาสวน อิทธิพลของปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมี ต่อคุณสมบัติของดินและผลผลิตข้าวในสถานีทดลองข้าวสกลนคร สมดุลธาตุอาหารในระบบการปลูกปลูกหมุนเวียนข้าว - ถั่ว บนพื้นที่สูงใน ภาคเหนือของประเทศไทย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก