สืบค้นงานวิจัย
การยอมรับของเกษตรกรที่มีต่อการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษจังหวัดสมุทรสาคร
จันทิรา ศรีขาว - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การยอมรับของเกษตรกรที่มีต่อการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษจังหวัดสมุทรสาคร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จันทิรา ศรีขาว
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: การศึกษาการยอมรับของเกษตรกรที่มีต่อการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษในจังหวัดสมุทรสาคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับของเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของเกษตรกรที่มีต่อการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ รวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 90 คน ประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานด้วยค่าไคสแควร์ (c2) ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 50 ปี จบการศึกษาในระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น จำนวนสมาชิกในครอบครัวส่วนใหญ่มี 5 คน พื้นที่ถือครองในการทำการเกษตรเฉลี่ย 13.51 ไร่ พื้นที่ถือครองในการปลูกผักเฉลี่ย 10.56 ไร่ จำนวนแรงงานในครัวเรือน 3 - 4 คน จำนวนแรงงานจ้าง 5 - 6 คน ระยะเวลาในการประกอบอาชีพปลูกผัก 16 ปี ประสบการณ์ในการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษเฉลี่ย 7 ปี แหล่งเงินทุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ชนิดผักที่ปลูกมากที่สุดคือคะน้า รายได้ทางการเกษตรเฉลี่ย 234,407.78 บาท รายจ่ายทางการเกษตรเฉลี่ย 72,979.78 บาท รายได้สุทธิต่อปีเฉลี่ย 161,428.00 บาท ผู้ชักชวนให้เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษคือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของรัฐ แหล่งข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของรัฐ จำนวนสื่อที่ได้รับมากที่สุด 3 ชนิด การได้รับการฝึกอบรมจากสำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสาคร แหล่งจำหน่ายผลผลิตตลาดสี่มุมเมืองและปากคลองตลาด การจำหน่ายผลผลิตเป็นเงินสดและเงินเชื่อ ไม่ได้ต่อรองราคาจำหน่าย การปรับปรุงคุณภาพผักมีการทำความสะอาดและตัดแต่ง ผลที่เกิดจากการปลูกผักคือรายได้เพิ่มขึ้น และเกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษต่อไปโดยให้เหตุผลว่า ราคาดีและสุขภาพดี เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 0.63) เกษตรกรมีความรู้ในระดับน้อยได้แก่ การจับทำลายแมลงศัตรูพืชด้วยมือบริเวณแปลงผักสามารถควบคุมศัตรูพืชได้ ( = 0.14) เกษตรกรส่วนใหญ่มีการยอมรับต่อการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 2.44) โดยเกษตรกรมีการยอมรับในระดับน้อยในประเด็น ปลูกผักแบบกางมุ้งเพื่อควบคุมศัตรูพืช ( = 1.00) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับของเกษตรกรต่อการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษได้แก่ ขนาดพื้นที่ถือครองทางการเกษตร รายได้สุทธิต่อปี ประสบการณ์ในการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ จำนวนสื่อที่ได้รับเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ และปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับคือแรงงานในครัวเรือน เกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาด้านปัจจัยการผลิตมีราคาสูง รองลงมาคือราคาผลผลิตไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับพ่อค้าคนกลาง ข้อเสนอแนะเกษตรกรได้เสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐควรเป็นตัวกลางในการจัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิตให้กับเกษตรกร รองลงมาคือควรสนับสนุนความรู้ให้กับเกษตรกรในเรื่องการใช้สารสกัดจากสะเดา เชื้อบีที เชื้อจุลินทรีย์ และวัสดุในการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การยอมรับของเกษตรกรที่มีต่อการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษจังหวัดสมุทรสาคร
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ การยอมรับของเกษตรกรต่อการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษในกรุงเทพมหานคร การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี 2547 การยอมรับของเกษตรกรที่มีต่อการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ ในจังหวัดเชิงเทรา สภาพการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในจังหวัดหนองบัวลำภู ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรผักจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2547 การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การใช้เทคโนโลยีการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรชาวไทยภูเขา : กรณีศึกษาบ้านหมู่ 11 (ไมโครเวฟ) ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์ ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเกษตรดีที่เหมาะสมในการปลูกผักปลอดภัยของเกษตรกรในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ทาเหนือ จังหวัดเชียงใหม่

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก