สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาคุณภาพวัสดุปลูกและการผลิตยางพาราด้วยปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่า
วริศ แคนคอง - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาคุณภาพวัสดุปลูกและการผลิตยางพาราด้วยปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่า
ชื่อเรื่อง (EN): Utilizing Bio-fertilizer Mycorrhiza to Improve Hevea Clonal Planting Material Qualities and Productivity
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วริศ แคนคอง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การพัฒนาคุณภาพวัสดุปลูกและการผลิตยางพาราด้วยปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่าที่มีต่อการเจริญเติบโตของต้นตอยาง ยางชำถุง และต้นยางที่ปลูกในแปลงทดลอง แบ่งออกเป็น 3 การทดลองคือ การทดลองที่ 1 ผลของปุ๋ยชีวภาพอาบัสคูลาไมโคไรซ่าต่ออัตราการเจริญเติบโตและการอยู่รอดของต้นยางชำถุง การทดลองที่ 2 ผลของปุ๋ยชีวภาพอาบัสคูลาไมโคไรซ่าต่ออัตราการเจริญเติบโตและการอยู่รอดของต้นยางอ่อน ในแปลงปลูกยางพารา และการทดลองที่ 3 ผลของปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่าต่อการเจริญเติบโตของยางก่อนเปิดกรีด การทดลองที่ 1 ทดลองที่ศูนย์วิจัยยางบุรีรัมย์ วางแผนการทดลองแบบ RCB 3 กรรมวิธี 8 ซ้ำ แบ่งเป็น 2 การทดลองย่อย คือ 1.1 การผลิตต้นตอยางด้วยการเพาะเมล็ดในถุง ประกอบด้วย 3 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1) ปุ๋ยเคมี 20-10-12 อัตรา 3 กรัม/ต้น/ครั้ง + หินฟอสเฟต 10 กรัม/ต้น กรรมวิธีที่ 2) ปุ๋ยเคมี 20-10-12 อัตรา 3 กรัม/ต้น/ครั้ง + หินฟอสเฟต 10 กรัม/ต้น+ ไมโคไรซ่า 3 กรัม/ต้น กรรมวิธีที่ 3) ปุ๋ยเคมี 20-10-12 อัตรา 1.5 กรัม/ต้น/ครั้ง + หินฟอสเฟต 5 กรัม/ต้น + ไมโคไรซ่า 3 กรัม/ต้น พบว่า เมื่ออายุ 7 เดือน กรรมวิธีที่ 3 มีเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยมากกว่ากรรมวิธี 2 และ 1 อย่างมีนัยสำคัญ มีค่าเท่ากับ 0.859 ซม. ส่วนความสูงเมื่อต้นตอยางอายุ 7 เดือนแต่ละกรรมวิธีมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ ปริมาณธาตุอาหารที่ใบ พบว่า กรรมวิธีที่ 3 ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และแมกนีเซียม สูงกว่ากรรมวิธีที่ 1 และ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่ปริมาณไนโตรเจนไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ การแก่เต็มที่ของใบ (Maturity) ของต้นยางชำถุง พบว่าจำนวนต้นที่มีใบแก่ของต้นยางชำถุงเมื่ออายุ 3 เดือน กรรมวิธี 1, 2 และ 3 มีใบแก่ร้อยละ 57, 59 และ 74 ตามลำดับ การทดลองที่ 1.2 การผลิตต้นตอยางด้วยการเพาะเมล็ดในแปลง การผลิตต้นตอยางด้วยการเพาะเมล็ดในแปลง ประกอบด้วย 3 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1) ปุ๋ยเคมี 20-10-12 อัตรา 30กิโลกรัม/ไร่/ครั้ง + หินฟอสเฟตอัตรา 35 กก./ไร่ กรรมวิธีที่ 2) ปุ๋ยเคมี 20-10-12 อัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่/ครั้ง + หินฟอสเฟตอัตรา 35 กก./ไร่ + ไมโคไรซ่า 3 กรัม/ต้น กรรมวิธีที่ 3) ปุ๋ยเคมี 20-10-12 อัตรา 15 กิโลกรัม/ไร่/ครั้ง + หินฟอสเฟตอัตรา 17.5 กก./ไร่ +ไมโคไรซ่า 3 กรัม/ต้น พบว่า กรรมวิธีที่ 3 เชื้อราไมโคไรซ่ามีการเข้าอาศัยในรากมากที่สุด คือเท่ากับ 86.67 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่กรรมวิธีที่ 1 ที่ไม่ได้ใส่เชื้อไมโคไรซ่ามีการเข้าอาศัยน้อยที่สุด คือเท่ากับ 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อยางอายุ 7 เดือน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นของต้นตอยาง จากกรรมวิธีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยมากกว่ากรรมวิธีที่ 1 และ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าเท่ากับ 0.839 ซม. ส่วนความสูงเมื่อต้นตอยางอายุ 7 เดือนแต่ละกรรมวิธีมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ ปริมาณธาตุอาหารที่ใบ พบว่า กรรมวิธีที่ 3 มีปริมาณ ฟอสฟอรัส แคลเซียม และแมกนีเซียมสูงกว่ากรรมวิธีที่ 1 และ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การแก่เต็มที่ของใบ (Maturity) ของต้นยางชำถุงที่ผลิตได้ พบว่า จำนวนต้นที่มีใบแก่ของต้นยางชำถุงเมื่ออายุ 3 เดือน กรรมวิธี 1, 2 และที่ 3 มีใบแก่ร้อยละ 65, 43 และ 98 ตามลำดับ การทดลองที่ 2 ผลของปุ๋ยชีวภาพอาบัสคูลาไมโคไรซ่าต่ออัตราการเจริญเติบโตและการอยู่รอดของต้นยางอ่อนในแปลงปลูกยางพารา เป็นการนำยางชำถุงที่ผลิตได้จากการทดลองที่ 1 มาปลูกในแปลงทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมุกดาหาร วางแผนการทดลองแบบ Split plot จำนวน 4 ซ้ำ โดย main plot ประกอบด้วย 3 ปัจจัยคือ1) ยางชำถุงที่ผลิตจากกรรมวิธีที่ 1 ของการทดลองที่ 1 (M1) 2) ยางชำถุงที่ผลิตจากกรรมวิธีที่ 2 ของการทดลองที่ 1 (M2) 3) ยางชำถุงที่ผลิตจากกรรมวิธีที่ 3 ของการทดลองที่ 1 (M3) Sub-plot ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ 1) ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-17 อัตราตามคำแนะนำ (S1) 2) ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-17 0.5 เท่าอัตราแนะนำ (S2) แบ่งเป็น 2 การทดลองย่อย คือ การทดลองที่ 2.1 การปลูกยางโดยใช้ยางชำถุงที่ได้จากการเพาะเมล็ดในถุง พบว่าตลอดอายุยาง 18 เดือน จำนวนต้นรอดตายของ M3 โดยเฉลี่ยสูงกว่า M1 คือเท่ากับ 97 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง S1 และ S2 พบว่าการรอดตายไม่แตกต่างกัน คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 95 เปอร์เซ็นต์ ที่อายุ 18 เดือนขนาดเส้นรอบลำต้นของ M3 สูงกว่า M1 และ M2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบระหว่าง S1 และ S2 พบว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนความสูง ปริมาณธาตุอาหารหลัก รอง และธาตุอาหารเสริมที่ใบแต่ละกรรมวิธีมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ การทดลองที่ 2.2 การปลูกยางโดยใช้ยางชำถุงที่ได้จากการเพาะเมล็ดในแปลง พบว่าตลอดอายุยาง 18 เดือน พบว่าจำนวนต้นรอดตายของ M3S2 มีค่าสูงสุด คือเท่ากับ 99 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการปลูกยางโดยใช้ยางชำถุงที่ผลิตโดยใช้ต้นตอตาที่ไม่ได้ใส่เชื้อไมโคไรซ่า (M1S1) และ (M1S2) มีจำนวนต้นรอดตายโดยเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ เท่ากับ 94.5 เปอร์เซ็นต์ ที่อายุ 18 เดือนขนาดเส้นรอบลำต้นของ M3 สูงกว่า M1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบระหว่าง S1 และ S2 พบว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนความสูง ปริมาณธาตุอาหารหลัก รอง และธาตุอาหารเสริมที่ใบ แต่ละกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ การทดลองที่ 3 ผลของปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่าต่อการเจริญเติบโตของยางก่อนเปิดกรีด เป็นการนำยางชำถุงมาตรฐานที่ที่ผลิตโดยไม่ได้ใส่เชื้อไมโคไรซ่า มาทดลองในแปลงทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมุกดาหาร วางแผนการทดลองแบบ RCBD มี 4 กรรมวิธี 5 ซ้ำ ประกอบไปด้วย กรรมวิธีที่ 1) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-17 อัตราตามคำแนะนำ กรรมวิธีที่ 2) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-17 อัตราตามคำแนะนำ + เชื้อไมโคไรซ่ากรรมวิธีที่ 3) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-17 0.5 เท่าอัตราคำแนะนำ+เชื้อไมโคไรซ่า กรรมวิธีที่ 4) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-17 0.25เท่าอัตราแนะนำ+เชื้อไมโคไรซ่า ผลการทดลองพบว่า เมื่อยางอายุ 18 เดือน และความสูงของต้นยางไม่แตกต่างกันทางสถิติ กรรมวิธีใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-17 0.5เท่าอัตราตามคำแนะนำ+เชื้อไมโคไรซ่ามีแนวโน้มสูงสุด คือเท่ากับ 297 ซม. เมื่อยางอายุ 24 เดือนเปอร์เซ็นต์การรอดตาย ขนาดเส้นรอบลำต้น ของต้นยางไม่แตกต่างกันทางสถิติ กรรมวิธีใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-17 0.5 เท่าอัตราตามคำแนะนำ+เชื้อไมโคไรซ่า มีแนวโน้มเปอร์เซ็นต์การรอดตาย และ ขนาดเส้นรอบลำต้น สูงสุดเท่ากับ 94 เปอร์เซ็นต์ และ 11.53 ซม. ปริมาณธาตุอาหารหลัก รอง ที่ใบ แต่ละกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ส่วนธาตุอาหารเสริม พบว่า ปริมาณสังกะสี (Zn) และทองแดง (Cu) มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปริมาณสังกะสีในกรรมวิธี ใส่ปุ๋ยเคมี 0.5เท่าอัตราแนะนำ+เชื้อไมโคไรซ่า มีค่าสูงสุด คือเท่ากับ 29 มก./กก. ปริมาณทองแดง กรรมวิธีใส่ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ+เชื้อไมโคไรซ่า มีค่าสูงสุด คือเท่ากับ 15 มก./กก.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาคุณภาพวัสดุปลูกและการผลิตยางพาราด้วยปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่า
วริศ แคนคอง
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
กลุ่มวิจัยยางพารา การศึกษาวัสดุที่เหมาะสมสำหรับทำน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 เพื่อลดเวลาการย่อยสลายฟางข้าวและเพิ่มผลผลิตข้าวในชุดดินหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โปรแกรมฐานข้อมูลแนะนำการใช้ปุ๋ย dbFRec for DOS การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน อิทธิพลของปุ๋ยเคมีและวัสดุปลูกที่มีผลต่อการผลิตกล้ายางพาราคุณภาพดี การพัฒนาปุ๋ยชีวภาพจากผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่น เพื่อสนองแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง การปรับปรุงการผลิตปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซ่าและการตรวจสอบกลไกการเพิ่มผลผลิตของสปอร์ไมคอร์ไรซ่าที่เป็นผลมาจากการใช้ปุ๋ยชีวภาพ PGPR โครงการศึกษาวัดประสิทธิภาพการผลิตยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการฝึกอบรมการผลิตกล้ายางพาราและการปลูกยางพาราแบบมืออาชีพ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก