สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตและการตลาดข้าวหอมมะลิของเกษตรกร ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ปาริชาติ นาคประกอบ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและการตลาดข้าวหอมมะลิของเกษตรกร ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปาริชาติ นาคประกอบ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิตและตลาดข้าวหอมมะลิของเกษตรกร ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกร และปัญหาอุปสรรคและความต้องการของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวหอมมะลิ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 244 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติในการวิเคราะห์ใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าเฉลี่ย ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 50.7 ปี จบการศึกษาตามภาคบังคับ แรงงานเฉลี่ย 2.5 คนต่อครัวเรือน มีพื้นที่ถือครองเป็นของตนเอง เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกรมีการกู้เงินมาลงทุนปลูกข้าวหอมมะลิ มีรายได้เฉลี่ย 83,732.02 บาทต่อครัวเรือนต่อปี มีพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิเฉลี่ย 12.6 ไร่ต่อครัวเรือน ปลูกข้าวระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน ใช้วิธีปลูกแบบหว่านข้าวแห้ง เมล็ดพันธุ์เก็บไว้เอง ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 25.08 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนใหญ่ทำนาโดยอาศัยน้ำฝน มีการใช้ปุ๋ยเคมีตามช่วงอายุการเจริญเติบโตของข้าว มีการป้องกันโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าว เก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง ส่วนใหญ่เก็บข้าวไว้รอราคาและจำหน่ายให้กับพ่อค้าโรงสี และมีรายได้จากการจำหน่ายข้าวหอมมะลิเฉลี่ย 27,571 บาทต่อปี มีค่าใช้จ่ายในการปลูกข้าวหอมมะลิเฉลี่ย 1,624 บาทต่อไร่ เกษตรกรมีปัญหาการปลูกข้าวหอมมะลิระดับมาก 4 ประเด็นคือ ปัจจัยการผลิตมีราคาแพง ขาดเงินทุนและเครื่องมืออุปกรณ์ ราคาผลผลิตข้าวหอมมะลิไม่แน่นอน ค่าแรงงานและเครื่องจักรกลมีราคาสูง มีความต้องการระดับมาก 7 ประเด็น คือ ให้ภาครัฐประกันราคาข้าวหอมมะลิ ให้ราคาข้าวหอมมะลิสูงขึ้น ให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น ให้ค่าแรงและค่าเครื่องจักรกลมีราคาต่ำลง ให้ปัจจัยการผลิตมีราคาต่ำลง ต้องการเงินทุนและเครื่องมืออุปกรณ์ในการผลิตข้าวหอมมะลิ ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ควรให้ความรู้และแนะนำเรื่องการผลิต การตลาด แก่เกษตรกร เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิให้ได้ตามความต้องการของตลาด สำหรับการศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาการใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวหอมมะลิให้ได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพตามความต้องการของตลาดต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตและการตลาดข้าวหอมมะลิของเกษตรกร ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในตำบลดงใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร สภาพการผลิตข้าวหอมมะลิ ของเกษตรกรตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด สภาพการผลิตข้าวหอมมะลิของเกษตรกรตำบลเม็กดำ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตและการตลาดข้าวของเกษตรกรตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ความต้องการของเกษตรกรต่อการผลิตและการตลาดเบญจมาศในจังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรตำบลสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในเขต ตำบลหนองระเวียง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก