สืบค้นงานวิจัย
การจัดการที่เหมาะสมในการสับกลบใบอ้อยเพื่อปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตอ้อย ในกลุ่มชุดดินที่ 22
พัชนี เค้ายา - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การจัดการที่เหมาะสมในการสับกลบใบอ้อยเพื่อปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตอ้อย ในกลุ่มชุดดินที่ 22
ชื่อเรื่อง (EN): Suitable management of sugarcane leaf to soil improvement and increase sugarcane yield in soil group no. 22
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พัชนี เค้ายา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: จากการจัดการที่เหมาะสมในการสับกลบใบอ้อยเพื่อปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตอ้อย ในกลุ่มชุดดินที่ 22 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของดินศึกษาวิธีการจัดการที่เหมาะสมในการย่อยสลายใบอ้อยร่วมกับน้ำหมักชีวภาพและศึกษาความคุ้มค่าและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ โดยดำเนินการทดลองในแปลงเกษตรกร ต.น่าข่า อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ระยะเวลาดำเนินการทดลอง รวม 3 ปี (ต.ค. 53- ก.ย. 56) วางแผนการทดลองแบบ RCBD (Randomize Complete Block Design) มี 6 ตำรับการทดลอง จำนวน 4 ซ้ำ ดังนี้ ได้แก่ 1: แปลงควบคุม (control) : ไม่เผาใบอ้อยและไม่ราดน้ำหมักชีวภาพ2: เผาใบอ้อยและไม่ราดน้ำหมักชีวภาพ3: ราดน้ำหมักชีวภาพ 1 ครั้ง ทิ้งไว้จนครบ 2 เดือน4: ราดน้ำหมักชีวภาพ 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 30 วัน ทิ้งไว้จนครบ 2 เดือน5: ราดน้ำหมักชีวภาพ 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 20 วัน ทิ้งไว้จนครบ 2 เดือนและ 6: ราดน้ำหมักชีวภาพ 4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 10 วัน ทิ้งไว้จนครบ 2 เดือนจากการทดลองพบว่า ปฏิกิริยาความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ก่อนการทดลอง จัดว่าดินมีระดับสภาพเป็นกรด ปริมาณอินทรียวัตถุที่ระดับอยู่ในระดับต่ำมาก ปริมาณไนโตรเจนต่ำปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ในดินมีอยู่ในระดับต่ำปริมาณโพแทสเซียม ปริมาณแคลเซียมในดิน จัดว่ามีอยู่ในระดับปานกลางแมกนีเซียมในดินจัดว่ามีค่าอยู่ในระดับต่ำค่า CEC จัดว่ามีอยู่ในระดับต่ำเมื่อหลังสิ้นสุดการทดลอง พบว่า ปฏิกิริยาความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ดีขึ้น ปริมาณอินทรียวัตถุลดลง ทั้งสองระดับความลึก ปริมาณไนโตรเจนเพิ่มขึ้น ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ในดิน และปริมาณโพแทสเซียม ปริมาณแคลเซียมในดิน และค่า CEC มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย แคลเซียมมีค่าลดลง อยู่ในระดับต่ำ ส่วนค่าความหนาแน่นรวมของดิน จากก่อนการทดลองและหลังการทดลองที่ 2 ระดับความลึก พบว่า ดินมีความหนาแน่นลดลงเมื่อเทียบกับก่อนการทดลอง อย่างไรก็ตามก็จัดว่าดินมีความหนาแน่นรวมอยู่ในเกณฑ์ สูง (ดินร่วนซุยน้อย) เช่นเดิม จากการศึกษาวิธีการที่เหมาะสมในการสับกลบใบอ้อย พบว่า วิธีการที่ 3 (ราดน้ำหมักชีวภาพ 1 ครั้ง แล้วทิ้งไว้จนครบ 2 เดือน เป็นวิธีการที่เหมาะสมหรือ กล่าวได้ว่าทำให้ใบอ้อยเปื่อยยุ่ยได้ดีที่สุด เมื่อเทียบกับวิธีการอื่นโดยในตำรับที่ 3 เป็นวิธีการที่ให้ผลผลิตอ้อยสูงสุดทั้งในอ้อยปลูกและอ้อยตอ (19.75และ 18.00 ตันต่อไร่ ตามลำดับ) ซึ่งให้ผลตอบแทนกำไรสูงที่สุดตำรับการทดลองที่ 3 ให้ผลผลิตอ้อย ส่งผลให้ ได้รับตอบแทนและกำไรสุทธิสูงที่สุด ทั้งในอ้อยปลูกและอ้อยตอ 1 โดยได้กำไรสุทธิ อยู่ที่ โดย 16,040 บาทต่อไร่ ในอ้อยปลูก และ 15,790 บาทต่อไร่ ในอ้อยตอ และได้กำไรสุทธิเฉลี่ย 2 ปี เท่ากับ 31,830 บาทต่อไร่
บทคัดย่อ (EN): This research aimed to develop suitable management of sugarcane leaf for soil improvement and increase sugarcane yield in soil group no.22. The objectives of this research were to study the changes of chemical and physical properties, to find suitable management of sugarcane leaf by using bio-fermented water and to determine economic return and cost effective. Six different experiments were performed 4 times and This experiment conducted in a farmer field upland at, Nakha sub-district, Manchakhiri District, Khon Kean province. The trial period is 3 years. (October 2011-September 2013) The experiment was a Randomize Complete Block Design. First experiment, burnt sugarcane leaves were mixed with soil without bio-fermented water. Second experiment, soil was treated with bio-fermented water once and left for two months before sugarcane planting. Third experiment, soil was treated with bio-fermented water twice with 30-day interval for two months. Fourth experiment, soil was treated with bio-fermented water three times with 20-day interval for two months. Fifth experiment, soil was treated with bio-fermented water 4 times with 10-day interval for two months. Control experiment was soil without treating with sugarcane leaves nor bio-fermented water.Chemical properties of soil before to the experiment showed that the pH was in acid range, very low amount of organic matter was found, low level of magnesium, total nitrogen and available phosphorus was found, exchangeable potassium and calcium were at moderate level. The CEC value was low. After soil treatments, the pH value was improved, organic matter decreased, at both depths. Level of nitrogen, phosphorus and potassium were uplifted. CEC value was significantly unchanged. While calcium level decreased. Soil density was decreased after the treatment, however, it remained at high level. It can be concluded that the most suitable soil treatment was the second treatment, which soil was treated with bio-fermented water once in two months, because sugarcane leaves were completely disintegrated. Second treatment gave highest production yield of planted cane and ratoon 1 by 19.75 and 18.00 ton/rai, respectively. Highest production yield of second treatments resulting in highest profit planted cane and ratoon 1 by 16,040 and 15,790 baht/rai, respectively. The cumulative 2-year profit was 31,830 baht/rai.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 60000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/291503
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: 3 ปี
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการที่เหมาะสมในการสับกลบใบอ้อยเพื่อปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตอ้อย ในกลุ่มชุดดินที่ 22
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2556
เอกสารแนบ 1
เปรียบเทียบการใช้ชนิดและปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกอ้อยเพื่อเกษตรกรรายย่อยใน อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ โครงการวิจัยทดสอบการจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยตามกลุ่มชุดดินในเขตพื้นที่ผลผลิตเฉลี่ยระดับต่างๆ การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการธาตุอาหารพืชตามดัชนีผลิตภาพดินเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยในจังหวัดสระแก้ว การจัดการดินและน้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ระยะที่ 2) การจัดการดินและปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน จังหวัดอุตรดิตถ์ (กลุ่มชุดดินที่ 35) การศึกษาการจัดการดินตามศักย์ผลิตภาพ เศษเหลือหลังการเก็บเกี่ยว และแนวทางการใช้ประโยชน์จากกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินเพื่อรักษาคุณภาพดินและเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของอ้อยที่ปลูกในจังหวัดสระแก้ว การคัดเลือกพันธุ์อ้อยเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยและคุณภาพอ้อยลูกผสม ชุด CSB10 ขั้นที่ 4 เปรียบเทียบพันธุ์มาตรฐาน ในอ้อยปลูก อ้อยตอ 1 และอ้อยตอ 2 ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตอ้อย ผลของปุ๋ยมูลไก่และปุ๋ยเคมีต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน ผลผลิต และคุณภาพของอ้อยในกลุ่มชุดดินที่ 36 จ.เพชรบูรณ์ การจัดการดินที่เหมาะสมสำหรับปลูกอ้อยแต่ละพันธุ์ตามกลุ่มชุดดิน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก