สืบค้นงานวิจัย
การประเมินประสิทธิภาพการพ่นสารเคมีควบคุมยุงลายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นายกองแก้ว ยะอูป - กรมควบคุมโรค
ชื่อเรื่อง: การประเมินประสิทธิภาพการพ่นสารเคมีควบคุมยุงลายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นายกองแก้ว ยะอูป
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อสำคัญที่เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขของประเทศและมีการ ระบาดของโรคทุกปิโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เมื่อมีการระบาดของโรคจำเป็นต้องพ่นสารเคมีเพื่อกำจัดยุง ตัวเต็มวัยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่และควบคุมการแพร่กระจายของโรค ในปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี บทบาทหน้าที่ด้านการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกจึงได้จัดชื้อสารเคมีและเครื่องพ่นเคมีมาใช้ทำให้มีการใช้ สารเคมีและเครื่องพ่นจำนวนมากและหลากหลายชนิด ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีนอกจากไม่สามารถกำจัดแมลงพาหะนำ โรคได้แล้วยังเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม สิ้นเปลืองงบประมาณและส่งผลให้แมลงนำโรค ต้านทานต่อสารเคมีได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการพ่นสารเคมีของเจ้าหน้าที่ พ่น เครื่องพ่นเคมี สารเคมีที่ใช้ในการพ่นควบคุมยุงพาหะนำโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ขององค์การปกครอง ส่วนท้องถิ่น วิธีการศึกษาคัดเลือกจังหวัดในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๖ จังหวัดขอนแก่นซึ่งมี ๙ จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย หนองคาย และบึงกาฬ โดยวิธีการจับฉลาก จังหวัดที่ได้คือ หนองคาย มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท. ทั้งหมด ๖๗ แห่ง ทำการ สุ่มตัวอย่าง อปท. ได้ ๓๕ แห่ง ดำเนินการประเมินประสิทธิภาพการพ่นสารเคมีของเจ้าหน้าที่โดยคัดเลือก เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่พ่นสารเคมี โดยการสัมภาษณ์ อธิบาย สาธิตการเตรียมการพ่นทุกกิจกรรม ตั้งแต่ผสม สารเคมีจนถึงการสตาร์ทเครื่องพ่น วิธีการพ่นสังกตทักษะทุกขั้นตอนแล้วบันทึกผล ประเมินประสิทธิภาพ เครื่องพ่นมีอยู่และสามารถใช้งานได้นำมาตรวจวัดความร้อนปลายท่อ วัดอัตราการไหลของน้ำยาเคมี วัดขนาด ละอองเครื่องพ่น (VMD) ตามวิธีขององค์การอนามัยโลก และสุ่มเก็บสารเคมีที่ใช้ในการพ่นควบคุมยุงตัวเต็มวัย จากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมาทดสอบคุณภาพด้วยวิธี Bio assay testตามหลักเกณฑ์ขององค์การ อนามัยโลกสถิติที่ใช้คือร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่พ่นจำนวน 42 คนจากอปท. 42 แห่ง พบว่า เจ้าหน้าที่พ่นสารเคมีส่วนมากเป็นเพศชายมีตำแหน่งเป็นลูกจ้างคิดเป็นร้อยละ 69.00 ส่วนมากไม่เคยได้รับการ อบรมเกี่ยวกับเครื่องพ่น (71.43 %) ผู้พ่นมีทักษะในการเตรียมตัวและเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ก่อนพ่นมี ส่วนมากอยู่ในระดับพอใช้ (95.20 %) มีเทคนิคในการทักษะในการผสมสารเคมีส่วนมากอยู่ในระดับพอใช้ (95.20 9) ความสามารถในการคำนวณอัตราส่วนผสมสารเคมีต่อน้ำมันดีเซลส่วนมากอยู่ในระดับพอใช้ (95.20 %) การเลือกใช้ภาชนะในการผสมสารเคมีส่วนมากเป็นแกลลอน (78.60 %) การเติมน้ำยาเคมีที่ผสม แล้วเติมลงในถังเครื่องพ่นส่วนมากใช้กรวยกรอง (88.10 %) ขณะพ่นสารเคมีส่วนมากใช้และสวมชุดป้องกัน ตนเอง (85.70 %6) การสาธิตวิธีพ่นตามลำดับขั้นตอนได้อย่างถูกต้องส่วนมากในระดับพอใช้ (81.00 %6) ผล การการประเมินประสิทธิภาพของเครื่องพ่นสารเคมีทั้งหมดจำนวน 79 เครื่องพบว่า ยี่ห้อเครื่องพ่นที่ใช้มาก ที่สุดคือ Igeba (63.30 %) รองลงมาคือ Bestfoger และ Swing fog คิดเป็นร้อยละ 63.30 และ 16.50 ตามลำดับ การตรวจวัดอุณหภูมิความร้อน ณ จุดหัวหยดน้ำยาตรงปลายท่อพบว่าส่วนมากเครื่องพ่นอยู่ใน เกณฑ์มาตรฐาน (600-800 C ) คิดเป็นร้อยละ 79.75 การตรวจวัดขนาดของละอองน้ำยา (VMD) ที่ระยะ 3 เมตรส่วนมากมีขนาดละอองอยู่ในช่วงมาตรฐาน 10-30 ไมโครเมตร (60.90 96) สำหรับการประเมิน ประสิทธิภาพสารเคมีที่ใช้สุ่มเก็บตัวอย่างสารเคมีจาก อปท.จำนวน 12 ตัวอย่าง (12ยี่ห้อ) ได้แก่ เดลต้าเมทริน 6 ยี่ห้อ ไชเปอร์เมทริน 5 ยี่ห้อ และไซฟลูทริน 1 ยี่ห้อ พบว่า สารเคมีมีขนาดความเข้มข้นชองสารออกฤทธิ์ ที่บรรจุแตกต่างกันในการจำหน่าย แต่เมื่อผสมสารเคมีตามอัตราส่วนที่ฉลากระบุพบว่ามีความปริมาณสารที่ ออกฤทธิ์เท่ากันผลการทดสอบพบว่ายุงลายมีฤทธิ์ฆ่ายุงอยู่ในระดับสูง โดยยุงมีอัตราตายระหว่าง 98.00- 100.00 % จากผลการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าผู้พ่นส่วนมากไม่เคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับเครื่องพ่น ทำให้มี ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีลดน้อยลงไปด้วยส่งผลให้การผสมสารเคมีได้ไม่ถูกต้องมีการผสมเกินขนาดเมื่อใช้ ส่งผลให้ยุงดื้อต่อสารเคมีหลายชนิดที่ใช้สอดคล้องกับรายงานในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาพบว่ายุงลายบ้านต้านทาน ต่อสารเคมีเกือบทุกภาคในประเทศไทยที่มีการศึกษา โดย Somboon et al., (2546)ศึกษาในภาคเหนือ Ponlawat et al, (2547) ศึกษาในภาคกลาง Paeporn P at.(2547) ศึกษาในภาคตะวันตก ลักษณา หลาย ทวีวัฒน์และคณะ (2549) ศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พบว่ายุงมีแนวโน้มดื้อต่อสารเคมี จะเห็นได้ว่า อปท. มีการใช้สารเคมีควบคุมไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นทุกปีและสารเคมีที่ใช้กันมากที่สุดคือสารเคมีที่ใช้พ่นยุงตัว เต็มวัย 64.91 % ในส่วนของเครื่องพ่นจากการสังเกตพบว่าส่วนมากเครื่องที่ใช้เป็นเครื่องเก่าและถูกใช้งานมา แล้วแต่หลังจากการใช้งานไม่มีการดูแลรักษาเช่นไม่นำน้ำยาเคมีที่เหลือจากผสมออกจากถังสารเคมีของเครื่อง พ่นทำให้ท่อและหัวหยดน้ำยาอุดตันพร้อมกับดำเนินการซ่อมบำรุงเพื่อเตรียมความพร้อมในการใช้งานครั้ง ต่อไป ดังนั้นควรมีนโยบายหรือมาตรการผู้ที่ทำหน้าที่พ่นต้องผ่านการอบรมจากหน่วยงานกรมควบคุมโรคเพื่อให้ได้รับ การถ่ายทอดความรู้และทักษะเรื่องการใช้สารเคมี วิธีการพ่นที่ถูกต้อง และสามารถซ่อมเครื่องพ่นเบื้องต้นได้ส่งผลให้ การควบคุมยุงพาหะโรคที่มีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถดำเนินงานควบคุมยุงพาหะโรคที่มีประสิทธิภาพและ เครื่องพ่นที่มีมาตรฐานตามที่องค์การอนามัยโลก และควรมีการเฝ้าระวังและทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมี กำจัดแมลงที่ใช้อยู่ในพื้นที่เป็นระยะๆเพื่อเฝ้าระวังการดื้อสารเคมีกำแมลงของยุงและใช้เป็นข้อมูลประกอบวาง แผนการควบคุมยุงลายให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกนั้นควร มีการควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงลายควบคู่ไปด้วย และควรใช้เมื่อมีความจำเป็นหรือมีการระบาดของโรคเกิดขึ้น เท่านั้น เพื่อความประหยัด ปลอดภัยและชะลอการดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลงของยุงด้วย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
เอกสารแนบ: http://klb.ddc.moph.go.th/dataentry/research/download/textfull/55
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินประสิทธิภาพการพ่นสารเคมีควบคุมยุงลายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช
2556
เอกสารแนบ 1
วิธีดูแลตนเองจากเพลิงไหม้สารเคมี การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันและสารสกัดจากเมล็ดสะเดาช้างเพื่อควบคุมลูกน้ำและดักแด้ยุงลาย ระบบพ่นสารเคมีแก่วัสดุทรงกลม ยางพารากับท้องถิ่น ประสิทธิภาพของสารเคมีในท้องถิ่นต่อการป้องกันและควบคุมโรครากขาว เครื่องมือประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานสหกรณ์ภาคการเกษตร (DEACE2010) การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตถั่วเหลือง ประสิทธิภาพการควบคุมโรคลำต้นเน่าของยางชำถุงด้วยสารเคมี สาร 3-MCPD กับซอสถั่วเหลือง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก