สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ทวีสิน นาวารัตน์ - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทวีสิน นาวารัตน์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: จากผลการทดลองพบว่าการทำมาสเตอร์แบทช์เขม่าดำ และน้ำมันของยางธรรมชาติสามารถเตรียม จากสภาวะน้ำยาง โดยใช้น้ำยางสดได้ โดยมาสเตอร์แบทช์เขม่าดำสามารถทำได้ถึงปริมาณเขม่าดำ 75 ส่วน ในยาง 100 ส่วน และมาสเตอร์แบทช์น้ำมันสามารถทำได้ถึง ปริมาณ 12 ส่วนในยาง 100 ส่วน โดยน้ำยางยัง ไม่เสียสภาพ และจับตัวน้ำยางเป็นก้อนยางได้ดี สำหรับสารจับตัวที่ใช้พบว่ากรดฟอร์มิกมีประสิทธิภาพ มากกว่าแคลเซียมคลอไรด์ในการจับตัวน้ำยาง และให้สมบัติบางอย่างดีกว่าแคลเซียมคลอไรด์ เช่น ระยะเวลา ที่สามารถแปรรูปได้ มอดูลัส ค่าความสามารถในการยืด และค่าความต้านทานต่อแรงดึง ซึ่งการผสมใน สภาวะน้ำยางจะใช้พลังงานน้อยกว่าการผสมในสภาวะยางแห้งมาก และลดเวลาในการผสมสารเคมีลงไปใน ยางได้ โดยเฉพาะในขั้นตอนการผสมเขม่าดำลงในยาง ทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง ในขณะที่สมบัติของยาง คอมเปาวนด์ที่เตรียมยางมาสเตอร์แบทช์เขม่าดำเปรียบเทียบกับที่เตรียมจากยางแห้ง พบว่าสมบัติทางฟิสิกส์ ได้แก่ มอดูลัส ความสามารถในการยืด และความต้านทานต่อแรงดึงเมื่อขาดของยางที่เตรียมจากยางแห้งจะ สูงกว่าที่เตรียมจากมาสเตอร์แบทช์เขม่าดำจากสภาวะน้ำยางเล็กน้อย แต่ระยะเวลาที่ยางเริ่มเกิดการคงรูป ของยางที่เตรียมจากมาสเตอร์แบทช์เขม่าดำจากน้ำยางจะยาวกว่าที่เตรียมจากยางแห้ง นอกจากนี้เมื่อ เปรียบเทียบการสูญหายของเขม่าดำ โดยทำการผสมบนเครื่องบดยางสองลูกกลิ้ง พบว่า การสูญหายของ เขม่าดำของยางคอมเปาวน์ที่เตรียมจากมาสเตอร์แบทช์เขม่าดำที่เตรียมจากสภาวะน้ำยาง น้อยกว่าปริมาณ การสูญหายของเขม่าดำของยางคอมเปาวน์ที่เตรียมจากสภาวะยางแห้ง ทำให้โรงงานสะอาดขึ้น และลด มลพิษทางอากาศ
บทคัดย่อ (EN): Masterbatch of carbon black and oil of natural rubber can prepare from latex state by use field latex using. The result announced that the carbon black content can be added to 75 phr and oil content can be add to 12 phr which does not disturb the stability of the latex and its coagulation. The 35% formic acid concentration and 5 minute can completely coagulate the oil and field latex mixing the formic acid can coagulate the mixing of carbon black and field latex better than the calcium chloride solution that are the concentration of formic acid less than the concentration of calcium chloride solution and yield the shorter coagulation time. The carbon black masterbatch which coagulated by formic acid yield the scorch time, vulcanization time, modulus tensile strength and elongation at break better than calcium chloride solution using. For the mooney viscosity, vulcanization time, modulus and tensile strength, the rubber compound from the dry state carbon black masterbatch higher than the latex state carbon black masterbatch. Although, the difference torque and scorch time are closed. When the carbon black content increased, the scorch time and cure time decrease. This effect can be observed in both state preparing. However, the tensile strength modulus increase with carbon black content increase to 60 phr then they decrease. The scorch time and cure time from the latex state masterbatch and the dry state masterbatch are very close. The rubber compound from the latex state masterbatch yields the difference torque modulus and tensile strength higher than from the dry state masterbatch. However, the rubber compound from the latex state masterbatch can get the elongation at break better than the dry state masterbatch. This research announced that the masterbatch preparation from latex state is the choice of natural rubber process which makes the new rubber raw material.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
เอกสารแนบ: http://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG4950016
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
การยางแห่งประเทศไทย
2551
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
โครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ การเตรียมวัสดุมุงหลังคาจากเศษยางครัมบ์และพลาสติกรีไซเคิล ภายใต้แผนงาน : โครงการวิจัยขนาดเล็ก เรื่อง ยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา โครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation โครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก