สืบค้นงานวิจัย
ปัญหางานส่งเสริมการผลิตและการตลาดทุเรียนเพื่อส่งออก จ.ระยอง
กิสณะ ตันเจริญ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัญหางานส่งเสริมการผลิตและการตลาดทุเรียนเพื่อส่งออก จ.ระยอง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กิสณะ ตันเจริญ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ปัจจุบันทุเรียนที่ส่งออกยังมีคุณภาพต่ำ สาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งคือ เกษตรกรได้รับความรู้และความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ตรงกับปัญหาความต้องการที่แท้จริงของเกษตรกร การวิจัยเรื่อง ปัญหางานส่งเสริมการผลิตและการตลาดทุเรียนเพื่อส่งออกจะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนเพื่อส่งออกจังหวัดระยอง สภาพการผลิตและการตลาดทุเรียน ความรู้ ความคิดเห็นและความต้องการความช่วยเหลือ รวมทั้งปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกร การรวบรวมข้อมูลทำโดยการสัมภาษณ์ประชากร ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนเพื่อส่งออกในจังหวัดระยองจำนวน 51 คน ข้อมูลที่ได้ นำไปวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาค่าร้อยละและค่ามัชฌิมเลขคณิต ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชาย จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อายุเฉลี่ย 50.17 ปี มีสมาชิกภายในครอบครัวเฉลี่ย 3.31 คน แรงงานภายในครอบครัวที่ใช้ปลูกทุเรียนเฉลี่ย 2.72 คน จ้างแรงงานชั่วคราวในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมเฉลี่ย 5.12 คน พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 54.04 ไร่ ส่วนมากเป็นพื้นที่นอกเขตชลประทานเกษตรกรมีรายได้ยังไม่หักค่าใช้จ่ายจากสวนทุเรียนเฉลี่ยครอบครัวละ330,176 บาทต่อปี ประสบการณ์ในการปลูกทุเรียนเฉลี่ย 13.3 ปี ส่วนมากเคยเข้ารับการอบรมเรื่องทุเรียนมาแล้ว เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้มาก ในเรื่องการผลิตและการตลาดทุเรียนเพื่อส่งออก แหล่งความรู้ส่วนมากได้จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมของรัฐ โดยการถ่ายทอดความรู้แบบรายบุคคลพื้นที่ปลูกทุเรียนเฉลี่ยครอบครัวละ 43.13 ไร่ ส่วนมากปลูกพันธุ์ชะนีและหมอนทอง ระยะปลูกทุเรียนคือ 10 X 10 เมตร เกษตรกรไม่นิยมปลูกพืชอื่นแซมระหว่างแถวทะเรียน นิยมใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 และสูตร 9-24-24 การให้น้ำนิยมใช้สปริงเก้อร์ ส่วนมากมีการตัดแต่งกิ่ง ดอก และผลทุเรียน โดยตัดแต่งกิ่งทุเรียนปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเก็บผลเสร็จ และตัดแต่งดอกบริเวณปลายกิ่งออก ตัดแต่งผลที่ไม่สมบูรณ์ทิ้งไป เกษตรกรสังเกตระยะการเก็บเกี่ยวทุเรียนโดยการนับอายุ ดูลักษณะผล และเคาะฟังเสียงหู วิธีการเก็บเกี่ยวจะโยนผลทุเรียนลงจากต้นแล้วรับด้วยกระสอบ เกษตรกรส่วนมากคัดขนาดก่อนส่งจำหน่าย พ่อค้ารับซื้อส่วนมากเป็นพ่อค้าภายในท้องถิ่น เข้าไปรับซื้อทุเรียนถึงสวนและส่วนใหญ่ชำระเป็นเงินสด เกษตรกรต้องการความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร เรื่องการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรและถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ ๆ กรมวิชาการเกษตรเรื่อง วิจัยหาพันธุ์ดีและการกำหนดมาตรฐานทุเรียนส่งออก สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเรื่อง ประสานงานกับสถาบันการเงินเพื่อให้บริการด้านสินเชื่อ และการกำหนดพื้นที่ให่เหมาะสมในการผลิตทุเรียนเพื่อส่งออก กรมส่งเสริมสหกรณ์ เรื่องความรู้ในการบริหารงานกลุ่มผู้ผลิตทุเรียนเพื่อส่งออก บริษัทเอกชนต่าง ๆ เรื่องสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรับรองคุณภาพผลผลิตก่อนส่งออก เกษตรกรทั้งหมดเห็นด้วยกับการผลิตทุเรียนเพื่อส่งออก และจะให้การสนับสนุนทุเรียนเพื่อส่งออกต่อไป ส่วนความรู้ที่ต้องการมากที่สุดคือ เรื่องการบำรุงรักษาต้นทุเรียน การปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยวและการจำหน่ายผลิตผล สำหรับปัญหาในการส่งเสริมการผลิตและการตลาดทุเรียนเพื่อส่งออกของเกษตรกรนั้น ปัญหาที่สำคัญคือ โรคโคนเน่า การขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชมีราคาแพง ผลิตผลขายได้ราคาถูก สมาชิกในกลุ่มไม่ให้ความร่วมมือและการดำเนินงานของกลุ่มขาดการจัดการที่ดี ปัญหาด้านการส่งเสริมที่สำคัญ คือ ขาดการแพร่กระจายข่าวสารที่รวดเร็ว ความรู้ที่เกษตรกรได้รับไม่ตรงกับความต้องการและขาดแหล่งให้ความรู้ใหม่ ๆ ข้อเสนอแนะของเกษตรกรคือให้รัฐบาล หาทางลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง ส่งเสริมการรวมกลุ่มผู้ผลิตทุเรียน ขยายตลาดทุเรียนในต่าประเทศให้มากขึ้น ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะคือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งค้นคว้าแก้ไขปัญหาโรคโคนเน่าทุเรียนโดยใช้ต้นทุนต่ำ จัดหารถน้ำสำหรับบริการให้เกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง กำหนดมาตรฐานคุณภาพทุเรียนสดและผลิตภัณฑ์จากทุเรียนที่ส่งออก จัดหาแหล่งเงินทุน ให้บริการข่าวสารด้านการตลาดแก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง กำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับปลูกทุเรียนเพื่อส่งออก สนับสนุนให้มีการบรรจุหีบห่อให้เหมาะสม จัดตั้งศูนย์พัฒนาการผลิตและควบคุมผักผลไม้เพื่อส่งออก
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2533
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2533
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัญหางานส่งเสริมการผลิตและการตลาดทุเรียนเพื่อส่งออก จ.ระยอง
กรมส่งเสริมการเกษตร
2533
ปัญหางานส่งเสริมการผลิตและการตลาดทุเรียนเพื่อส่งออก จ.ระยอง โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพ การศึกษาภูมิปัญญาพื้นบ้านสำหรับการผลิตทุเรียนในภาคตะวันออกของประเทศไทย การผลิตและการตลาดสับปะรด จังหวัดเพชรบุรี โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตทุเรียนพันธุ์หลงลับแลและหลินลับแลอย่างมีคุณภาพ สภาพการผลิตและการตลาดทุเรียนของเกษตรกรในจังหวัดชุมพร การใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดินร่วมกับการปลูกหญ้าแฝกเพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิตทุเรียนในจังหวัดระนอง การใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดินร่วมกับการปลูกหญ้าแฝกเพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิตทุเรียนในจังหวัดระยอง การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน การเปรียบเทียบเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามภูมิปัญญาชาวบ้านกับการใช้ปุ๋ยตามหลักวิชาการเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของทุเรียนในตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก