สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อวิทยาการการทำนาครั้งที่ 2 ของจังหวัดราชบุรี
ลักษณา ดิษยบุตร - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อวิทยาการการทำนาครั้งที่ 2 ของจังหวัดราชบุรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ลักษณา ดิษยบุตร
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้เพื่อจะศึกษาสภาวะเศรษฐกิจ สังคม ทัศนคติ และสิ่งจูงใจของเกษตรกรที่มีต่อการทำนา 2 ตรั้ง รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ของเกษตรกรที่มีประสบการณ์ การทำนาครั้งที่ 2 เปรียบเทียบกับเกษตรกรที่ไม่ทำนาครั้งที่ 2 ในปัจจัยด้าน เพศ อายุ และระดับการศึกษาของเกษตรกรทั้งสองกลุ่ม ประชากรตัวอย่างซึ่งได้ทำการศึกษาในปี 2516 มีจำนวนทั้งสิ้น 150 คน เป็นเกษตรกรในอำเภอเมือง อำเภอโพธาราม และอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ด้วยการใช้แบบสัมภาษณ์แล้วนำมาวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อหาค่าร้อยละและค่าไคสแควร์ เกษตรกรที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่เป็นชายมีอายุ 40-60 ปี มีการศึกษาระดับประถมปีที่ 4 เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มสหกรณ์ กลุ่มละ 28.7 เปอร์เซ็นต์ มีสมาชิกครอบครัวเฉลี่ยครอบครัวละ 3-4 คน มีเนื้อที่เฉลี่ยครอบครัวละ 1-25 ไร่ และมีการเช่าพื้นที่ทำนาเพิ่มบ้าง พื้นที่ทำนาของเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีน้ำชลประทานในฤดูแล้ง ผลผลิตของเกษตรกรส่วนใหญ่คือข้าว ครอบครัวละ 1-3 เกวียน และสามารถขายได้ราคาเกวียนละ 1,000-1,600 บาท จึงทำให้รายได้จากการขายข้าวครอบครัวละประมาณ 5,000 บาทต่อปี เกษตรกรที่สำรวจแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่เคยทำนาครั้งที่ 2 เลย กลุ่มที่เคยทำนาครั้งที่ 2 นานไม่เกิน 10 ปี และกลุ่มที่ทำนาครั้งที่ 2 นานกว่า 10 ปี ซึ่งเกษตรกรที่ทำนาครั้งที่ 2 นั้นจะมีพวกที่ใช้พื้นที่ใหม่ ไม่ใช่ที่ทำนาปี และมีพวกที่ใช้พื้นที่ๆทำนาปีด้วย ซึ่งเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูก ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อวิทยาการการทำนาครั้งที่ 2 นั้นเกษตรกรเห็นด้วยว่าวัชพืชในการทำนาครั้งที่ 2 มีจำนวนน้อยกว่าทำนาปี และไม่มีปัญหาในการหาพันธุ์ข้าวเพราะยังนิยมใช้พันธุ์ข้าวจากนาปีที่เก็บไว้มาปลูก และเกษตรกรเห็นว่าคุณภาพของดินในการทำนา 2 ครั้งดีกว่าทำนาปีเพียงอย่างเดียว ซึ่งรวมทั้งการใช้ปุ๋ยน้อยและมีโรคแมลงรบกวนน้อยกว่าการทำนาปีเช่นกัน เปรียบเทียบความสัมพันธ์ของเกษตรกรที่ทำนาปีและทำนา 2 ครั้งในอายุตั้งแต่ 21-80 ปี เพศ และการศึกษาตั้งแต่ระดับไม่ได้รับการศึกษาจนถึงระดับการศึกษาชั้นสูงถึง ม.ศ.5 ไม่มีความแตกต่างใดๆ สำหรับสิ่งจูงใจที่ทำให้เกษตรกรทำนาครั้งที่ 2 คือ ทำให้เศรษฐกิจของครอบครัวดีขึ้น สมาชิกในครอบครัวมีความขยันขันแข็ง และได้ใช้แรงงานตลอดปี แต่เกษตรกรพบว่านา 2 ครั้งมีกำไรไม่น้อยกว่าการทำนาปี แต่ไม่มีความแตกต่างมากนัก ปัญหาที่สำคัญมากของการทำนาครั้งที่ 2 คือ มีน้ำไม่พอเพียงกับมีศตรูพืชระบาดมาก จึงควรให้ได้มีการพัฒนาแหล่งน้ำ ทั้งแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำชลประทาน ให้มีน้ำพอเพียงสำหรับการทำนาครั้งที่ 2 สำหรับที่แล้งหรือทำนาปี ควรช่วยเหลือหรือส่งเสริมให้มีการปลูกพืชที่ต้องการน้ำน้อย และแนะนำการกำจัดศตรูพืชที่ถูกต้อง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2516
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2516
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อวิทยาการการทำนาครั้งที่ 2 ของจังหวัดราชบุรี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2516
กระบวนการทำสวนยางพาราของเกษตรกรในอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ปัจจัยที่มีสัมพันธ์กับการตัดสินใจทำการเกษตรแบบไร่นาสวนผสมของเกษตรกรจังหวัดราชบุรี ปัจจัยที่มีสัมพันธ์กับการตัดสินใจทำการเกษตรแบบไร่นาสวนผสมของเกษตรกรจังหวัดราชบุรี ความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตโดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรีของเกษตรกรจังหวัดราชบุรี ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตโดยศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 20 จังหวัดราชบุรี การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อทัศนคติในการเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตรในเขตพื้นที่นาไม่เหมาะสมของเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ศึกษาทัศนคติของเกษตรกรต่อการใช้ค้างในการปลูกมะเขือเทศอุตสาหกรรม การศึกษาทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อสื่อมวลชนในหมู่ 3 ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ศึกษาทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการป้องกันกำจัดวัชพืชในไร่อ้อย โดยวิธีผสมผสาน ความรู้และทัศนคติการป้องกันและกำจัดปูนาของเกษตรกรในศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนเขตพื้นที่ชลประทานภาคกลาง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก