สืบค้นงานวิจัย
แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาสื่อของเล่นพื้นบ้านสำหรับกลุ่มผู้รับสารเด็กและเยาวชน ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ทิพย์พธู กฤษสุนทร - มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาสื่อของเล่นพื้นบ้านสำหรับกลุ่มผู้รับสารเด็กและเยาวชน ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): The promotion of folk toys media for children and youth spectators, Fa-hamSub-District, Muang District,ChiangMaiProvince
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ทิพย์พธู กฤษสุนทร
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยเรื่อง “แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาสื่อของเล่นพื้นบ้านสำหรับกลุ่มผู้รับสารเด็กและเยาวชน ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่” เป็นการศึกษาแนวทางการส่งเสริม ภูมิปัญญาสื่อของเล่นพื้นบ้าน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพของภูมิปัญญาสื่อของเล่นพื้นบ้าน และการใช้สื่อของเล่นพื้นบ้านของกลุ่มผู้รับสารเด็กและเยาวชน โดยแบ่งภูมิปัญญาสื่อของเล่นพื้นบ้านออกเป็น 4 ชนิด คือ บะข่างโว่ ไม้โกงเกง คอปเตอร์ไม้ไผ่ และจักจั่น และศึกษาปัจจัยภายในและภายนอก ที่ส่งผลต่อการขาดความนิยม รวมทั้งกำหนดแนวทางในการส่งเสริมภูมิปัญญาสื่อของเล่นพื้นบ้านสำหรับกลุ่มผู้รับสารเด็กและเยาวชน ในตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ได้อาศัยแนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นกรอบอ้างอิงในการศึกษา อันได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับภูมิปัญญา และสื่อวัตถุพื้นบ้านกับการจัดการวัฒนธรรมเชิงรุก แนวคิดการสื่อสารแบบจำลองการสื่อสารของเดวิค เค เบอร์โล (David K. Berlo) แนวคิดการสร้างและพัฒนาตลาดผู้รับสาร (บันไดปลาโจนทางศิลปะ) และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระเบียบวิธีวิจัยที่ผู้วิจัยเลือกนำมาใช้ในที่นี้คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) มาช่วยในการออกแบบกิจกรรมการวิจัย โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ (Interview) การสนทนากลุ่มผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้สูงอายุ นักเรียนและคุณครูโรงเรียนวัดขะจาว และเยาวชนศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นกลุ่มสลีปิงจัยแก้วกว้าง และการลงสังเกตการณ์การใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม (Observation) จากกิจกรรมในการถ่ายทอดภูมิปัญญาของเล่นพื้นบ้านแก่เด็กและเยาวชนในโรงเรียนวัดขะจาวและศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นกลุ่มสลีปิงจัยแก้วกว้าง การจัดกิจกรรมการเก็บข้อมูลชุมชน และการจัดการแข่งขันภูมิปัญญาของเล่นพื้นบ้าน ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า สถานภาพของภูมิปัญญาของเล่นพื้นบ้านนั้น กำลังพิการหรือบกพร่อง (เช่น ผู้ส่งสารหดตัวลง หรือขาดผู้รับสารรุ่นใหม่) ก็จำเป็นต้องหาทางสืบทอดทั้งตัวผู้ส่งสารและผู้รับสารสำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการขาดความนิยมในสื่อของกลุ่มผู้รับสารเด็กและเยาวชนคือ ปัจจัยที่มาจากภายในตัวภูมิปัญญาของเล่นพื้นบ้านเอง (อันได้แก่ บทบาทและสถานภาพของผู้ส่งสารลดลง สื่อวัตถุพื้นบ้านมีลักษณะเป็น “สื่อเงียบ” ช่องทาง/พื้นที่/วาระโอกาสในการเข้าถึงตัวสื่อหดลง และรสนิยมของผู้รับสารเปลี่ยนไป) ปัจจัยจากภายในชุมชน (อันได้แก่ สภาพภูมิศาสตร์ชุมชน ลักษณะชุมชนเปิด/ปิด และความเชื่อของชุมชน) และปัจจัยจากภายนอกชุมชน (อันได้แก่ มิติทางการเมือง มิติทางสังคม มิติทางเศรษฐกิจ มิติทางเทคโนโลยี/สื่อมวลชน/สื่อสมัยใหม่ มิติการเข้ามาของหน่วยงานภายนอก มิติความเจริญและความทันสมัย มิติความเร็วช้า/ความรุนแรงของการเข้ามาของปัจจัยภายนอก และมิติคู่แข่ง มิติโครงสร้างครอบครัวและวิถีชีวิตประจำวันของทั้งเด็กและผู้ใหญ่เปลี่ยนไป) สำหรับแนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาสื่อของเล่นพื้นบ้านสำหรับกลุ่มผู้รับสารเด็กและเยาวชน ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ คือ แนวทางการส่งเสริมด้านผู้ส่งสาร (Sender) (อันได้แก่ การพัฒนาด้านความรู้ การสั่งสมและเพิ่มพูนทุนทางความรู้ และผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาของเล่นพื้นบ้านต้องรู้จักวิเคราะห์ผู้รับสาร) แนวทางการส่งเสริมด้านเนื้อหาหรือสาร (Message) (อันได้แก่ การปรับเปลี่ยนวิธีการถ่ายทอด การถ่ายทอดรูปแบบและเนื้อหาแบบการผสมผสาน (Hybridization) และการเสริม “ราก” แห่งคุณค่าในการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น) แนวทางการส่งเสริมด้านช่องทางการสื่อสาร (Channel) (อันได้แก่ การจัดโอกาสให้ผู้รับสารได้เข้าร่วมในกระบวนการและขั้นตอนของการ “ผลิต” สื่อวัตถุ การเพิ่มช่องทางในการเผยแพร่สื่อของเล่นพื้นบ้านสู่กลุ่มเด็กและเยาวชน การปรับประสานโดยนำสื่ออื่นๆ มาเป็นองค์ประกอบเสริม (Articulation) การโยกย้ายพื้นที่ การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น การตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การจัดทำฐานข้อมูล และการเผยแพร่ผ่านการจัดทำของที่ระลึก/ของฝาก) แนวทางการส่งเสริมด้านผู้รับสาร/ผู้เล่น/ผู้ใช้ (Receiver) (อันได้แก่ การทดลองให้เป็นผู้ผลิต กลยุทธ์การเสริมสร้าง K-A-P ให้กับผู้รับสาร และการเปิดโอกาสและการหาเวทีหรือพื้นที่ให้ผู้เรียนได้สำแดงภูมิปัญญาท้องถิ่น) รวมทั้งแนวทางการส่งเสริมด้านอื่นๆ ภายนอกตัวภูมิปัญญาสื่อของเล่นพื้นบ้าน อันได้แก่ ควรผลักดันให้กลายเป็นนโยบายระดับท้องถิ่น และภูมิปัญญาสื่อของเล่นพื้นบ้านควรทำงานร่วมกันกับสถาบันต่างๆ และสร้างเครือข่าย
บทคัดย่อ (EN): This research study is a guideline for promoting the wisdom of traditional folk media. The aims of this research are 1) to study the status of traditional media toys and the use of local children and youth group, with those wisdom of traditional folk toys are divided into four types: Ba KhangWo, Kong-Kaeng, Bamboo-copter, and Jug-Jun, 2) to study internal and external factors that affect the lack of popularity, and 3) to set guidelines for promoting the wisdom of local toys for local children and youth in the target area. The relevant concepts and theories as frameworks for this study includes concepts of wisdom and folk media, proactive cultural management, David K. Berlo’s communication model, the concept of creating and developing receptive market (Fish Ladder of Arts Approaches), and related researches. This is a qualitative research, which combines participatory action research in order to design research activities, firstly, by using the interview anddiscussmethods with community leaders, village scholars, elderly people, WatKha Yao teachers and students, and the Sa Lee Ping Jai KaewKwang local youth culture center. Then, observation by using participatory and non-participant observation from the activities in transferring folk wisdom to local children and youth at WatKha Yao school and the local youth culture center. After that, organizing activities by competing the folk wisdom games to collect the data. The results indicate that the status of traditional folk toys wisdom is diminished or defective, for example, the shrink of messengers and/or lack of new generation of receivers, which require to discover the successors both the messengers and receivers.Therefore, there are three factors that affect the lack of popularity in folk toys media of local children and youth group. Firstly,the wisdom of traditional toys’factor, themselves, lack of popularity due to the role and status of the senders decrease. Folk media is characterized as “silent media”. The access of media channel, space, and space shrink. And the taste of folk wisdom of the receivers change. Secondly, the lack of popular media in the community itself, such as the geography of the community, community style on/off, and community beliefs. Thirdly, the lack of popular media outside the community, including political dimension, social dimension, economic dimension, dimension of technology, mass media, new media, dimension of external organizations, dimensions of prosperity and modernization, slow speed or intensity of arrival of external factors, competitor dimensions, and the changing dimensions of family structure and daily life styles of both children and adults. As a result, the guidelines to promote the wisdom of local folk toys for local children and youths in Fa-ham sub-district, Muang District, Chiang Mai Province, are 1) guiding the senders by developing knowledge, accumulation and increase of knowledge, and the folk wisdom transmitters must recognize the receivers, 2) guiding the content or message by using modification of transmission method, transmission and hybridization of merged formats and content, and adding the “roots” of values in order to transfer the local wisdom, 3) guiding the communication channels, which are organizing the opportunity for the audiences to participate the process and stage of “producing” the media objects, increasing the channels for dissemination of traditional toys to local children and youths, adaptations by bringing other media into articulation, migrant the area, local curriculum preparation, local museum setting, database creation, and distribution through gifts and/or souvenirs, 4) guiding the receivers/players/users to experiment as a producer, using KAP enhancement strategies for receivers, and opening the opportunity and finding a stage or area for them to show local wisdom, and 5) guiding other promotion methods outside the local toys media by pushing local toys into local policies and the wisdom of folk toys should be networked and collaborated with other institutions.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาสื่อของเล่นพื้นบ้านสำหรับกลุ่มผู้รับสารเด็กและเยาวชน ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
30 กันยายน 2558
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ประยุกต์ศิลป์สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนในสถานพินิจ และคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ แนวทางการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม คุณธรรม จริยธรรม สำหรับเด็กและ เยาวชน ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย การพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มของเล่นพื้นบ้าน เพื่อต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในชุมชน การศึกษาภูมิปัญญาการเลี้ยงไก่พื้นเมืองในประเทศไทย การเชื่อมโยงภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับดิน กับการใช้ประโยชน์ของที่ดินในชุมชนบ้านห้วยใหญ่ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ การพัฒนาศักยภาพและการจัดการนวัตกรรมภูมิปัญญาเชิงสร้างสรรค์ โดยการมีส่วนร่วมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ความหลากหลายของพืชสมุนไพรตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ในอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ภาวะโภชนาการของนักเรียนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตสำหรับการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองในตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก