สืบค้นงานวิจัย
ผลของลักษณะทางกายภาพที่มีต่อการเสื่อมคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองพันธุ์/สายพันธ์ต่าง ๆ
ละอองดาว แสงหล้า - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ผลของลักษณะทางกายภาพที่มีต่อการเสื่อมคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองพันธุ์/สายพันธ์ต่าง ๆ
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Physical characteristics on Seed Deterioration of Soybean Varieties/Lines
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ละอองดาว แสงหล้า
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Laongdown Sangla
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเพื่อศึกษาคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง ที่มีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกันจำนวน 4 พันธุ์ซึ่งปลูกในฤดูแล้ง ระหว่างเดือนธันวาคมปีพ.ศ. 2543-ตุลาคม ปี พ.ศ. 2545 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ ประกอบด้วย 2 การทดลอง โดยการทดลองที่ 1 วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 5 ซ้ำ 4 กรรมวิธีคือ พันธุ์ถั่วเหลือง 4 พันธุ์ได้แก่ เชียงใหม่ 2 สุโขทัย 3 CM 9123-4 และ CM 9124-1 โดยมีการบันทึกความชื้น เปอร์เซ็นต์ความงอก ความแข็งแรง และวัดลักษณะทางกายภาพเมล็ด คือ น้ำหนักเมล็ด ค่าบ่งบอกรูปร่างเมล็ด (eccentricity) สัดส่วนการเยื่อหุ้มเมล้ดและแกนคัพภะ ความแน่นเมล็ด และการทดลองที่ 2 วางแผนการทดลองแบบ Split plot in CRD จำนวน 4 ซ้ำ โดยมีพันธุ์ถั่วเหลืองเป็นปัจจัยหลักและช่วงเวลาเก็บรักษาที่ 0 3 และ 6 เดือนเป็นปัจจัยรอง มีการบันทึการประเมินอายุการเก็บรักษาทั้งในสภาพห้องปกติและห้องควบคุมอุณหภูมิ ผลการทดลองพบว่าการเสื่อมคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองระหว่างระยะสุกแก่ทางสรีรวิทยาจนถึงระยะเก็บเกี่ยวจะแตกต่างกันไปตามพันธุ์ โดยพันธุ์ CM 9123-4 มีการเสื่อมคุณภาพมากที่สุด รองลงมาคือ พันธุ์เชียงใหม่ 2 และสุโขทัย 3 ส่วนสายพันธุ์ CM 9124-1 เป็นพันธุ์ที่มีความงอกและความแข็งแรงสูง โดยมีลักษณะทางกายภาพที่เด่นชัดคือ มีน้ำหนักเมล็ดน้อย มีขนาดเล็กมีค่า บ่งบอกรูปร่างเมล็ดสูง มีสัดส่วนเปอร์เซ็นต์เยื่อหุ้มเมล็ด และแกนคัพภะสูง แต่มีความหนาแน่นต่ำ ส่วนในพันธุ์เชียงใหม่ 2 และ CM 9123-4 มีลักษณะที่ตรงกันข้าม สำหรับคุณภาพการเก็บรักษา ลดลงไปตามอายุการเก็บรักษา และขึ้นกับคุณภาพเริ่มต้นก่อนการเก็บรักษา และสภาพห้องเก็บรักษา ลักษณะกายภาพบางลักษณะที่สามารถใช้เป็นดัชนีชี้วัด ในการบ่งบอกคุณภาพเมล็ดถั่วเหลืองได้ คือ น้ำหนักเมล็ดและสัดส่วนปริมาณแกนคัพภะ
บทคัดย่อ (EN): The objective of this researchwas to study soybeanseed quality in their different phality in their different physical charcteristics of varieties. The experimentwas conducted at Chiang Mai Fereld Crops Research Centre during December , 2000 to December, 2003 in dry season. The first experiment was randomized complete block design and was divided into 5 replications, 4 tretments namely soybean varieties : CM 2 ST 3, CM 9123--4 andCM 9124-1. The second experiment was split plot design in CRD with 4 replications, main plot was soybean varieties and subplot was storage time at 0, 3, and 6 months. Seed moisture, percentaqge of germination, vigour and storage capability in normal and condition room had been measured as well as seed physical characteristics : seed dry weight, eccentricity, percentage of seed deterioration of soybean from physical maturity to harvsting maturity was different. CM 9124-1 was the highest value, CM 2 was the second and ST 3 was the third. While CM 91274-1 was the lowest value and had the highest of germinationand vigour. Their characteristics were low seed dry weight, small size, high eccentricity value, high percentage of seed coat and embryonic axis and low seed density. Besides, CM 2 and CM 9123-4, the fastest deterioration varieties, had the opposite chaacteristics. However, storage qualities were depended on seed preliminary quality and storage condition. Some characteristics namly seed dry weight and percentage of seed coat and embryonic axis and low seed density. Besides, CM 2 and CM 9123-4, the fastest deterioration varieties, had the opposite characteristics. However, storage qualities were depended on seed preliminary quality and storage condition. Some characteristics namly seed dry weight and percentage of embryonic axis, could be sued as a criteria for soybean seed quality.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของลักษณะทางกายภาพที่มีต่อการเสื่อมคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองพันธุ์/สายพันธ์ต่าง ๆ
กรมวิชาการเกษตร
2550
เอกสารแนบ 1
การถ่ายทอดเทคโนโลยีกี่ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่งเหลือง การประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วพุ่ม 10 สายพันธุ์ การคัดเลือกเบื้องต้นพันธุ์ถั่วเหลืองสำหรับผลิตถั่วงอก การทดสอบเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองพันธุ์ มข.35 ณ.ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 14 จังหวัดแพร่ การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองและถั่วเขียว เปอร์เซ็นต์แตกร้าวและความงอกของเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง พันธุ์ สจ 5 เมื่อผ่านกระบวนการปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ การใช้ดัชนีทนแล้งคัดพันธุ์ถั่วเหลืองเพื่อปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การคัดเลือกสายพันธุ์ถั่วเหลืองที่มีศักยภาพในการตรึงไนโตรเจนสูง คุณภาพของเมล็ดพันธุ์จากการศึกษาวันปลูกที่เหมาะสมของถั่วเหลืองพันธุ์ มข.35 ในปี 2542 การทำแปลงทดสอบเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองพันธุ์ มข.35

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก