สืบค้นงานวิจัย
การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวในพื้นที่นาน้ำฝน
สุทธกานต์ ใจกาวิล - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวในพื้นที่นาน้ำฝน
ชื่อเรื่อง (EN): Program for Research and Development of Rainfed Lowland Rice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุทธกานต์ ใจกาวิล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: เกรียงไกร พันธุ์วรรณ์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: พื้นที่การผลิตข้าวที่อาศัยน้ําฝนทั่วทุกภาคของไทย ผลผลิตข้าวมักได้รับความเสียหายเสมอ ทําให้ การให้ผลผลิตมีความแปรปรวนมาก และไม่สามารถคาดการณ์ได้ ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการได้รับ ผลกระทบทั้งทางด้านกายภาพ (physical constraints) และในด้านชีวภาพ (biological constraints) การใช้ พันธุ์ข้าวที่มีความเหมาะสม เช่น มีความต้านทานต่อโรค และแมลง หรือทนทานต่อวิกฤติสภาพแวดล้อม จะ สามารถแก้ปัญหาความเสียหายของผลผลิต จึงสามารถเพิ่มผลิตภาพข้าวในแต่ละภูมิภาคได้ การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวที่สามารถปรับตัวและให้ผลผลิตที่ดีในแต่ละพื้นที่ได้ ดําเนินการโดยแผนงานวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวในพื้นที่นาน้ําฝน โดยโครงการวิจัยภายใต้แผนงานวิจัย 6 โครงการ คือ โครงการ วิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวนนาน้ําฝนในภาคเหนือตอนบน โครงการ วิจัยและ พัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวนนาน้ําฝนในภาคเหนือตอนล่าง โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวนนาน้ําฝนในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวนนาน้ําฝนในภาคกลาง โครงการวิจัยและพัฒนา พันธุ์ข้าวนาสวนนาน้ําฝนในภาคใต้ และโครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวในพื้นที่น้ําท่วม มีศูนย์วิจัยข้าวร่วม ดําเนินงานโครงการรวม 26 ศูนย์วิจัยข้าวในทุกภูมิภาค ได้ดําเนินกิจกรรมการตามขั้นตอนของงานปรับปรุง พันธุ์ข้าวแบบมาตรฐาน(conventional breeding) ผนวกกับการปรับปรุงพันธุ์แนวอนูวิธี (molecular breeding) กิจกรรมประกอบไปด้วย การผสมพันธุ์ การคัดเลือกข้าวสายพันธุ์ผสม โดยใช้วิธีปกติและใช้โมเลกุล เครื่องหมายช่วยคัดเลือก(marker assisted selection) การศึกษาพันธุ์ การเปรียบเทียบผลผลิตในสถานีและ ในนาราษฎร์ การทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรู การวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดและการหุงต้ม การ ดําเนินงานของทั้ง 6 โครงการในช่วง 3 ปี ระหว่างปี 2551 ถึง 2553 ได้พัฒนาประชากรข้าว 863 ประชากร การศึกษา/ประเมิน การให้ผลผลิต ในขั้นตอนของการศึกษาพันธุ์ การเปรียบเทียบผลผลิตในสถานี ระหว่างสถานี และในนาราษฎร์ 819 การทดลอง เพื่อประเมินสายพันธุ์กว่า 5,780 สายพันธุ์ ได้สายพันธุ์ ดีเด่น (promising lines) เพื่อการทดสอบในขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการปรับปรุงพันธุ์ จํานวน 60 สาย พันธุ์ ได้เสนอสายพันธุ์ข้าวเพื่อการรับรองพันธุ์ และกรมการข้าวประกาศรับรองพันธุ์รวม 5 พันธ์ได้แก่ “ไข่มด ริ้น 3” “กข16” “ขาวกอเดียว 35” “กข45” และ “ช่อลุง 97” และมีสายพันธุ์ดีเด่นที่เตรียมเสนอเพื่อ รับรองพันธุ์ในลําดับต่อไป จํานวน 11 สายพันธุ์
บทคัดย่อ (EN): Grain yield has been damaged in rainfed lowland rice areas in all regions of Thailand. Yield production has been high variables and unpredictable resulting of both physical and biological constrains. Using suitable cultivars, e.g. cultivars with resistance to insect and disease pests or tolerance to environmental limitations, would be resulted in minimizing damage and hence improving productivity in each region. Development of rainfed lowland rice cultivars with good adaptation to each target environment in regions has been in goal. Under the program for Research and Development of Rice Varieties for Rainfed Lowland Areas, the 6 research projects, i.e. Research and Development of Rainfed lowland Rice Cultivars for Upper North Thailand, Research and Development of Rainfed lowland Rice Cultivars for Lower North Thailand, Research and Development of Rainfed lowland Rice cultivars for Northeast Thailand, Research and Development of Rainfed lowland Rice Cultivars for Central Plane Thailand, Research and Development of Rainfed lowland Rice Cultivars for South Thailand, Research and Development of Rainfed lowland Rice Cultivars for Flood – prone areas, have been operated covering in all regions. With those projects, breeding activities has been conducted in 26 research centers and including farmers fields in each area. Breeding methods, conventional breeding with integration of molecular breeding have been employed. The breeding activities involved, hybridization and selection of segregated materials using conventional approach and marker assisted selection (MAS). Intra and inter-observation trials, inter-station yield trials and farmers field trials have been in a process of yield testing. Screening for resistance to disease and insect pests has been employed together with evaluation of grain qualities. Achievements over 3 years of project period, between 2008 and 2010, comprised of development of breeding materials of 863 populations. Grain yield evaluation was conducted over 819 trials with involving more than 5,780 breeding lines. A total of 60 promising lines has been in a final process of grain yield evaluation. Five rainfed lowland rice cultivars have been released, i.e. Khai Modrin 3, RD16, Khao Kho Diew 35, RD45 and Cho Lung 97, as government cultivars. A total of 11 promising lines have been in preparation of proposing to be released in a next step.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับชาติ:
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: -
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: -
เลขทะเบียนวิจัยกรม: 1253
ชื่อแหล่งทุน: กรมการข้าว
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: 564
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: จัดจ้างวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
เอกสารแนบ: https://tarr.arda.or.th/preview/item/8648?keyword=%25E0%25B8%2582%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7
พื้นที่ดำเนินการ: 4 ภาค
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: 2550-2553
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2550
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยเชิงทดลอง
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวในพื้นที่นาน้ำฝน
กรมการข้าว
2553
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวในพื้นที่นาน้ำฝน แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวในพื้นที่นาน้ำฝน ระยะที่ 2 ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวนนาน้ำฝน การสำรวจชนิดและปริมาณแมลงศัตรูข้าว และศัตรูธรรมชาติ ในข้าวพื้นที่ดินเปรี้ยวเขตนาน้ำฝนศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวนนาน้ำฝนภาคเหนือตอนล่างและตะวันตก ระบบการปลูกพืช ปอ-ข้าว ในสภาพน้ำฝน การคัดเลือกพันธุ์ข้าวต้านทานแล้งภายใต้สภาพอาศัยน้ำฝนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดอัตราการขัดสีข้าว
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก