สืบค้นงานวิจัย
โครงการย่อยที่ 1: การทดสอบการเชื่อมโยงข้อมูลปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่อการเข้าทำลายของศัตรูพืชสำหรับป้องกันการระบาดในพืชตระกูลพริก กะหล่ำปลี และมะเขือเทศบนพื้นที่สูง
สุมาลี เม่นสิน - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการย่อยที่ 1: การทดสอบการเชื่อมโยงข้อมูลปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่อการเข้าทำลายของศัตรูพืชสำหรับป้องกันการระบาดในพืชตระกูลพริก กะหล่ำปลี และมะเขือเทศบนพื้นที่สูง
ชื่อเรื่อง (EN): Subproject1 : Study and Test of Environmental Factor Connected disease and insect Devastation on Highland Cruciferaceae Solanaceae and Karen Chili Cultivation
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุมาลี เม่นสิน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: บันทึกข้อมูลปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์กับการเข้าทำลายของศัตรูพืชพริกกะเหรี่ยง กะหล่ำปลี (พันธุ์ T 523) และมะเขือเทศ (พันธุ์ Extra 390) บนพื้นที่สูงต่อเนื่องปีที่ 2 ประกอบด้วย (1) ปัจจัยด้านกายภาพ ได้แก่ ความชื้นสัมพัทธ์อากาศ อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ความเข้มแสง ความเร็วลม ตำแหน่งแปลงปลูก (2) ปัจจัยด้านสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ชนิดและพันธุ์พืชปลูก ระยะการเจริญเติบโต วัชพืช (พืชอาศัย) พบว่า ปัจจัยด้านกายภาพที่มีผลต่อการระบาดของโรคในพริกกะเหรี่ยง ณ โครงการขยายผลโครงการหลวงสบเมย ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม 2555 มากที่สุด คือ ความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิ ช่วง 88.52-98.67 % และ 19.33-25.00 ?C ตามลำดับ ส่วนแมลงศัตรูพริกกะเหรี่ยงจะระบาดและสร้างความเสียหายถึงระดับเศรษฐกิจในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสัมพัทธ์ 65.82-98.39 % และอุณหภูมิ 21.24-29.04 ?C นอกจากนี้ยังพบว่า ความชื้นสัมพัทธ์ 65.82-98.26 % และอุณหภูมิอยู่ในช่วง 14.03-19.05 ?C เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการระบาดระดับสูงของโรคในกะหล่ำปลีหรือมะเขือเทศ ณ โครงการขยายผลโครงการหลวงสบโขงช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงตุลาคม 2555 ในขณะที่แมลงศัตรูจะสร้างความเสียหายในระดับเศรษฐกิจเมื่อมีความชื้นสัมพัทธ์ 65.82-77.65 % และอุณหภูมิช่วง 14.03-22.01 ?C ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชยังขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนและความเร็วลมในลักษณะเป็นปัจจัยประกอบมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ตลอดจนช่วยสนับสนุนให้เกิดการแพร่ระบาดกระจายไปสู่พื้นที่ใกล้เคียงที่มีสภาพแวดล้อมคล้ายกันและปลูกพืชชนิดเดียวกันหรือพืชตระกูลเดียวกันโดยเฉพาะในฤดูหนาว สำหรับปัจจัยด้านสิ่งมีชีวิตเช่น ระยะการเจริญเติบโตของพืช ถือว่ามีอิทธิพลต่อการเข้าทำลายของโรคแมลงศัตรูพืชและมีความเฉพาะเจาะจงในระดับที่สูงมากในบางชนิด ส่วนวัชพืชที่เจริญบริเวณแปลงปลูกจะมีผลต่อการคงอยู่และการเพิ่มปริมาณ/ความรุนแรงของการทำลาย ผลการสำรวจพบวัชพืช 15 ชนิด แบ่งเป็น แหล่งอาศัยเชื้อสาเหตุโรคพืช 6 ชนิด (หญ้าขน สาบหมา กระดุมใบ สาบเสือ เฟิร์นใบมะขาม และลิเภา) แมลงศัตรูพืช 7 ชนิด (สาบแร้งสาบกา ถั่วลิสงนา คริสต์มาส ผักเผ็ดแม้ว ผักเฮือด ผักโขมหนาม และผักคราดหัวแหวน) และทั้งเชื้อสาเหตุโรคและแมลงศัตรูพืช 2 ชนิด (ฟักทอง และมะเขือพวง) โดยโรคและแมลงศัตรูที่พบในพืชอาศัย คือ โรคใบจุด Cercospora โรคใบจุด-ใบไหม้ Alternaria เพลี้ยอ่อน แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ หนอนกระทู้ หนอนผีเสื้อขาว และหนอนชอนใบและทั้งเชื้อสาเหตุโรคและแมลงศัตรูพืช 2 ชนิด โดยโรคและแมลงศัตรูที่พบในวัชพืชเป็นชนิดเดียวกับศัตรูกะหล่ำปลี มะเขือเทศ และพริก ผลการสัมภาษณ์วิธีปฏิบัติของเกษตรกรพบว่า นิยมใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชแต่ยังขาดความรู้ในการเลือกชนิดและวิธีการใช้ที่ถูกต้อง ทำให้บางครั้งระดับความรุนแรงของโรคและจำนวนแมลงสูงจนสร้างความเสียหายให้กับผลผลิต การทดสอบใช้ข้อมูลปัจจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อเฝ้าระวังการเข้าทำลายของศัตรูพืชบนพื้นที่สูงอยู่ในขั้นตอนประมวลข้อมูลเพื่อให้เกิดความแม่นยำสำหรับนำไปผลิตเป็น ต้นแบบแผ่นพยากรณ์ เบื้องต้นมีแผนเริ่มทดสอบร่วมกับเกษตรกรผู้ปลูกกะหล่ำปลีหรือมะเขือเทศในต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2556
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการย่อยที่ 1: การทดสอบการเชื่อมโยงข้อมูลปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่อการเข้าทำลายของศัตรูพืชสำหรับป้องกันการระบาดในพืชตระกูลพริก กะหล่ำปลี และมะเขือเทศบนพื้นที่สูง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2555
ฐานข้อมูลจีโนไทป์ของเชื้อพันธุกรรมพืชตระกูลแตง สารชีวภัณฑ์ผลงานของศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ป้องกันกำจัดศัตรูพืชปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิต วิธีลอยกระทงให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สถานการณ์เกษตรและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในปัจจุบัน สมุนไพรช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน: พริก การพัฒนาประสิทธิภาพสารสกัดสมุนไพรในการควบคุมแมลงศัตรูพืชตระกูลกะหล่ำปลีและมะเขือเทศบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 7:การทดสอบประสิทธิภาพและวิธีการใช้ชีวภัณฑ์เชื้อราสาเหตุโรคแมลงในการควบคุมแมลงศัตรูพืชตระกูลกะหล่ำและมะเขือเทศในสภาพแปลง การพัฒนาประสิทธิภาพเชื้อราปฎิปักษ์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชตระกูลกะหล่ำ และมะเขือเทศบนพื้นที่สูง อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่อการระบาดของโรคยางพารา การบริหารศัตรูพืชเพื่อสนับสนุนโครงการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก