สืบค้นงานวิจัย
การผลิต การตลาด และความต้องการใช้ดาหลาในพื้นที่ภาคใต้
พรสวรรค์ เพชรรัตน์, ทวีวรรณ ทองนวล, พรรณี แพงทิพย์ - มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ชื่อเรื่อง: การผลิต การตลาด และความต้องการใช้ดาหลาในพื้นที่ภาคใต้
ชื่อเรื่อง (EN): Production, marketing and demand of torch ginger in southern area
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยเรื่องการผลิต การตลาด และความต้องการใช้ดาหลาในพื้นที่ภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการผลิต การจำหน่าย และการใช้ดาหลาในพื้นที่ภาคใต้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล โดยสอบถามผู้ผลิตดาหลาในพื้นที่ภาคใต้ 692 คน และผู้ใช้ดาหลาในพื้นที่ภาคใต้ 544 คน พบว่า ผู้ผลิตดาหลาในพื้นที่ภาคใต้จะผลิตดาหลาเป็นอาชีพรองทั้งหมด มีวัตถุประสงค์ในการผลิต 3 ประการ คือ การใช้ในครัวเรือน ร้อยละ 76.45 การจำหน่าย ร้อยละ 2.45 และการใช้ในครัวเรือนและจำหน่าย ร้อยละ 21.10 ทำการผลิตดาหลา จำนวน 3 สี คือ สีชมพูมีการผลิตมากที่สุด รองลงมาคือสีแดง และสีขาว ผู้ผลิตโดยส่วนใหญ่จะไม่มีต้นทุนการผลิต ไม่มีการให้น้ำ ไม่มีการตัดแต่งทรงพุ่ม ไม่มีการใส่ปุ๋ย ไม่มีการป้องกันและกำจัดโรค แมลง สัตว์ศัตรู และไม่มีการป้องกันและกำจัดวัชพืช การเก็บเกี่ยวผลผลิต มี 2 ลักษณะ คือ การตัดดอก และต้นพันธุ์ ส่วนใหญ่เก็บเกี่ยวลักษณะการตัดดอก โดยมีรูปแบบการจำหน่าย 3 รูปแบบ คือ การขายปลีก การขายส่ง และการขายปลีกและการขายส่ง การตัดดอก ดาหลาสีชมพู สีแดง และสีขาว ราคาไม่แตกต่างกัน โดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1 – 15 บาทต่อดอก และต้นพันธุ์ ดาหลาสีชมพูและสีแดง ราคาไม่แตกต่างกัน โดยเฉลี่ยต่ำกว่า 50 บาทต่อ 1 ต้นพันธุ์ ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตดาหลาต่ำกว่า 2,000 บาทต่อปี ปัญหาการผลิตดาหลาในพื้นที่ภาคใต้ คือ การขาดความรู้และการให้คำแนะนำการผลิตที่มีประสิทธิภาพจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การขาดแคลนปัจจัยการผลิต เช่น ที่ดิน เงินทุน พันธุ์ ปุ๋ย สารเคมี เป็นต้น ปัญหาการตลาด และปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ การใช้ดาหลาในพื้นที่ภาคใต้ มี 3 ลักษณะ คือ การบริโภค ร้อยละ 72.06 ไม้ตัดดอก ร้อยละ 16.91 และไม้ดอกประดับ ร้อยละ 11.03 สีดาหลาที่ใช้มี 3 สี คือ สีชมพู สีแดง และสีขาว โดยสีชมพูและสีแดงมีการใช้กันเท่ากัน ร้อยละ 46.32 และสีขาว ร้อยละ 7.36 การบริโภคจำนวนที่ซื้อโดยเฉลี่ยน้อยกว่า 10 ดอกต่อครั้ง และราคาโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 5 – 10 บาทต่อดอก มากที่สุด ไม้ตัดดอกจำนวนที่ซื้อโดยเฉลี่ย ระหว่าง 10 – 20 ดอกต่อครั้ง และราคาโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 16 – 20 บาทต่อดอก มากที่สุด และไม้ดอกประดับจำนวนที่ซื้อโดยเฉลี่ยน้อยกว่า 10 ต้นพันธุ์ต่อครั้ง และราคาโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 50 – 100 บาทต่อ 1 ต้นพันธุ์ มากที่สุด ความถี่ในการซื้อ สำหรับการบริโภคและการตัดดอกส่วนใหญ่จะมีความถี่ในการซื้อไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับโอกาสและความเหมาะสมกับการใช้งาน ส่วนการใช้เป็นไม้ดอกประดับส่วนใหญ่มีความถี่ในการซื้อน้อยกว่า 6 เดือนต่อครั้ง ปัญหาที่พบมากที่สุดกับการใช้ดาหลาในพื้นที่ภาคใต้ คือ แหล่งหรือร้านจำหน่ายมีน้อย ร้อยละ 39.71 รองลงมาคือ สีไม่หลากหลาย ร้อยละ 23.53 คุณภาพพันธุ์หรือดอกไม่ได้มาตรฐาน ร้อยละ 18.38 ปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ ร้อยละ 11.03 และน้อยที่สุดคือมีราคาสูงเมื่อเทียบกับดอกไม้ชนิดอื่น ร้อยละ 7.35 แนวโน้มการใช้ดาหลาในอนาคต สำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้ดาหลาและผู้ที่เคยใช้แต่ในปัจจุบันไม่ใช้แล้ว มีแนวโน้มว่าจะใช้ดาหลาเพิ่มขึ้น รูปแบบที่ต้องการใช้มากที่สุดคือ ไม้ตัดดอก ส่วนผู้ที่ใช้ดาหลาอยู่ในปัจจุบัน มีแนวโน้มว่าจะใช้ดาหลาลดลง รูปแบบที่ต้องการใช้มากที่สุดคือ การบริโภค สีดาหลาที่ต้องการใช้มากที่สุด คือ สีแดง รองลงมาคือสีชมพู และสีขาว
บทคัดย่อ (EN): The research was aimed to study the production, marketing and the demand of Torch ginger, Etlingera elatior (Jack) R.M. Smith, in southern Thailand. This study was a survey research using questionnaires to collect data. There were 692 producers and 544 users answered to the questionnaires. The results showed that the all of Torch ginger in southern Thailand was produced as a second career. There were 3 objectives in the flower production, 76.45% for household consumption, 2.45% for sell and 21.10% for both purposes. There were 3 colors of flower produced:- pink, red and white, respectively. Most of producers did not invest any cost; no watering, no trimming, no fertilizer, no disease nor pest prevention and control, and no weed prevention and control. There were 2 types of harvesting, as flower and scions. Most of the production was harvest as flowers. The selling were retail, wholesale and both. There was no different between the prices of pink, red and white Torch ginger flower. The average price was between 1-15 baht. The price of pink and red Torch ginger scions was the same. The average price of the scion was under 50 baht. Most of the producers earned from the Torch ginger less than 2,000 baht per year. The problems in Torch ginger production were :- 1) lack of knowledge and effective guideline from the relevant organizations, 2) lack of production input factors such as land, investment, the scions, fertilizer, chemicals, etc. 3) the marketing problem and 4) the decreasing price of Torch ginger. The were 3 ways of using Torch ginger in southern Thailand, 72.06% as food, 16.91% as cut flowers, and 11.03% as decorative plants. There were 3 colors of Torch ginger used, pink, red and white. There was 46.32% of both pink and red Torch ginger used, whereas only 7.36% of white flower was used. Buying of Torch ginger, the average number of flowers bought as food was less than 10. Average price was 5-10 baht per flower, the most. Average number bought as cut flower was 10-20 and the price was 16-20 baht per flower, the most. As decorative plant, the average number bought was less than 10 scions, and the average price was 50-100 baht per scion, the most. The frequency of buying Torch ginger, as food and cut flowers, was not regular. It was depend on the seasonal and occasional events. As a decorative plant, the frequency of buying was less than once in 6 months. The problems of the use of Torch ginger in the south, 39.71% only a few selling shops, 23.53% the less variation of flower colors, 18.38% the low quality of flower and scions, 11.03% low of the supply of the flower, and 7.35% the price was high compare to other flowers. Trend of using Torch ginger, for those who never used and who ever used the flower trend to use the flower more in the future as cut flower the most. On the other hand, those who used the flower in present, trend to use the flower less, as food the most. The most preferable color of Torch ginger was red, pink and white, respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิต การตลาด และความต้องการใช้ดาหลาในพื้นที่ภาคใต้
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
30 กันยายน 2559
สภาพการผลิตและการตลาดพืชผักของเกษตรกรในภาคใต้ ศักยภาพการผลิตการตลาดข้าวหอมนิลและข้าวหอมมะลิแดงของเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือ ศักยภาพการผลิตและการตลาดปลานิล การจัดการการผลิตและการตลาดของฟาร์มจิ้งหรีดในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม สภาพการผลิตและการตลาดมะม่วงในจังหวัดราชบุรี การศึกษาแนวทางส่งเสริมการผลิตและการตลาดกระเทียม การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดยาง สภาพการผลิตและการตลาดมะม่วงหิมพานต์ในภาคตะวันออก การศึกษาเศรษฐกิจการผลิตและการตลาดไหมเชิงอุตสาหกรรม โครงการวิจัยการศึกษาเศรษฐกิจการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรโครงการหลวง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก