สืบค้นงานวิจัย
การผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
เพ็ญพิศ พลทรัพย์ศิริ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เพ็ญพิศ พลทรัพย์ศิริ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องการผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2547 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) การผลิตพริกของเกษตรกร 3 ) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการผลิตพริก จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 124 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นชาย อายุเฉลี่ย 46.7 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาตอนต้น มีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 5 คน มีแรงงานในการปลูกพริกเฉลี่ย 3 คน ไม่มีการจ้างแรงงานประจำ มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 16.6 ไร่ พื้นที่เป็นของตนเองเฉลี่ยร้อยละ16.5 ไร่ มีรายได้ในภาคเกษตรเฉลี่ย 26,227.4 บาทต่อปี รายได้นอกภาคเกษตรเฉลี่ย 15,150 บาทต่อปี มีรายได้รวมทั้งหมด เฉลี่ย 43,222.7 บาทต่อปี เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มสหกรณ์ ใช้ทุนตนเองในการปลูกพริก และรายได้เป็นสิ่งจูงใจให้ปลูกพริก เกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกพริกเฉลี่ย 9.2 ปี ส่วนใหญ่ปลูกพริกเพื่อเพิ่มรายได้หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว ความรู้ส่วนใหญ่ได้จากพ่อค้าท้องถิ่นหรือผู้จำหน่ายสารเคมี มีพื้นที่ปลูกพริก 1-5 ไร่ สภาพพื้นที่ปลูกพริกเป็นที่ดอน ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย มีการไถเตรียมดินก่อนปลูก เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพริกในเดือนกันยายน เก็บเกี่ยวในเดือนธันวาคม ใช้ระยะปลูก 30 x 30 ซม. จำนวน 3 ต้นต่อหลุม ส่วนใหญ่ใช้พันธุ์หัวเรือ เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง ใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 0.57 กก.ต่อไร่ ใส่ปุ๋ยมูลไก่ อัตรา 500-700 กก.ต่อไร่ ปุ๋ยเคมีใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กก.ต่อไร่ ใส่ช่วงพริกติดผล ส่วนใหญ่มีการใส่ปุ๋ยทางใบ กำจัดวัชพืชโดยการใช้สารเคมี ใช้น้ำจากบ่อน้ำตื้นโดยใช้ปั๊มน้ำไฟฟ้าต่อสายยางรดน้ำพริกในช่วงเช้า ส่วนใหญ่ มีการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟช่วงระยะเวลาการเจริญเติบโตของลำต้นและใบ การป้องกันกำจัดโรคและแมลง โดยใช้สารเคมีชนิดดูดซึมเมื่อสังเกตเห็น เกษตรกรส่วนใหญ่เก็บเกี่ยวพริกตามอายุ ไม่มีการคัดคุณภาพ ผลผลิตพริกสดเฉลี่ย 1,340.3 กก.ต่อไร่ ราคาพริกสดเฉลี่ย 11.40 บาทต่อกก. ราคาพริกแห้งเฉลี่ย 68.15 บาทต่อกก. ส่วนใหญ่จำหน่ายให้พ่อค้าท้องถิ่น เกษตรกรแก้ไขปัญหาราคาพริกตกต่ำโดยการทำพริกแห้ง ส่วนใหญ่ไม่ขยายพื้นที่ปลูก ในภาพรวมเกษตรกรมีปัญหาในระดับมาก ได้แก่ ขาดเงินทุน ขาดแรงงานเก็บเกี่ยว ราคาผลผลิตตกต่ำ โรคแมลงระบาด ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ปัญหาในระดับน้อย ได้แก่ ขาดความรู้ ขาดแรงงานปลูกพริก ขาดการรวมกลุ่มเพื่อจำหน่าย น้ำไม่เพียงพอ ฝนแล้ง น้ำท่วม น้ำเป็นกรดเป็นด่าง คุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด การกลายพันธุ์ พ่อค้ากดราคา ข้อเสนอแนะ ควรจัดทำแปลงศึกษาหรือแปลงเรียนรู้เพื่อให้เกษตรกรได้ศึกษาพิสูจน์ทราบในด้านการตรวจวิเคราะห์สภาพดินก่อนปลูกพริก การส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้ด้านสารเคมีในการผลิตพริก รวมกลุ่มเพื่อการจำหน่ายผลผลิต และการตรวจรับรองผลผลิตภายในกลุ่ม
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: ปี 2547
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพริกของเกษตรกรในอำเภอเมืองอุบลราชธานี ความต้องการพัฒนางานด้านเคหกิจของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี การเสริมสร้างศักยภาพของเกษตรกรในการผลิตพริกพื้นเมืองพันธุ์หัวเรือตามมาตรฐานเกษตรปลอดภัยในจังหวัดอุบลราชธานี การผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2547 การผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี การผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการปลูกพริกของเกษตรกรอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตปอแก้วของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก