สืบค้นงานวิจัย
การเปลี่ยนแปลงของสารประกอบไนโตรเจนและประสิทธิภาพการบำบัดสารประกอบไนโตรเจนของระบบน้ำหมุนเวียนในการเลี้ยงปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790)
เพ็ญศรี เมืองเยาว์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การเปลี่ยนแปลงของสารประกอบไนโตรเจนและประสิทธิภาพการบำบัดสารประกอบไนโตรเจนของระบบน้ำหมุนเวียนในการเลี้ยงปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790)
ชื่อเรื่อง (EN): The study of nitrogenous waste, particulate matter and bacteria removal efficiency of treatment system of fish culture in recirculating aquaculture system (RAS)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เพ็ญศรี เมืองเยาว์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pensri Muangyao
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การเปลี่ยนแปลงของสารประกอบไนโตรเจนและประสิทธิภาพการบำบัดไนโตรเจนในการเลี้ยงปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) ในระบบน้ำหมุนเวียน ดำเนินการโดยเก็บข้อมูลในระบบเลี้ยงปลากะพงขาวแบบน้ำหมุนเวียนของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เขต 6 (สงขลา) ในระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 – 6 กุมภาพันธ์ 2557 (สัปดาห์ที่ 9 – 20 ของการเลี้ยง) โดยระบบน้ำหมุนเวียนประกอบด้วย บ่อเลี้ยงขนาด 35 ลบ.ม. 8 บ่อ และระบบบำบัดซึ่งมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. บ่อตกตะกอน ขนาด 25 ลบ.ม. 1 บ่อ, 2. บ่อบำบัดชีวภาพ ขนาด 25 ลบ.ม. 1 บ่อ และ3. บ่อพักน้ำดี ขนาด 25 ลบ.ม. 1 บ่อ ปล่อยปลากะพงขาวขนาด 5-6 นิ้ว ลงเลี้ยงบ่อละ 1,500 ตัว ให้อาหารเม็ดวันละ 1 ครั้ง ปริมาณ 2% ของน้ำหนักตัวปลา ผลการศึกษา พบว่าสารประกอบไนโตรเจนอยู่ในรูปไนเตรทมากที่สุด ประมาณ 80% ของ ไนโตรเจนทั้งหมด โดยที่ไนเตรทในระบบบำบัดมีค่าสูงกว่าในบ่อเลี้ยง สำหรับไนโตรเจนในตะกอนแขวนลอยมีการสะสมเพิ่มมากขึ้นในระบบบำบัดตามเส้นทางของการหมุนเวียนและบำบัดน้ำ และไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียรวมและไนไตร์ทมีปริมาณต่ำกว่า 1% ของไนโตรเจนทั้งหมด และจากการคำนวณดุลไนโตรเจน พบว่า ระบบสามารถบำบัดไนโตรเจนในตะกอนแขวนลอยได้เพียง 0.29 กิโลกรัมไนโตรเจน ขณะที่สามารถกำจัดไนโตรเจนผ่านกระบวนการดีไนตริฟิเคชั่นได้สูงถึง 106.0 กิโลกรัมไนโตรเจน โดยระบบฯ สามารถบำบัดไนโตรเจนได้ทั้งหมดคิดเป็น 73.6% ของไนโตรเจนจากอาหารปลา หรือเท่ากับ61.0% ของไนโตรเจนที่หมุนเวียนในระบบฯ สำหรับประสิทธิภาพการบำบัดไนโตรเจนในรูปที่เป็นพิษต่อสัตว์น้ำ พบว่า ระบบสามารถบำบัดแอมโมเนียรวมได้สูงถึง 80% ของแอมโมเนียรวมที่หมุนเวียนในระบบฯ ขณะที่บำบัดไนไตรท์ได้เพียง 36%เท่านั้น สำหรับการเปลี่ยนแปลงของปริมาณออกซิเจน พบว่า มีปริมาณลดลงตามเส้นทางของการหมุนเวียนและบำบัดน้ำ และออกซิเจนละลายน้ำในบ่อบำบัดชีวภาพมีปริมาณลดลงตามระดับความลึก ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ พบว่า ประสิทธิภาพการบำบัดแอมโมเนียรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณออกซิเจนในบ่อบำบัดชีวภาพ เมื่อพิจารณาอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับการกำจัดไนโตรเจนออกจากระบบโดยกระบวนการดีไนตรฟิเคชั่น และสัมพันธ์เชิงลบกับปริมาณไนโตรเจนในบ่อตกตะกอน บ่อบำบัดชีวภาพ และบ่อพักน้ำ ขณะที่อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (FCR) มี ความสัมพันธ์เชิงลบกับปริมาณออกซิเจนที่ลดลงในบ่อบำบัดชีวภาพ ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า ระบบเลี้ยงปลากะพงขาวแบบน้ำหมุนเวียนของศูนย์ฯ มีประสิทธิภาพในการบำบัดสารประกอบไนโตรเจนที่เป็นพิษได้ และในระบบฯ มีระดับของปฏิกิริยาไนตริฟิเคชั่นและดีไนตริฟิเคชั่น ที่ทำให้สามารถลดปริมาณไนโตรเจนที่เป็นพิษให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยและลดการสะสมของไนเตรทได้ อย่างไรก็ตาม ควรมีการพัฒนาและศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบการกำจัดตะกอนและการจัดการออกซิเจนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลดการสะสมของตะกอนแขวนลอยและควบคุมระดับออกซิเจนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการใช้ของจุลินทรีย์ในระบบบำบัดและของปลาที่เลี้ยง เพื่อไม่ให้กระทบต่อประสิทธิภาพการบำบัดสารประกอบไนโตรเจน การเจริญเติบโตและอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของปลาที่เลี้ยง อันจะส่งผลต่อความคุ้มค่าในการลงทุนเลี้ยงปลากะพงขาวในระบบน้ำหมุนเวียนเชิงพาณิชย์ได้
บทคัดย่อ (EN): The transformation of nitrogen compounds and the efficiency of nitrogen removal in a recirculating aquaculture system (RAS) for seabass (Lates calcarifer Bloch, 1790) was evaluated at the Coastal Aquaculture Research and Development Regional Center 6 (Songkhla), for 9 – 20 weeks of seabass culture during November 1, 2014 – February 6, 2015. The RAS consisted of eight 35 m3 culture ponds and 3 steps of treatment process, 1.a 25 m3 sedimentation pond, 2. a 195 m 3 of FixedNet Biofilter pond and 3. a 25 m3 reservoir. Juvenile seabass (1,500 individuals, 13-16 cm in length) were released into each culture pond and fed with pellets (2% of body weight) once per day. The results showed that 80% of the nitrogen was present as nitrate. The oncentration of nitrate in the treatment ponds was higher than that in the culture ponds. Particulate organic nitrogen (PON) accumulated in the treatment ponds. The total ammonia nitrogen and nitrite were lower than 1% of total nitrogen. Nitrogen budget calculations showed that 0.29 kgN could be removed by particulate removal, whilst 106.0 kg N could beremoved by denitrification processes. The RAS could remove nitrogen for 73.6% of nitrogen from feed input or 61.0% of total nitrogen in water recirculating in the system. The removal efficiency of toxicnitrogen was 80% for total ammonia nitrogen (TAN) input, whilst only 36% of the nitrite input was removed. The dissolved oxygen (DO) in culture ponds were higher than in treatment ponds, which continuous decrease sequentially. There was a strong positive correlation between DO in fixedNet Biofilter pond and TAN removal efficiency. Average daily growth (ADG) of seabass was positive correlated to the denitrification processes level and was negative correlated to concentrations of nitrogen in FixedNet Biofilter pond and reservoir, whist feed conversion ratio (FCR) was positive correlated to DO decreasing level in FixedNet Biofilter pond. This study suggested that this RAS was highly efficient for removing toxic nitrogen and the system had nitrification and denitrification processes, resulting in a reduction of toxicnitrogen and low accumulation of nitrate. The particulate removal part and the DO management, however, need further research and development, in order to reduce the accumulation of PON andmaintain a suitable DO concentration in the RAS, to give maximum benefit for the operation of recirculating aquaculture systems for seabass on a commercial scale.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 240,700.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-03-31
พื้นที่ดำเนินการ: ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เขต 6 (สงขลา)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2557
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเปลี่ยนแปลงของสารประกอบไนโตรเจนและประสิทธิภาพการบำบัดสารประกอบไนโตรเจนของระบบน้ำหมุนเวียนในการเลี้ยงปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790)
กรมประมง
31 มีนาคม 2558
กรมประมง
ประสิทธิภาพและการจัดการระบบกรองชีวภาพขนาดใหญ่สำหรับเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาทะเล การใช้อาหารสำเร็จรูปขนาดเล็กแบบ Microbound สำหรับการอนุบาลลูกปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) การเลี้ยงปลากะพงขาว (Lates calcarifer, Bloch 1790) ในกระชังโดยใช้เครื่องตีน้ำแขนยาวที่ควบคุมด้วยพีแอลซี การตอบสนองของภูมิคุ้มกันและการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของน้ำเลือดปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) หลังการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส ประสิทธิภาพการย่อยโปรตีนจากวัตถุดิบโปรตีนจากพืชในกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon (Fabricus, 1798) และปลากะพงขาว Lates calcarifer (Bloch, 1790) ผลของขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) ต่อการตอบสนองภูมิคุ้มกันและความต้านทานเชื้อแบคทีเรียในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) ที่เลี้ยงในกระชัง ผลของความเค็มที่ลดลงต่อองค์ประกอบเลือดภูมิคุมกัน และการติดเชื้อ Streptococcus iniae ในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) ผลของอัตราความหนาแน่นต่อการติดเชื้อ Streptococcus iniae ในปลากะพงขาว, Lates calcarifer (Bloch) ผลการเสริมโปรตีนไฮโดรไลเสตจากเศษทิ้งกุ้งในอาหารสำเร็จรูปต่อการเจริญเติบโตของปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) การใช้โปรตีนไฮโดรไลเสตจากเศษทิ้งกุ้งเป็นแหล่งโปรตีนเพื่อทดแทนปลาป่นในอาหารปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) สำเร็จรูป
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก