สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาสารหลั่งจากฟอลลิคูล่าเซลล์สุกรในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งและการใช้ฟอลลิคูล่าเซลล์ในการประเมินความเป็นพิษของโลหะหนัก
มยุรา อาร์กิจเสรี - มหาวิทยาลัยศิลปากร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสารหลั่งจากฟอลลิคูล่าเซลล์สุกรในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งและการใช้ฟอลลิคูล่าเซลล์ในการประเมินความเป็นพิษของโลหะหนัก
ชื่อเรื่อง (EN): Study on porcine follicular cell secretion to inhibit cancer cells and using follicular cells to assess heavy metal toxicity
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มยุรา อาร์กิจเสรี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สมมุติฐาน จากทฤษฏีทราบว่าถุงไข่ที่ถุงนํ้า (antral follicles) ภายในมีฟอลลิคูล่าเซลล์อยู่ 2 ชนิด เซลล์ชนิดแรกอยู่ล้อมรอบเซลล์ไข่เรียกว่าเซลล์ล้อมรอบเซลล์ไข่ (cumulus cells: CC) ส่วนเซลล์ชนิดที่สองที่อยู่ล้อมรอบในถุงไข่คือเซลล์แกรนูโลซ่า (granulosa: ฟอลลิคูล่าเซลล์) เซลล์ทั้ง 2 ชนิดมีหน้าที่ คือเซลล์แกรนูโลซ่าหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนสู่นํ้าในถุงไข่และเซลล์ล้อมรอบเซลล์ไข่ (cumulus cells: CC) มีหน้าที่ผลิตและส่งสารที่มีนํ้าหนักโมเลกุล (molecular weight) ตํ่าๆ เช่น ion nucleotides และ amino acids ซึ่งสารนี้เรียกว่า oocyte maturation inhibitor (OMI) หรือ meiosis arresting factor สู่เซลล์ไข่ระยะแรก(primary follicles) ซึ่งยังไม่พัฒนา สารนี้มีหน้าที่หยุดการเจริญพัฒนาของเซลล์ไข่ให้อยู่ในระยะ diplotene stage of prophase I อยู่ตลอดเวลาและเพื่อป้องกันไม่ให้primary oocytes เจริญพัฒนาเข้าสู่ secondary oocytes (Ueno และคณะ, 1988; Eppig,1993, Whitaker, 1996; Li และคณะ, 2000) ความสัมพันธ์ระหว่างเซลล์ล้อมรอบเซลล์ไข่และเซลล์ไข่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พบว่าช่องระหว่างเซลล์ล้อมรอบเซลล์ไข่และไมโครวิลไลของเซลล์ล้อมรอบเซลล์ไข่ที่ยื่นมาสัมผัสกับตัวไซโตพลาสซึมของ6เซลล์ไข่6นั้นมีความสัมพันธ์กับไมโครวิลไลของเซลล์ล้อมรอบเซลล์ไข่ซึ่งจะฝังตัวเข้าไปในเมแบรนของ6เซลล์ไข่6 ความสัมพันธ์นี้มีผลต่อการเจริญของเซลล์ไข่เพราะว่าส่วนปลายของไมโครวิลไลของเซลล์ล้อมรอบเซลล์ไข่ที่ยื่นออกมาสัมผัสกับไซโตพลาสซึมของเซลล์ไข่มีลักษณะเป็นกระเปราะและภายในมีสารจากเซลล์ล้อมรอบเซลล์ไข่นําเข้าเซลล์ไข่ นักวิจัยเชื่อว่าสารนี้มีผลยับยั้งการเจริญของเซลล์ไข่ซึ่งทําให้เซลล์ไข่หยุดการเจริญและหยุดอยู่ที่ primary oocyte ระยะ prophase I ต่อมาเมื่อได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมนของ GnRH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior pituitary gland) เซลล์ไข่จึงเจริญต่อไป นอกจากนี้มีรายงานที่ศึกษาถึงสาร Mullerian inhibiting substance(MIS) ที่เป็นไกลโคโปรตีนที่ผลิตจาก sertoli cells ในอัณฑะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งสาร MIS และ OMI นี้ผลิตมาจากเซลล์ที่อยู่ในอวัยวะที่มีการพัฒนามาจากต้นกําเนิด (origin) เดียวกันคือ Mullerian structure (Scully, 1970) ซึ่งมีการค้นพบว่า MIS มีผลยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งรังไข่และเซลล์มะเร็งปากมดลูกในมนุษย์(human cervical cancer) และเซลล์มะเร็งรังไข่ในหนูเมาส์ (Stephen และคณะ, 2002; Barbie และคณะ, 2003) และยังพบสาร MIS ในเพศเมียที่ผลิตจากเซลล์แกรนูโลซ่าของรังไข่ที่อยู่ในระยะ postnatal และในวัยเจริญพันธุ์อีกด้วย (Scully, 1970) ทั้งหมดทําให้ผู้วิจัยคาดว่าในถุงไข่ของสุกรน่าจะผลิตสารหลั่งที่เป็นไกลโคโปรตีนที่กล่าวมานี้และน่าจะมีผลในการยับยั้งการเจริญพัฒนาของเซลล์มะเร็งได้ด้วยเช่นกัน
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
เอกสารแนบ: http://researchgateway.in.th/search/result_search/344c118a297b73713298c8ac793887bd41640e7b0c0d5412be1b3708a2f7d68d
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาสารหลั่งจากฟอลลิคูล่าเซลล์สุกรในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งและการใช้ฟอลลิคูล่าเซลล์ในการประเมินความเป็นพิษของโลหะหนัก
มหาวิทยาลัยศิลปากร
30 กันยายน 2554
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี สารสกัดจากดีปลีในยับยั้งการเจริญเติบโตและการเคลื่อนที่ของเซลล์มะเร็งเต้านมผ่านการยับยั้งวิถีมีวาโลเนต กลไกการยับยั้งการแพร่กระจาย ของเซลล์มะเร็งผิวหนัง โดยสาร rhodomyrtone จากโท๊ะ กลไกการยับยั้งการแพร่กระจาย ของเซลล์มะเร็งผิวหนัง โดยสาร rhodomyrtone จากโท๊ะ การศึกษาฤทธิ์ของตำรับยาเบญจอำมฤตย์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีในต้นแบบสัตว์ทดลองที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี ตำรับตรีกฏุก ต่อโมเลกุลเป้าหมายในการยับยั้งเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี คุณสมบัติการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากบัวกลุ่มอุบลชาติและฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งและเชื้อจุลินทรย์ก่อโรคในมนุษย์ ข้าวก่ำสายพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาของจังหวัดพะเยาที่ผ่านกระบวนการหุงและการนึ่งต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์เมทริกเมทาลโลโปรทีเนสในเซลล์มะเร็งชนิดรุกราน ฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของสารประกอบฟีนอลิคสโคโปเลติน ในเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี สารสกัดจากใบส้มป่อยที่มีผลต่อเซลล์อักเสบและเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีในหลอดทดลอง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก