สืบค้นงานวิจัย
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าวของเกษตรกร ตำบลขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
สุนทร เนตรหาญ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าวของเกษตรกร ตำบลขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุนทร เนตรหาญ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าวของเกษตรกรตำบลขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1 ) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจโดยทั่วไปของเกษตรกร 2 ) สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าวของเกษตรกร 3 ) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าวของเกษตรกร ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 103 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 50.25 ปี มากกว่าครึ่งหนึ่งจบการศึกษาภาคบังคับ สมาชิกเฉลี่ยครัวเรือนละ 6 คน แรงงานทางการเกษตรเฉลี่ยครัวเรือนละ 3 คน มีการจ้างแรงงานทำการเกษตรเฉลี่ยครัวเรือนละ 10 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ยครัวเรือนละ 15.13 ไร่ รายได้เฉลี่ยครัวเรือนละ 64,034.95 บาทต่อปี รายจ่ายในครอบครัวเฉลี่ยครัวเรือนละ 60,669.90 บาทต่อปี เกษตรกรมีหนี้สินเฉลี่ยครัวเรือนละ 30,543.69 เกษตรกรส่วนใหญ่เข้าใจความหมายของปุ๋ยอินทรีย์ และวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน เกษตรกรทั้งหมดใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว โดยวิธีการหว่านทิ้งไว้ในนา เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์หลายชนิดรวมกัน ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยคอก เกษตรกรทั้งหมดมีความรู้เรื่องปุ๋ยหมัก และส่วนใหญ่รู้จักวิธีการทำปุ๋ยหมัก เกษตรกรทั้งหมด รู้จักวัสดุปรับปรุงบำรุงดินโดยเฉพาะแกลบ ใช้วัสดุปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ในอัตราเฉลี่ย 343.20 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรมากกว่าครึ่งใช้ก่อนการปลูกข้าว 30-50 วัน โดยส่วนใหญ่จะหว่านไว้ทั่วทั้งแปลง โดยไม่มีข้อกำหนดที่แน่นอนในการใช้วัสดุปรับปรุงบำรุงดิน เกษตรกรประมาณครึ่งหนึ่งจะไถกลบหลังจากการใส่วัสดุปรับปรุงบำรุงดินแล้ว เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยนำดินไปตรวจสอบความสมบูรณ์ของดิน ไม่จุดไฟเผาตอซังข้าวหลังการเก็บเกี่ยว มีความรู้เรื่องดินเค็ม และมีความรู้เรื่องดินเปรี้ยว เกษตรกรทั้งหมดคิดว่าไม่มีข้อแตกต่างในการใช้พันธุ์ข้าวในนาดินเค็มและนาดินเปรี้ยว โดยใช้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และเหนียวสันป่าตองในนาดินเค็ม ใช้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในนาดินเปรี้ยว ปัญหาอุปสรรคในการจัดทำ หรือซื้อหาปุ๋ยอินทรีย์ และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าวของเกษตรกร ได้แก่ ไม่มีเวลาทำ ทำยาก ขั้นตอนการใช้ยุ่งยาก ปุ๋ยอินทรีย์ราคาแพง ไม่มีขายในท้องถิ่น ไม่รู้จำนวนวัสดุที่จะใช้ วัสดุปรับปรุงบำรุงดินมีราคาแพง เกษตรกรส่วนใหญ่ มีความต้องการช่วยเหลือจากทางราชการในเรื่อง การสนับสนุนด้านเงินทุนและสินเชื่อ การจัดอบรม ประชุมชี้แจง แนะนำให้ความรู้ในการผลิต จัดหาปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินให้เกษตรกรในลักษณะกองทุนหมุนเวียน และแจ้งแหล่งราคาจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินให้เกษตรกรทราบโดยต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะ เกษตรกรควรมีการรวมกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ทางราชการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด หรือเชื้อจุลินทรีย์สารเร่งปุ๋ยหมัก สนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และการ อบรมแนะนำการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินให้แก่เกษตรกร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าวของเกษตรกร ตำบลขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าวของเกษตรกร ตำบลไผ่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงดินในนาข้าวของเกษตรกรตำบลตองปิด อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ สภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของเกษตรกรตำบลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของเกษตรกรตำบลบ้านแร่ กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรทำนา ตำบลพลับพลา อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของเกษตรกร ตำบลสลักใด อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ การเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านน้ำตมภายใต้การจัดการปุ๋ยในชุดดินพัทลุง การใช้เทคโนโลยีปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสดในนาข้าวของ เกษตรกรตำบลบ้านจารย์ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก