สืบค้นงานวิจัย
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช
สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล - มหาวิทยาลัยพะเยา
ชื่อเรื่อง: โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช
ชื่อเรื่อง (EN): Plant Genetic Conservation Project under the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn at Phayao University plant genetic conservation area, Phayao Province : Conservation and Utilization
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ผักพื้นบ้านเป็นพืชที่มีคุณประโยชน์ อุดมไปด้วยสารอาหาร และสารออกฤทธิ์ทาง ชีวภาพในปริมาณมากทำให้มีความสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหรือต้านทานโรค ส่วนประกอบของ ผักพื้นบ้านที่นิยมนำมาบริโภคมีทั้งส่วนของใบ ดอก ยอด และผล อย่างไรก็ตามการศึกษา องค์ประกอบพื้นฐานทางเคมีและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในผักฟื้นบ้านบางชนิดยังคงขาด แคลน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณองค์ประกอบพื้นฐานทางเคมี คลอโรฟิลล์ สารประกอบฟินอลิกทั้งหมด และความสามารถในการต้านออกซิเดชันของยอดชงโค สะเตา และส้มปอย รวมทั้งในผลของมะระขึ้นก และเพกา โดยเก็บตัวอย่างในเขตชุมชนบริเวณ มหาวิทยาลัยพะเยา ทำการวิเคราะห์ค่าความชื้น เถ้า และเยื่อใยโดยใช้วิธี gravimetric method การวิเคราะห์ไขมัน สกัดด้วยปิโตรเลียมอี่เทอร์ โดยชุดสกัด Soxtherm (Soxhlet apparatus) และการวิเคราะห์หาปริมาณโปรตีน ด้วยวิธี Kedah! พบว่ามะระขึ้นกมีความชื้นสูงสุด (87.72%) ชงโคมีปริมาณโปรตีนสูงสุด (3.93%) เพกามีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูงสุด (14.74%) และสะเดามีปริมาณไขมัน (0.48%) เถ้า (4.52%) และเยื่อใย (8.46%) สูงที่สุด สำหรับการ วิเคราะห์ปริมาณคลอโรพืลล์ด้วยเครื่องวัดคลอโรพืลล์ SPAD-502 การวิเคราะห์ปริมาณ สารประกอบฟินอสิกทั้งหมด ด้วยวิธี Flin-ciocalteu Phenol และการวิเคราะห์ความสามารถ ในการต้านออกซิเดชันด้วยวิธี DPPH (2,2-Dipheny-1-picrylhydrazy) พบว่าปริมาณ คลอโรฟิลล์ ปริมาณสารประกอบนอลิกทั้งหมด และความสามารถในการต้านออกซิเดชัน ของสะเดาที่สูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ (pS0.05) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 26.94 SPAD unit. 1914.67 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลสิกต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด และ 2640.63 มิลลิกรัม สมมูลของวิตามินซีต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด ตามลำดับ สรุปได้ว่าผักฟื้นบ้านที่นำมาศึกษา องค์ประกอบพื้นฐานทางเคมี ปริมาณคลอโรฟิลล์ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด และ ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระแต่ละชนิดมีปริมาณสูงแตกต่างกันตามชนิดและส่วนที่นำมาบริโภค ของพืช
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช
มหาวิทยาลัยพะเยา
30 กันยายน 2555
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : ความหลากหลายทางพันธุกรรม โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : กิจกรรมปกปัก สำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : ความหลากหลายทางพันธุกรรมและการสร้างจิตสำนึก ความหลากหลายทางชีวภาพในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี การอนุรักษ์พันธุกรรมกล้วยไม้ภายในมหาวิทยาลัยพะเยา (โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา) ฐานข้อมูลจีโนไทป์ของเชื้อพันธุกรรมพืชตระกูลแตง โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก