สืบค้นงานวิจัย
การทำการประมง และเศรษฐกิจสังคมของชาวประมงในทะเลสาบสงขลา จังหวัดพัทลุง
สุภาพ สังขไพฑูรย์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การทำการประมง และเศรษฐกิจสังคมของชาวประมงในทะเลสาบสงขลา จังหวัดพัทลุง
ชื่อเรื่อง (EN): Fishery Activities and Socio-economics of Fishers in Songkhla Lake, Phatthalung Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุภาพ สังขไพฑูรย์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการทำการประมง และเศรษฐกิจสังคมของชาวประมงในทะเลสาบสงขลา จังหวัดพัทลุง ได้ทำการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างชาวประมง จำนวน 111 ครัวเรือน ระหว่างเดือนตุลาคม 2552 ถึงกันยายน 2553 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างชาวประมงที่ไปสัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85.6) เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 46 ± 11 ปี มีประสบการณ์ในการทำการประมงเฉลี่ย 19±12 ปี ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 73.9) จบระดับประถมศึกษา นับถือศาสนาพุทธและอิสลามในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ร้อยละ 50.5 และ 49.5 ตามลำดับ เครื่องมือทำการประมงที่นิยมใช้มี 5 ชนิด คือ ข่าย แห ลอบ (ไซ) เบ็ดราว และอวนล้อม สัดส่วนร้อยละ 56.5, 22.4, 18.1, 1.5 และ 1.5 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างชาวประมงมีรายได้เฉลี่ย 6,966.97 ± 3,514.55 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 91.0) มีรายได้จากการทำการประมงเป็นรายได้หลักของครัวเรือน สัตว์น้ำที่จับได้ทั้งหมดส่วนใหญ่ขายให้กับผู้รวบรวมภายในหมู่บ้าน ร้อยละ 80 ปัญหาอุปสรรคในการท้าการประมง ในทะเลสาบสงขลา คือ คลื่นลมแรง ทำให้สัตว์น้ำจืดอพยพหนีไปอยู่บริเวณอื่นซึ่งเป็นน้ำจืด ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างชาวประมงเกี่ยวกับ ระดับความคาดหวังต่อความคงอยู่ของทรัพยากรประมง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 58.6) มีระดับความคาดหวังอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบในแต่ละพื้นที่ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) โดยกลุ่มตัวอย่างชาวประมงบริเวณตอนบนมีระดับความคาดหวังสูงสุด ระดับความคาดหวังต่อแนวทางในการจัดการทรัพยากรประมง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 59.5) มีความคาดหวังอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อเปรียบเทียบในแต่ละพื้นที่ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) โดยกลุ่มตัวอย่างบริเวณตอนล่างมีระดับความคาดหวังต่อแนวทางในการจัดการทรัพยากรประมงสูงสุด
บทคัดย่อ (EN): A study on fishery activities and socio-economics of fisher in Songkhla Lake, Phatthalung Province was conducted by using questionnaires to interviewed from 111 fishers households during October 2009 to September 2010. The results showed that most of informants were male (85.6%), the average age 46 ± 11 years old. Average 19±12 years experience in fishing. Their education were primary level (73.9%) Buddhism and Islam were nearly the same propotion was 50.0% and 49.5%, respectively. There were 5 main types of fishing gears used namely the gill net, cast net, trap, long line and surrounding net (56.5%, 22.4%, 18.1%, 1.5% and 1.5%, respectively). Average income was 6,966.97±3,514.55 Baht/household/month. The informants who earning income from capture fishery were 91.0%. Most commom captured (80%) were sold to local wholesellers. . Problem for capture were rage and seawater backing, making of freshwater were immigrants fleeing. Most of informants (58.6%) were expectation for presistance of fishery resources at the medium level, and were different significant in each area (p<0.05), who lived in the upper part were expect the highest level. Most of informants (59.5%) were expectation for fisheries management at the medium level, and were different significant in each area (p<0.05), who live in the lower part were expect the highest level.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ทะเลสาบสงขลา จังหวัดพัทลุง
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทำการประมง และเศรษฐกิจสังคมของชาวประมงในทะเลสาบสงขลา จังหวัดพัทลุง
กรมประมง
31 มีนาคม 2555
กรมประมง
การทำการประมงและเศรษฐกิจสังคมของชาวประมงในทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง โครงการศึกษาภาวะเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ปัญหา และความต้องการของชาวนา การทำการประมงและเศรษฐกิจสังคมของชาวประมงในอ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี การทำการประมงและเศรษฐกิจสังคมของชาวประมงในแม่น้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช การประเมินสถานภาพทรัพยากรประมง เศรษฐกิจสังคม และการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการบริหารจัดการประมงแบบมีส่วนร่วมในทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง การประมงและความสูญเสียทางเศรษฐกิจของสัตว์น้ำจากการทำประมงอวนล้อมซั้งทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ระบบการปลูกข้าวนาปีและการทำประมงในหมู่บ้านยากจนของชายฝั่งทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา ศักยภาพของพื้นที่ในการจัดสร้างปะการังเทียมเพื่อการประมง สภาวะเศรษฐกิจ-สังคม การประมง และทัศนคติของชาวประมงต่อการบริหารจัดการทรัพยากรประมงในลำเซบาย จังหวัดยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี การประมงหมึกสายในน่านน้ำไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก