สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
ปภพ จี้รัตน์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปภพ จี้รัตน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร  2) เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร  3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร และ  4) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ เกษตรกรที่อยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จำนวน 272 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน (Two-stage sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่สถิติพรรณนา ซึ่งประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน  ได้แก่  การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบคัดเลือกเข้าการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร  2) เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร  3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร และ  4) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ เกษตรกรที่อยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จำนวน 272 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน (Two-stage sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่สถิติพรรณนา ซึ่งประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน  ได้แก่  การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบคัดเลือกเข้า ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 61 ปี อยู่ในสถานภาพสมรส สำเร็จการศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 3.56 ไร่ มีรายได้ในภาคการเกษตรเฉลี่ย 86,234.30 บาทต่อปี มีประสบการณ์ในการทำเกษตรกรรมเฉลี่ย 28 ปี เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตรในชุมชนเฉลี่ย 3 กลุ่ม ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ทางการเกษตรเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี เข้าร่วมฝึกอบรมหรือดูงานด้านการเกษตรเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี เข้าร่วมกิจกรรมหรือประเพณีเกี่ยวกับการเกษตรเฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี ได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆ เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเฉลี่ย 27 ครั้งต่อเดือน เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมแบบพอเพียงอยู่ในระดับมาก มีทัศนคติต่อการทำเกษตรกรรมแบบพอเพียงอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด และมีการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญา          เศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมาก สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางบวก ได้แก่ สถานภาพ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตร การเข้าร่วมฝึกอบรมหรือดูงานทางด้านการเกษตร การเข้าร่วมกิจกรรมหรือประเพณีเกี่ยวกับการเกษตร ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการทำเกษตรแบบพอเพียง และทัศนคติต่อการทำเกษตรแบบพอเพียง และปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางลบ ได้แก่ พื้นที่ทำการเกษตร สำหรับปัญหาในการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สำคัญ ได้แก่ การขาดแคลนน้ำเพื่อทำการเกษตรในฤดูแล้ง การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ต้นทุนและปัจจัยการผลิตในการทำเกษตรกรรมมีราคาสูง และผลผลิตทางการเกษตรมีราคาต่ำ ส่วนข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การสนับสนุนองค์ความรู้และวิทยาการใหม่ในการทำเกษตรกรรม         การส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2562
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://www.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/191333
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2562
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการทำเกษตรกรรมตามแนวทาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน การบริหารจัดการการเงินของครัวเรือนเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น ปีการเพาะปลูก 2552/53 ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร รอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดเพชรบุรี การศึกษาพฤติกรรมและสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรจังหวัดปราจีนบุรี การพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่เกษตรกรในชุมชนจังหวัดนครปฐม การดำเนินการและการใช้สื่อเสียงตามสายเพื่อเกษตรกรในจังหวัดลำพูน สภาพการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย (Test) 87 ทางเลือกทางการเกษตร เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของการทำการเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา 4 ภูมินิเวศ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับ ไม่ยอมรับเทคโนโลยีการเกษตรของเกษตรกรในเขตโครงการปฏิบัติการพัฒนาสังคม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก