สืบค้นงานวิจัย
การใช้ปลาเป็น Biomarker ในการติดตามตรวจสอบผลกระทบด้านสารรบกวนระบบฮอร์โมนจากสารเคมีทางการเกษตรบางกลุ่ม
ชนกันต์ จิตมนัส - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การใช้ปลาเป็น Biomarker ในการติดตามตรวจสอบผลกระทบด้านสารรบกวนระบบฮอร์โมนจากสารเคมีทางการเกษตรบางกลุ่ม
ชื่อเรื่อง (EN): Using freshwater as biomarker for assessment environmental impacts on enodocrine drsrupters after applying some agrochemical substances
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชนกันต์ จิตมนัส
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): CHANAGUN CHITMANAT
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตรหลายชนิดได้มีการพิสูจน์หรือสงสัยว่าเป็นสารที่มีผลรบกวนระบบการทำงานของฮอร์โมน งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเป็นดัชนีชีวภาพในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตร โดยแบ่งการทดลองเป็น 4 ส่วน ส่วนที่หนึ่งศึกษาผลของปลาตะเพียนขาวต่อสารกำจัดศัตรูพืช 2 ชนิด พบว่า ปลาตะเพียนขาวที่แช่ในสารกำจัดหอยแอสไปรส์ 40 มิลลิกรัมต่อลิตรและสารกำจัดแมลงเฟมวอส (ไดคลอร์วอส) 16 พีพีเอ็ม นาน 24 ชั่วโมงมีปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่นลดลง ส่วนที่ 2 เป็นการตรวจสอบการแสดงออกของยีนที่ควบคุมการสังเคราะห์วิเทลโลจินินจากตับปลา เพื่อเป็นเครื่องหมายทางชีวภาพตรวจวัดปลาน้ำจืดที่ปนเปื้อนสารกำจัดศัตรูพืชที่เกี่ยวข้องกับสารรบกวนฮอร์โมน ด้วยวิธี RT-PCR อย่างไรก็ตาม เมื่อตรวจสอบปลาที่สัมผัสกับสารปราบศัตรูพืชที่ความเข้มข้นต่าง ๆ ยังไม่สามารถหายีนดังกล่าวได้ ส่วนที่สามเป็นการใช้การยับยั้งทำงานของเอนไชม์ Acetylcholinesterase (AChE) โดยใช้หอยขมที่จุ่มในน้ำที่คาดว่ามีการปนเปื้อนของสารปราบศัตรูพืชเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ พบว่า หอยขมชุดควบคุมที่นำมาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการมีค่าของการทำงานของเอนไซม์อะซิติลคลอรีนเอสเตอเรสที่สูงกว่าชุดที่นำไปจุ่มในแม่น้ำปิงช่วงฤดูฝน (9.47 เปรียบเทียบกับ 1.04 - 1.60 µmole/min/g tissue ตามลำดับ) โดยการทำงานของเอนไชม์จะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอุณหภูมิน้ำ โดยการทำงานของเอนไชม์อะซิติลคลอรีนเอสเตอเรสของหอยขมในหน้าหนาวมีค่าต่ำที่สุด ส่วนที่ 4 เป็นการตรวจสอบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรในแหล่งน้ำ โดยผลที่ได้จากการตรวจสอบมีการเปรียบเทียบกับผลจากกรมควบคุมมลพิษ ข้อมูลที่ได้เหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการใช้อ้างอิงในอนาคต เพื่อดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร รายงานเล่มนี้ยังได้รวบรวมเอกสารวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องหมายชีวภาพตัวอื่น ๆ เพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของสารปราบศัตรูพืชในแหล่งน้ำ
บทคัดย่อ (EN): Pesticides are widely used to kill unwanted organisms in agricultural fields, public areas, homes and gardens Many are proven oi suspected to be endocrine disruptors. These compounds alter the normal functioning of the endocrine system, potentially causing disease or deformity in organisms and their offspring. The purpose of this research was to determine the possibilities of the use of indigenous fish as biomarkers for pesticide contamination monitoring in aquatic environment. The experiment was divided into 4 parts. For the first part, Common silver barbs (Puntius gonionotus) were exposed to pesticides for 24 h The result showed the decrease in % hematocrit. The second trial was to determine the expression or the vitellogenin (vtg) gene, the major precursor of the egg-yolk proteins, from fish livers by RT-PCR. Unfortunately, the expression of this gene was not a success in this study. A modified method is underway and will include consultations with specialists. The third part included the study of acetylcholinesterase (AChE) inhibition by using transplanted river snails. The result showed the control snails acclimated in the laboratory possessed the higher AChE activities (9.47 µmole/min/g tissue) than transplanted river snails (1.04 - 1.60 µmole/min/g tissue). The last part was the determination of pesticide contamination in the Upper Ping River. The results from several laboratories were compared and reported. These data will be used as a reference for future studies in monitoring pesticides and their impact on the water quality in the Upper Ping River. In this paper, the hazardous properties of pesticides which are known to have endocrine disruption properties are also reviewed in order to assess the implications for risk assessment.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-49-022.2
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2549
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2557/chanagn_chitmanat_2550/fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ปลาเป็น Biomarker ในการติดตามตรวจสอบผลกระทบด้านสารรบกวนระบบฮอร์โมนจากสารเคมีทางการเกษตรบางกลุ่ม
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2549
เอกสารแนบ 1
พันธุศาสตร์ของลักษณะทางการเกษตรต่างๆ ในงา ผลจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ ศูนย์สาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีพลังงานเพื่อการเกษตร การผลิตสารชีวภัณฑ์จากจุลินทรีย์ลำไส้ปลวกเพื่อการเกษตรพลังงานและสิ่งแวดล้อม พลวัตและการจัดการการเกษตรไทยในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การควบคุมโรคข้าวโดยใช้สารเคมี มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศไทย การใช้สารเคมีควบคุมวัชพืชสาบเสือ (Chromolaena Odorata) ระบบสารสนเทศสำหรับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมทองปลอดสารเคมีเพื่อการส่งออก ศึกษาการสร้างเอกลักษณ์ของเมล็ดพันธุ์แตงกวาลูกผสม โดยการใช้สารพอลิเมอร์ร่วมกับสารเรืองแสง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก