สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวมังคุดผลสดและกระบวนการผลิตมังคุด และผลไม้อื่นๆ ตัดแต่งพร้อมรับประทาน
อภิรดี กอร์ปไพบูลย์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวมังคุดผลสดและกระบวนการผลิตมังคุด และผลไม้อื่นๆ ตัดแต่งพร้อมรับประทาน
ชื่อเรื่อง (EN): Prolonging Storage life of Fresh Mangosteen Fruit and Marking Convenient to Eats Mangosteen Fruit Flavourful, Nutritive and Sustained Consumer Acceptance
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อภิรดี กอร์ปไพบูลย์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อภิรดี กอร์ปไพบูลย์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การดำเนินงานวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวมังคุดผลสดและกระบวนการผลิตมังคุดและผลไม้อื่นๆตัดแต่งพร้อมรับประทาน ดำเนินงานที่ สถาบันวิจัยพืชสวน ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี สวนเกษตรกรผลิตมังคุดและโรงคัดบรรจุมังคุดส่งออก ดำเนินการ2 ปีระหว่างเดือนตุลาคม2551-กันยายน2553 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการยืดอายุการเก็บรักษามังคุดผลสดเพื่อการขนส่งทางเรือโดยการพัฒนาวัสดุห่อหุ้มมังคุดผลสดร่วมกับการใช้สารเคลือบผิว และเพื่อพัฒนาวิธีการลดอาการเกิดสีน้ำตาลและรักษาเนื้อสัมผัสของมังคุดตัดแต่งพร้อมรับประทานสามารถรักษาคุณภาพและคุณค่าทางอาหารด้วยสารละลายผสมก่อนบรรจุลงบรรจุภัณฑ์เพื่อเก็บรักษาในสภาวะที่เหมาะสม ในการศึกษาการส่งออกผลมังคุดมีการใช้สารเคลือบผิวร่วมกับการสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราบรรจุลงในตะกร้าที่มีกระดาษรองผลมังคุดทั้ง 6 ด้านเพื่อช่วยยืดอายุการเก็บรักษาให้ได้เวลา นานขึ้นโดยคุณภาพภายนอกและคุณภาพการบริโภคยังคงเป็นที่ยอมรับเชิงการค้า เพื่อความสะดวก และมีประสิทธิภาพดีกว่าเดิม จึงพัฒนาการใช้ถุงพลาสติกที่มีค่าOTR(Oxygen transmission rate)ต่างๆร่วมกับสารเคลือบผิวต่างๆร่วมกับเก็บรักษาที่15+2องศาเซลเซียส ในสภาพเลียนแบบการส่ง ออกกับมังคุดส่งออกในวัยที่2-4 วัยที่ 2 ผลมีจุดสีชมพู 51-100% วัยที่ 3 ผลมีสีชมพูสม่ำเสมอวัยที่ 4 ผลมีสีแดง พบว่าในสภาวะที่ใช้สารดูดซับเอทธิลีน 10 กรัมต่อมังคุด 1 กิโลกรัม บรรจุในถุง LDPE ค่าOTR 4,000 มิลลิลิตรต่อตารางเมตรต่อวันสามารถเก็บรักษาผลมังคุดได้นาน 28 วัน, ในสภาวะที่ใช้ถุงLDPE ชนิด FBb ความหนา 40 ไมครอน มีค่าOTR 12,000 มิลลิลิตรต่อตารางเมตรต่อวัน เตรียมผลมังคุดโดยแช่ในสารละลายคลอรีน 200 ppm.ร่วมกับการเคลือบด้วยสารKM 2 มิลลิลิตรต่อลิตรสามารถเก็บรักษาผลมังคุด ได้นาน 41 วัน ในสภาวะที่ใช้ถุงTPBความหนา 20 ไมครอนมีค่าOTR 15,000 มิลลิลิตรต่อตารางเมตรต่อวันร่วมกับใช้สารKM 2 และ 4 มิลลิลิตรต่อลิตรสามารถเก็บรักษามังคุดได้นาน 49 วัน, ในสภาวะใช้ถุงมีค่าOTR 12,000 และ15,000 มิลลิลิตรต่อตารางเมตรต่อวันไม่ว่าจะมีการเคลือบผิวด้วยสารใด สามารถเก็บรักษาผลมังคุดได้นาน 21 วัน, ในสภาวะการใช้ถุงTPBความหนา 50 ไมครอน มีค่าOTR 4,085 มิลลิลิตรต่อตารางเมตรต่อวันร่วมกับการใช้สารเคลือบผิวKM และสารเคลือบผิวจากประเทศไต้หวัน(T) 2 และ 4 มิลลิลิตร ต่อลิตรมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันเก็บรักษาผลมังคุดได้นาน 49 วัน, ที่สภาวะการใช้ถุงFBมีค่า OTR 12,000 และ15,000 มิลลิลิตรต่อตารางเมตรต่อวันร่วมกับสารเคลือบผิวKM และสารเคลือบผิวจากไต้หวัน(HM) พบว่ามีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันทำให้เก็บรักษาผลมังคุดได้นาน 31 วันและที่สภาวะการใช้ถุงTPB 50 ไมครอน แบบมีรูพรุนร่วมกับเคลือบผิวด้วยKM เก็บรักษาผลมังคุดได้นาน 49 วัน ซึ่งระยะเวลาการเก็บรักษาที่นานขึ้น ทำให้มังคุดที่ส่งออกจากประเทศไทยมีศักยภาพในการเปิดตลาดการค้าใหม่ที่ใช้ระยะเวลาในการขนส่งมากกว่าเดิม ตอบสนองต่อผู้บริโภคได้กว้างขึ้น และเพื่อตอบสนองกลุ่มผู้บริโภคในกลุ่มอื่นเพิ่มขึ้นที่มีความต้องการความสะดวกสบายในการรับประทานและความเชื่อมั่นว่ามังคุดที่ต้องการบริโภคปราศจากลักษณะยางไหลซึ่งไม่สามารถบริโภคได้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผลไม้ตัดแต่งในมังคุดสดจึงเป็นแนวทางใหม่ในการตอบสนองผู้บริโภค โดยศึกษาการป้องกันการเกิดสีน้ำตาลที่สามารถรักษาคุณภาพทางสรีรวิทยาและรักษาคุณค่าทางอาหารขอมังคุดตัดแต่ง โดยนำมังคุดวัยที่5 ตัดแต่งเปลือกแช่ในน้ำกลั่นและสารละลายผสม 4 ชนิด ระหว่างCalciumchloride, Calciumlactate, Sodium metabisulphite และ Sodium hexametaphosphate0.25% ร่วมกับ Ascorbic acid0.5%และน้ำกลั่นเป็นเวลา 20นาที บรรจุในบรรจุภัณฑ์พลาสติกpolyethylene terepterate(PET) หุ้มด้วยฟิล์มพลาสติกยืดpolyvinyl chloride(PVC) นำมาเก็บรักษาที่อุณหภูมิ4+1องศาเซลเซียส พบ ว่าเมื่อแช่มังคุดตัดแต่งในสารละลายผสมCalciumchloride0.25%ร่วมกับAscorbic acid0.5% ค่าความสว่าง(L)และความแน่นเนื้อสูงสุด ค่าสีแดง(a)ค่อนไปทางค่าลบที่สุด ตามด้วยCalciumlactate 0.25%, Sodium metabisulphite0.25%, Sodium hexametaphosphate0.25%และน้ำตามลำดับ สำหรับคุณภาพทางเคมีมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ไม่แตกต่างทางสถิติ pHอยู่ในช่วง3.3-3.5 TSSอยู่ในช่วง16.15-17.26 และTAอยู่ในช่วง0.57-0.66 เลือกมังคุดตัดแต่งแช่สารละลายผสม2ชนิดที่คะแนนการยอมรับรวมสูงสุดลำดับที่1และ2คือCalciumchlorideและCalciumlactate0.25%ร่วมกับ Ascorbic acid0.5% สามารถลดการเกิดสีน้ำตาลและรักษาคุณภาพทางสรีรวิทยาได้ดี มาตรวจสภาพทางจุลินทรีย์ พบว่าจุลินทรีย์ไม่เกินมาตรฐานคุณภาพทางจุลชีววิทยา ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของสารต้านอนุมูลอิสระมีปริมาณTAC(Total Antioxidant Capacity)เท่ากับ 1.39 และ1.26 มิลิโมลาร์ต่อกรัมน้ำหนักสดตามลำดับ ดังนั้นสภาวะดังกล่าวสามารถยืดอายุมังคุดตัดแต่งได้นาน 5 วัน
บทคัดย่อ (EN): Research and development of post-harvest technology and processing fresh-cut mangosteen and other fruits. Operating at the Horticultural Research Institute. Chanthaburi Horticultural Research Center Farmers mangosteen orchard and Exporter. During the two years since October 2551 - September 2553. The objective of this study was to develop the technology extends shelf life of fresh mangosteen for marine export by develop packaging material and coating. To antibrowning and maintain texture of the mangosteen fresh-cut by immersed in the mixture solution before packaging for storage in optimum condition. Mangosteen for exported use coating combine with anti-fungus chemicals packging into a basket with paper supports the fruit of 6 dimensions. To help extend shelf life to be extended periods. The quality is still acceptable commercial. For convenience and better performance than the previous method.Therefore developed using a plastic bag with the OTR (Oxygen transmission rate) various in conjunction with various coatings with storage at 15 oC in simulated conditions of export. Mangosteens should be 51-100% scattered pink spots (stage 2), reddish pink (stage 3) and red (stage 4). Found that in an environment that ethylene absorber 10 g. per 1 kg. of mangosteen LDPE packaging the OTR 4,000 milliliters per square meter per day can keep the fruit as long 28 days. Found that the bag LDPE type FBb thickness 40 microns were OTR 12,000 milliliters per square meter per day prepare the fruit by soaking in a chlorine solution 200 ppm. In conjunction with coatings KM 2 ml. per liter to keep the fruit as long 41 days.It was found that the TPB bag 20 microns thick were OTR 15,000 milliliters per square meter per day with substance KM 2 and 4 milliliters per liter can be stored for 49 days the mangosteen.It was found that the bags were OTR 12,000 and 15,000 milliliters per square meter per day whether it is coated with any substance. Can keep the fruit as long 21 days. Showed that the TPB bag 50 microns thick were OTR 4,085 milliliters per square meter per day, with the use of coating KM. And coating materials from Taiwan (T) 2 and 4 milliliters per liter, similar performance storage for the fruit to 49 days. It was found that the bags were FB OTR 12,000 and 15,000 milliliters per square meter per day with the coating KM. And coating of Taiwan (HM) showed a similar performance to keep the fruit as long 31 days. Finally, it was found that the bag TPB 50 microns with a porous coating KM. Storage of the fruit has a long 49 days.The duration of storage life. Result, mangosteen exports from Thailand have the potential to open new commercial markets in the period of transport than ever before. Respond to a broader consumer. To meet the consumers in other groups increased. Consumers want the convenience and confidence in the good quality mangosteen products. No yellow gum. Development of the mangosteen fruit, fresh cut is a new option in response to consumer. The study of anti-browning that can maintain quality of the physiological and nutritional treatment for mangosteens trim. Mangosteens should be purple (stage 5). Trim the rind soaked in distilled water and the mixture between the four types Calciumchloride, Calciumlactate, Sodium metabisulphite and Sodium hexametaphosphate 0.25% with Ascorbic acid 0.5% and distilled water for 20 minutes. Supplied in packaging polyethylene terepterate (PET) covered with plastic film stretched polyvinyl chloride (PVC) and stored at 4 +1 ?C. It was found that soaking in a mixture mangosteen trim Calciumchloride0.25% Ascorbic acid0.5% with the brightness (L) and the highest firmness.The a value that is nearly the most negative. Followed by Calciumlactate0.25%, Sodium metabisulphite0.25%, Sodium hexametaphosphate0.25% and water, respectively. For chemical quality has changed little not significantly different. The pH in the range of 3.3 to 3.5. TSS in the range of 16.15 to 17.26 And TA in the range of 0.57 to 0.66. Choose the best method is to accept the highest overall scores 1nd and 2nd with Calciumchloride And Calciumlactate 0.25% with Ascorbic acid0.5%. To reduce browning and physiological quality was good. Comparing the inspection. Found that the bacteria does not exceed the microbiological quality. Monitor changes in antioxidant content TAC (Total Antioxidant Capacity) were 1.39 and 1.26 mM/g (fresh weight) respectively. Therefore, such an condition. Mangosteen can be trimmed to extend for 5 days.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวมังคุดผลสดและกระบวนการผลิตมังคุด และผลไม้อื่นๆ ตัดแต่งพร้อมรับประทาน
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
การวิจัยในสภาพสวนเพื่อพัฒนาการผลิตมังคุดนอกฤดูจังหวัดนครศรีธรรมราช การผลิตถ่านจากเปลือกมังคุดและผลมังคุดคัดทิ้งหรือมังคุดตกเกรดเพื่อใช้เป็นถ่านกรองน้ำและถ่านดูดซับความชื้นและกลิ่น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้เทคโนโลยีปรับปรุงคุณภาพผลผลิตมังคุดของเกษตรกรในจังหวัดตรัง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้เทคโนโลยีปรับปรุงคุณภาพผลผลิตมังคุดของเกษตรกรในจังหวัดตรัง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมังคุดคุณภาพ สภาพการผลิตมังคุดของสมาชิกกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมังคุดในภาคตะวันออก แซนโทนในมังคุด โครงการวิจัยเพื่อหาวิธีการเพิ่มปริมาณมังคุดคุณภาพโดยการจัดการเขตกรรมแบบผสมผสาน การใช้สารสกัดจากมังคุดเพื่อปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัยของมังคุดสดตัดแต่งพร้อมบริโภค การปรับปรุงกระบวนการผลิตและพัฒนาคุณภาพกระดาษเส้นใยกล้วยไข่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก