สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพข้าว และชนิดของบรรจุภัณฑ์เพื่อการเก็บรักษาของข้าวซ้อมมือในเขตพื้นที่จังหวัดพัทลุง
อุไรวรรณ ทองแกมแก้ว - มหาวิทยาลัยทักษิณ
ชื่อเรื่อง: ศึกษาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพข้าว และชนิดของบรรจุภัณฑ์เพื่อการเก็บรักษาของข้าวซ้อมมือในเขตพื้นที่จังหวัดพัทลุง
ชื่อเรื่อง (EN): A Study High Yield and Quality of Rice and Packaging on Shelf Life of Unpolished Rice in Phatthalung
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อุไรวรรณ ทองแกมแก้ว
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ทำการศึกษาผลของอัตราปุ๋ยที่ก่อให้เกิดดินกรดในนาข้าวที่อำเภอเมือง อำเภอควนขนุน และอำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ในปี 2550 ถึง 2551โดยใช้ข้าวพันธุ์สังข์หยดอัตรา 15 กก./ไร่ ปลูกโดยวิธีการหว่าน มีการจัดการให้ปุ๋ ย 4 วิธีคือ ไม่ใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยเคมีตามอัตราของเกษตรกร ใส่ปุ๋ยเคมีในอัตราประยุกต์ตามค่าวิเคราะห์ดิน และใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 1,000 กก./ไร่ โดยทุกสิ่งทดลองครั้งแรกให้ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้นอัตรา 150 กก./ไร่ครั้งที่2 ให้ 30 วัน และครั้งที่ 3 ให้ 60 วัน โดยอัตราปุ๋ยที่ใช้ในครั้งที่ 2 และ 3 ในวิธีการใส่ปุ๋ยที่ 3 และ 4 อยู่กับการใช้ปุ๋ ยของเกษตรเกษตรกร และค่าวิเคราะห์ดินของแต่ละสถานที่ ดังนี้ อำเภอเขาชัยสน: ใส่ปุ๋ยเคมีตามอัตราของเกษตรกรครั้งที่ 1 สูตร 16-20-0 อัตรา 17 กก./ไร่ ครั้งที่ 2 สูตร 16-20-0 อัตรา 8.5กก./ไร่และ 46-0-0อัตรา 8.5 กก./ไร่ ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ครั้งที่ 1 สูตร 46-0-0,0-46-0 และ 0-0-60 อัตรา 4, 7และ 10 กก./ไร่ ครั้งที่ 2 46-0-0อัตรา 3 กก./ไร่ อำเภอเมือง: ใส่ปุ๋ยเคมีตามอัตราของเกษตรกรครั้งที่ 1 สูตร 16-20-0 อัตรา 23 กก./ไร่ ครั้งที่ 2 สูตร 16-20-0 อัตรา 11.5กก./ไร่ และ 46-0-0 อัตรา 11.5 กก./ไร่ ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ครั้งที่ 1 สูตร 46-0-0, 0-46-0 และ 0-0-60 อัตรา 4, 7และ 10 กก./ไร่ ครั้งที่ 2 สูตร 46-0-0 อัตรา 3 กก./ไร่ อำเภอควนขนุน: ใส่ปุ๋ยเคมีตามอัตราของเกษตรกรครั้งที่ 1 สูตร 16-20-0 อัตรา 8.4 กก./ไร่ และปุ๋ ยชีวภาพอัตรา 8.4 กก./ไร่ ครั้งที่ 2 สูตร 16-20-0 อัตรา 8.4กก./ไร่ และ ปุ๋ยชีวภาพอัตรา 8.4 กก./ไร่ ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ครั้งที่ 1 สูตร 46-0-0,และ 0-0-60 อัตรา 4 และ 10 กก./ไร่ ครั้งที่ 2 สูตร 46-0-0 อัตรา 3 กก./ไร่ ทำการเก็บข้อมูลด้านการเจริญเติบโตโดยการหาน้ำหนักแห้งและวิเคราะห์การเจริญเติบโต วัดความเป็ นกรด-ด่างของดิน ที่อายุของ 7, 24, 49 และ 77 วัน และทำการเปรียบเทียบมูลค่าการผลิตในการใช้ปุ๋ยอัตราต่างๆ กัน จากผลการศึกษาพบว่าข้าวสังข์หยดที่ปลูกที่อำเภอควนขนุนมีแนวโน้มการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตสูงสุด รองลงมาคืออำเภอเขาชัยสน และอำเภอเมือง การใส่ปุ๋ยเคมีตามอัตราของเกษตรกร และอัตราปุ๋ยเคมีประยุกต์ตามค่าวิเคราะห์ดิน ส่งผลให้ข้าวพันธุ์สังข์หยดมีการเจริญเติบโตทางด้านลำต้น สูงแต่การให้ผลผลิตพบว่าการให้ปุ๋ ยอินทรีย์ให้ผลผลิตสูงสุด คือ 411.49 เฉลี่ยต่อไร่ รองลงมาคือการใส่ปุ๋ยเคมีอัตราประยุกต์ตามค่าวิเคราะห์ดิน 400.64กก./ไร่ ส่วนความเป็ นกรด-ด่างของดินในนาข้าวตลอดช่วงฤดูกาล พบว่าการใส่ปุ๋ยเคมีตามอัตราของเกษตรกร และอัตราปุ๋ยเคมีประยุกต์ตามค่าวิเคราะห์ดิน ส่งผลให้ความเป็นกรด-ด่างของดินมีความเป็นกรดสูงสุด คือ อยู่ในช่วง 4.01 -4.97 และ 4.13 – 5.22 ตามลำดับ ส่วนทางด้านต้นทุนการผลิตพบว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ส่งผลให้เพิ่มต้น ทุนการผลิตสูงสุด รองลงมาคือการใส่ปุ๋ยเคมีตามอัตราของเกษตรกร และการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน
บทคัดย่อ (EN): The studied of effect of fertilizer rate on soil acid forming in rice field was investigated in three areas (Kao-chaison, Meaung and Kuan-klanon districts) in Phatthalung in 2007 to 2008. Applications fertilizer rate on Sungyound rice (Oryza sativa L.) were studied. 15 kg/rai seedling was broadcasting. Four different treatments were applied, non- fertilizer (control: NF), Chemical fertilizer (refer from farmer: CFF and refer from soil analysis: CFSA) and organic fertilizer (OF) respectively. The application fertilizer rate was divided 3 times that are before sowing (BF 150 kg/rai), 30 days and 60 day after planting which depended on treatments followed as. Kuan-klanon district area: CFF; 1st the formula of fertilizer is 16-20-0, applied 17 kg./rai. 2 nd the formula of fertilizer are 16-20-0, applied 8.5 and 46-0-0 8.5 kg./rai. CFSA; 1st the formula of fertilizer are 46-0-0, 0-46-0 and 0-0-60 applied 4, 7 and 10 kg./rai. 2nd the formula of fertilizer is 46-0-0 applied 3 kg./rai. Meaung district area: CFF; 1st the formula of fertilizer is 16-20-0, applied 23 kg./rai. 2nd the formula of fertilizer are 16-20-0, applied 11.5 and urea 11.5 kg./rai. CFSA; 1st the formula of fertilizer are 46-0-0, 0-46-0 and 0-0-60 applied 4, 7 and 10 kg./rai. 2nd the formula of fertilizer is 46-0-0 applied 3 kg./rai. Kuan-klanon district area: CFF; 1st the formula of fertilizer are 16-20-0, applied 8.4 and organic fertilizer 8.4 kg./rai. 2nd the formula of fertilizer are 16-20-0, applied 16-20-0, applied 8.4 and organic fertilizer 8.4 kg./rai. CFSA; 1st the formula of fertilizer are 46-0-0 and 0-0-60 applied 4 and 10kg./rai. 2nd the formula of fertilizer is 46-0-0 applied 3 kg./rai. Vegetative growth; dry weight, analysis of growth and soil acid forming were studied on 7, 24, 49 and 77 days after planting. And also comparison value of production. The results showed that the highest potential vegetative growth and yield was found in Kuan-klanon area. Application of CFF and CFSA resulted in the highest of vegetative growth. However, OF gave the highest yield with followed by CFSA. Especially, Kuan-klanon area had the highest yield (411.49 kg/rai) with followed by application of CFSA in Meaung area (400.64 kg/rai). The acid forming in the soil formed lifetime in season of plant with followed by application CFF and CFSA (pH 4.01 - 4.97 and 4.13 – 5.22). The analysis of profit showed that application of CFSA had the highest net profit
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
เอกสารแนบ: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/274820
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยทักษิณ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพข้าว และชนิดของบรรจุภัณฑ์เพื่อการเก็บรักษาของข้าวซ้อมมือในเขตพื้นที่จังหวัดพัทลุง
มหาวิทยาลัยทักษิณ
30 กันยายน 2551
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของชาจีนในพื้นที่สูง การวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของชาจีนในพื้นที่สูง ผลของอุณหภูมิในการเก็บรักษาต่อการเปลี่ยนแปลงความหนืด ของข้าวพันธุ์ต่างๆ ธาตุอาหารพืชกับคุณภาพของผลผลิตกาแฟอะราบิก้า 1. ปัญหาในแปลงปลูกและแนวทางในการแก้ไข ผลของสภาพการเก็บรักษาภายใต้สภาวะปิดความดันต่ำที่มีต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวและแมลงในโรงเก็บ ผลของการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับการจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวพันธุ์ปทุมธานีในชุดดินสรรพยา ผลของการเก็บรักษา พันธุ์ และการใช้สารเคมีต่อคุณภาพของแกลดิโอลัส ผลของไคโตซานเพื่อเพิ่มผลผลิตและปริมาณสารทุติยภูมิในข้าว ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวลูกผสมระหว่างข้าวปลูก x ข้าวป่าและข้าวปลูก x ข้าววัชพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตและคุณภาพข้าวตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก