สืบค้นงานวิจัย
ความต้องการรับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลในภาคใต้
พงศักดิ์ วิเศษสินธุ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความต้องการรับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลในภาคใต้
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พงศักดิ์ วิเศษสินธุ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลในภาคใต้ การได้รับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตร ความต้องการรับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตร ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตร ประชากรที่ทำการศึกษาคือเกษตรตำบลที่ปฏิบัติงานในภาคใต้ 14 จังหวัด โดยคัดเลือกจังหวัดตัวอย่างจากเขตเกษตรเศรษฐกิจ 4 เขต ๆ ละ 1 จังหวัด ได้ตัวแทนจังหวัด 4 จังหวัด คือ สุราษฎร์ธานี สงขลา พังงา และยะลา ซึ่งมีเกษตรตำบลทั้งสิ้น 237 คน และใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด การรวบรวมข้อมูลทำโดยการส่งเแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ได้รับคืนทั้งสิ้น 162 ชุด คิดเป็นร้อยละ 68.35 ได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ สหสัมพันธ์โดยพอยท์ไปซีเรียล และ t-test เกษตรตำบลส่วนใหญ่เป็นชาย จบการศึกษาระดับประโยควิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) อายุเฉลี่ย 33 ปี ระยะเวลาทำงานเฉลี่ย 9 ปี มีพื้นที่รับผิดชอบเฉลี่ย 1.47 ตำบล หรือ 9.84 หมู่บ้าน หรือ 1,116.52 ครัวเรือน และมีโครงการที่ต้องรับผิดชอบเฉลี่ย 4.85 โครงการ สำหรับคะแนนความรู้เกี่ยวกับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลปรากฏว่าได้คะแนนเฉลี่ย 15.86 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน (ร้อยละ 79.30) วิชาการที่เกษตรตำบลได้รับการนิเทศมากที่สุดคือ ยางพารา รองลงมาคือข้าว พืชผัก ทุเรียน และเงาะ ส่วนการปฏิบัติงานตามระบบการส่งเสริมการเกษตร เกษตรตำบลได้รับการนิเทศมากที่สุดคือการจัดทำแผนการเยี่ยมเกษตรกร รองลงมาคือการปฏิบัติตามแผนการเยี่ยม การดำเนินการจัดตั้งกลุ่ม/สถาบันเกษตรกร การจัดทำแปลงส่งเสริมและแปลงสาธิต ตามลำดับบุคคลที่นิเทศงานให้แก่เกษตรตำบลมากที่สุดคือเกษตรอำเภอ รองลงมาคือผู้ช่วยเกษตรอำเภอและเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด จากการศึกษาความต้องการรับการนิเทศงานด้านวิชาการของเกษตรตำบลพบว่าเกษตรตำบลต้องการรับการนิเทศวิชาการเกี่ยวกับยางพารามากที่สุด รองลงมาเป็นพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว ทุเรียน และพืชผักก ส่วนความต้องการเกี่ยวกับบุคลากรเพื่อการนิเทศปรากฏว่า เกษตรตำบลต้องการเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัดมากที่สุด รองลงมาคือ เกษตรอำเภอและผู้ช่วยเกษตรอำเภอ สำหรับความต้องการรับการนิเทศด้านการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร ปรากฏว่า เกษตรตำบลต้องการรับการนิเทศเกี่ยวกับการใช้เทคนิคและวิธีการส่งเสริมมากที่สุด รองลงมาคือการวางแผนส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่รับผิดชอบ การดำเนินการจัดตั้งกลุ่ม/สถาบันเกษตร รวมทั้งการติดตามและประเมินผลโครงการ ส่วนบุคลากรเพื่อการนิเทศนั้นเกษตรตำบลต้องการเกษตรอำเภอมากที่สุด รองลงมาคือเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด และผู้ช่วยเกษตรอำเภอ ตามลำดับ สำหรับผลการศึกษาเปรียบเทียบตัวแปรต่างๆ พบว่า ระดับการศึกษา ระยะเวลาการทำงาน และจำนวนโครงการที่รับผิดชอบของเกษตรตำบลนั้นไม่มีความแตกต่างกันในความต้องการรับนิเทศ ส่วนเกษตรตำบลที่มีความรู้เกี่ยวกับการการนิเทศแตกต่างกันมีความต้องการรับการนิเทศด้านวิชาการแตกต่างกัน แต่ต้องการรับการนิเทศด้านการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรไม่มีความสัมพันธ์กับระดับการศึกษา ระยะเวลาการทำงาน จำนวนโครงการที่รับผิดชอบ และความรู้เกี่ยวกับการนิเทศของเกษตรตำบล ปัญหาของเกษตรตำบลเกี่ยวกับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรที่สำคัญคือ ผู้นิเทศงานในลักษณะตรวจงานหรือจับผิดมากกว่าที่จะให้คำแนะนำช่วยเหลือ ไม่ทำการนิเทศอย่างต่อเนื่อง มีความรู้และประสบการณ์ไม่เพียงพอในเรื่องการนิเทศ ข้อเสนอแนะมีดังนี้คือ ผู้นิเทศควรให้คำแนะนำชี้แนะแนวทางแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นกันเอง ให้ขวัญและกำลังใจแก่เกษตรตำบล ควรทำการนิเทศงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ผู้นิเทศควรเตรียมหาความรู้และประสบการณ์ให้เพียงพอในเรื่องที่จะกระทำการนิเทศ ดังนั้นจึงควรจัดการฝึกอบรมแก่ผู้จะปฏิบัติงานเกี่ยวกับการนิเทศให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการนิเทศ และถ้าเป็นไปได้ควรมีการจัดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ด้านวิชาการเกี่ยวกับพืชหรือกิจกรรมที่ต้องไปทำการนิเทศในแต่ละพื้นที่ด้วย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2531
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2532
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความต้องการรับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลในภาคใต้
กรมส่งเสริมการเกษตร
2532
ความต้องการฝึกอบรมด้านการประชาสัมพันธ์ในงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลใน 4 จังหวัดภาคใต้ ความต้องการและปัญหาในการใช้สื่อเพื่อส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลในเขตภาคตะวันออก ความต้องการรับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การแสดงออกในบทบาทนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรอำเภอตามการรับรู้ของเกษตรตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ ความต้องการและบทบาทที่ปฏิบัติจริงของเจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรในงานส่งเสริมการเกษตรในภาคใต้ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล (เกษตรตำบล) ในจังหวัดภาคกลางที่อยู่ในโครงการปรับปรุงระบบการส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย ความคิดเห็นต่อการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดอุดรธานี ทัศนคติของเกษตรตำบลต่อระบบส่งเสริมการเกษตรใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ความต้องการสนเทศเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ระดับตำบลในจังหวัดนครราชสีมา ความคิดเห็นของเกษตรตำบลที่มีต่อการปฏิบัติงานของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก