สืบค้นงานวิจัย
ผลของสารสกัดกระเทียมต่อการยับยั้งเชื้อ Vibrio parahaemolyticusและ Vibrio harveyi
แก้วตา ลิ้มเฮง - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของสารสกัดกระเทียมต่อการยับยั้งเชื้อ Vibrio parahaemolyticusและ Vibrio harveyi
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of garlic extract on inhibition of Vibrio parahaemolyticus and Vibrio harveyi
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: แก้วตา ลิ้มเฮง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Kaewta Limhang
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: จากการศึกษาผลของสารสกัดกระเทียมโดยใช้เอทานอล 95% เป็นตัวทำละลาย ที่ระดับความเข้มข้น 100%, 50%, 25%, 12.5%, 6.25% และ 3.13% ต่อการยับยั้งเชื้อ Vibrio parahaemolyticus และ Vibrio harveyi แบ่งการทดลอง เป็น 2 การทดลอง : การทดลองที่ 1 ความเข้มข้นต่ำที่สุด(Minimum inhibitory concentration :MIC) ของสารสกัดกระเทียม ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ V. parahaemoyticus และ V. harveyi พบว่าทุกระดับความเข้มข้นของสารสกัด กระเทียมสามารถยับยั้งเชื้อ V. parahaemolyticus และ V. harvey: ได้ โดยทุกระดับความเข้มข้นให้ผลของค่าความขุ่น ที่ต่ำกว่าหลอดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.01 ) ที่ระดับความเข้มข้นของสารสกัดกระเทียมที่ 3.13% เป็น ค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดที่ยับยั้งการเจริญของเชื้อ V. parahaemolyticus และ V. harveyi ได้ การทดลองที่ 2 ทดสอบ ความไวของ V. parahaemolyticus และV. Harveyi โดยวิธี Agar well difusion พบว่าสารสกัดกระเทียมที่ระดับความ เข้มข้น 100% มีผลต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของ V. parahaemolyticus ได้ดีที่สุด โดยให้ผลของวงใส (Clear zone) ต่างจากระดับความเข้มข้นอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.01) และผลต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ V. harveyi พบว่าระดับความเข้มข้น 100% และ 50% ให้ผลของวงใสที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P > 0.01) จากการศึกษาครั้งนี้แสดงว่าสารสกัดกระเทียมในทุกระดับความเข้มข้นมีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อ V. parahaemolyticus และ V. harvey ที่ระดับความเข้มข้น 3.13/ เป็นระดับความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดกระเทียมที่ สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคที่เรีย V. parahaemolyticus และ V. harveyi ได้
บทคัดย่อ (EN): The effectofgarlicextractusing95% ethanol as solvent at concentrations on100%, 50%, 25%, 12.5%,6.25% and 3.13% of theinhibit Vibrio parahaemolyticus and Vibrio harveyi. The study was divided into two experiments :In experiment 1, the minimum concentration of garlic extract were inhibited the growth of bacteria (Minimum inhibitory concentration : MIC) showed that all concentration of garlic extract were inhibited V parahaemolyticus and V. harveyi. There was found that the turbidity in all levels substance garlic extract showed significantly lower that control group (P<0.01), and the lowest concentration at 3.13% could inhibited bacterial growth. Experiment 2, tested the sensitivity of V. parahaemolyticus and V. harveyi to using agar well diffusion method showed that the garlic at concentrations of 100% effective to inhibit the growth of V. parahaemolyticus. There was a significant difference (P < 0.01) from other concentrations. Moreover, the effect of garlic extract at concentrations 100% and 50% showed the result of clear zone were not significantly different a statistically (P < 0.01). This study shows the garlic in all concentrations are effective against bacteria V. parahaemolyticus and V. harveyi by a concentration of 3.13% were the lowest concentration of garlic extract in laboratory the growth of bacteria V. parahaemolyticus and V. harveyi.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P047 Fis05.pdf&id=2321&keeptrack=2
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของสารสกัดกระเทียมต่อการยับยั้งเชื้อ Vibrio parahaemolyticusและ Vibrio harveyi
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2559
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดกระเทียมเสริมอาหารในการเลี้ยงปลานิลเพื่อการผลิตอาหารปลอดภัย ผลของอาหารผสมสารสกัดกระเทียมต่อการเหนี่ยวนำให้เป็นเพศผู้ การ เจริญเติบโต และต้นทุนการผลิตของปลานิล เพื่อเป็นอาหารปลอดภัย การใช้อัลตราโซนิกช่วยสกัดสารออกฤทธิ์ชีวภาพจากกระเทียมเพื่อยับยั้งการเจริญของเชื้อ Escherichia Coli ชุดเครื่องมือแกะกลีบกระเทียม ศักยภาพของการใช้กระเทียมในแง่การเสริมอาหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสัตว์ การใช้สารกำจัดวัชพืช Haloxyfop-R-methyl Ester ในไร่กระเทียม ประสิทธิภาพของสาร Propaquizafop ในการกำจัดวัชพืชใบแคบวงศ์หญ้าในกระเทียม ผลของไนโตรเจนและซัลเฟอร์ต่อปริมาณอัลลิซิน ในกระเทียม (Allium sativum L.) ประสิทธิภาพของน้ำมันกระเทียมในการเพิ่มกรทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและความต้านทานโรคในกุ้งขาว ผลของการเสริมเปลือกมังคุดและกระเทียมผงอัดเม็ดต่อการเปลี่ยนแปลง นิเวศวิทยารูเมน และการผลิตก๊าซเมธเทนในโคเนื้อ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก