สืบค้นงานวิจัย
การเพาะและอนุบาลปลาชะโอน
ประหยัด ไชยลึก, จินตนา มหาสวัสดิ์, ประดิษฐ์ เพ็ชรจรูญ, ประหยัด ไชยลึก, จินตนา มหาสวัสดิ์, ประดิษฐ์ เพ็ชรจรูญ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การเพาะและอนุบาลปลาชะโอน
ชื่อเรื่อง (EN): Breeding and Nursing of Butter catfish Ompok bimaculatus (Bloch, 1794)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดลองเพาะและอนุบาลปลาชะโอน One-spot glass catfish, Ompok bimaculatus, Bloch, 1797 ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดปัตตานี ระหว่างเดือนตุลาคม 2558 ถึงเดือนมีนาคม 2559 โดยฉีดกระตุ้นแม่พันธุ์ปลาชะโอนด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ Buserelin acetate (BUS) จำนวน 4 ระดับ คือ 0, 10, 15 และ 20 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ Dopamine antagonist (DOM) จำนวน 3 ระดับ คือ 0, 5 และ 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยใช้วิธีการเพาะพันธุ์แบบกึ่งธรรมชาติ จากการทดลองพบว่า หลังจากฉีดฮอร์โมน 6-8 ชั่วโมง แม่ปลาสามารถตกไข่ได้ แต่แม่ปลาไม่สามารถตกไข่ได้โดย DOM เพียงอย่างเดียว (BUS 0) และชุดการทดลองที่ฉีด BUS+DOM ทุกระดับความเข้มข้นมีอัตราการตกไข่ 100 เปอร์เซ็นต์ ขณะ ที่ BUS เพียงอย่างเดียว และชุดควบคุมไม่สามารถกระตุ้นให้แม่ปลาตกไข่ได้ ซึ่งทุกชุดการทดลองที่ฉีดกระตุ้นด้วย BUS+DOM มีอัตราการตกไข่แตกต่างกับชุดการทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p0.05) ไข่ปลามีลักษณะกลม สีเหลืองใส จมติดกับวัสดุ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.10-1.50 มิลลิเมตร ระยะเวลาฟัก 14-16 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิน้ำ 26.0-28.0 องศาเซลเซียส ผลการศึกษาอัตราการเจริญเติบโตและอัตรารอดตายของลูกปลาอายุ 3 วัน ลูกปลามีความยาวเริ่มต้น 0.70 เซนติเมตร น้ำหนักเริ่มต้น 0.0003 มิลลิกรัม อนุบาลด้วยไรแดง ระยะเวลา 30 วัน พบว่า ลูกปลามีความยาวสุดท้าย 2.99-3.95 เซนติเมตร และน้ำหนักสุดท้าย 0.18-0.32 มิลลิกรัม และอัตรารอดตายอยู่ระหว่าง 40-80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) จากการทดลองครั้งนี้เมื่อพิจารณาอัตราการตกไข่ จำนวนไข่ อัตราการปฏิสนธิ อัตราการฟัก และอัตรารอดตาย สรุปได้ว่าการใช้ BUS ความเข้มข้น 10 ไมโครกรัม ร่วมกับ DOM ความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม เป็นอัตราที่เหมาะสมที่สุด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพาะและอนุบาลปลาชะโอน
กรมประมง
31 มีนาคม 2559
กรมประมง
การศึกษาการเพาะพันธุ์และการอนุบาลปลาค้อลายดวง ความหนาแน่นที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาชะโอนวัยอ่อน อายุที่เหมาะสมของแม่พันธุ์ในการเพาะพันธุ์ปลาชะโอน ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาชะโอนด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดง การเลี้ยงปลาชะโอนในกระชังที่ความหนาแน่นแตกต่างกัน 2 ช่วงอายุ ผลของความหนาแน่นและการใช้ที่หลบซ่อนในการอนุบาลลูกปลาหลด ผลการให้อากาศและความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอดในการอนุบาลลูกปลานิลแปลงเพศ การเพาะและอนุบาลปลามะไฟ การอนุบาลปลาแก้มช้ำในความหนาแน่นต่างกัน การเพาะและอนุบาลปลาจาดน้ำตก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก