สืบค้นงานวิจัย
สมบัติทางเคมี-กายภาพ และฤทธิ์ทางชีวภาพของน้ำมัน รวมทั้งสมบัติของแป้งหลังการสกัดน้ำมันจากเมล็ดเงาะที่เป็นของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรม
วิชมณี ยืนยงพุทธกาล, พิชญอร ไหมสุทธิสกุล, เหมือนหมาย อภินทนาพงศ์ - มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่อง: สมบัติทางเคมี-กายภาพ และฤทธิ์ทางชีวภาพของน้ำมัน รวมทั้งสมบัติของแป้งหลังการสกัดน้ำมันจากเมล็ดเงาะที่เป็นของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรม
ชื่อเรื่อง (EN): Physico-Chemicaland BioactivityProperties of Oil including Properties of Starch after Oil Extraction in Rambutan Seed obtained from Manufacturing Waste
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมบัติทางเคมี-กายภาพ สมบัติการป้องกันแสงแดด สมบัติต้านออกซิเดชัน สมบัติต้านการอักเสบและความเป็นพิษของไขมันจากเมล็ดเงาะ และ 2) ศึกษาสมบัติทางเคมี-กายภาพ สมบัติด้านความหนืด และสมบัติด้านหน้าที่ของแป้งฟลาวร์ที่ได้หลังการสกัดน้ำมันแล้ว สัดส่วนของน้ำหนักของผลเงาะพันธุ์โรงเรียนที่นำมาทำการวิจัยเป็นส่วนเนื้อผลร้อยละ 44.0 เปลือกเงาะร้อยละ 44.0 และเมล็ดของเงาะร้อยละ 12 ของน้ำหนักเงาะสด ปริมาณน้ำมันของเมล็ดเงาะที่ได้จากการสกัดเย็น (28.01%) มีค่าน้อยกว่าปริมาณน้ำมันจากการสกัดด้วย Soxhlet (46.74%) อย่างมีนัยสำคัญ (P0.05) ส่วนแป้งฟลาวร์ที่ผ่านการสกัดเย็นมีค่าดัชนีการละลายน้ำและการรักษาความคงตัวของอิมัลชันสูงกว่าแป้งฟลาวร์ที่ผ่านการสกัดด้วยตัวทำละลาย แต่ความสามารถในการดูดซับน้ำและความสามารถในการเกิดอิมัลชันของแป้งฟลาวร์ที่ผ่านการสกัดเย็นต่ำกว่าแป้งฟลาวร์ที่สกัดด้วยตัวทำละลาย(P?0.05) แป้งฟลาวร์สกัดน้ำมันทั้งสองวิธีมีกำลังการพองตัวไม่แตกต่างกันที่อุณหภูมิ 85-95?C และแป้งฟลาวร์ที่ได้จากการสกัดน้ำมันแบบสกัดเย็นจะมีค่าการละลายที่สูงกว่าแป้งฟลาวร์ที่สกัดโดยการใช้ตัวทำละลายในช่วง 90-95?C (P?0.05)
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this research were 1) to study the physic-chemical properties, sun protection capacity, Antioxidant activity and toxicity of rambutan seed kernel fat and 2) to study the physic-chemical, viscosity, fuctional properties of rambutan seed kernel flour. The proportion of rambutan fruit variety Rongrean in this study was the fruit pulp 44.0%, peel 44.0% and seed 12% (wet weight). The rambutan seed fat yield using cold pressed extraction (28.01%) was less than that extracted by Soxhlet (46.74%) significantly (P 0.05). Water solubility index and emulsion stability were higher in defatted flour from solvent extraction method, while water absorption capacity and emulsion capacity were lower (P?0.05). The defatted flour from both methods had no significant difference in swelling power during heating at 85-95?C but solubility was found to be higher in defatted flour from cold pressed method at 90-95?C (P?0.05).
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สมบัติทางเคมี-กายภาพ และฤทธิ์ทางชีวภาพของน้ำมัน รวมทั้งสมบัติของแป้งหลังการสกัดน้ำมันจากเมล็ดเงาะที่เป็นของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยบูรพา
30 กันยายน 2558
การวิจัยคุณลักษณะจาเพาะต่อการแปรรูปของข้าว 84 พันธุ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ- การใช้เทคนิคโปรตีโอมิกส์ศึกษาวิถีการผลิตโปรตีนหลักในเมล็ดข้าวและการเตรียมเปปไทด์ออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเมล็ดและรำข้าว อุตสาหกรรมอาหารไทย ปลอดภัยเชื่อถือได้ ทดสอบและขยายผลเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตเงาะคุณภาพ การวิจัยเชิงนโยบายเพื่อการประหยัดพลังงานและคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับประเทศไทยและภาคอุตสาหกรรม โครงการศึกษาสถานภาพการใช้เทคโนโลยีแก็สซิฟิเคชันสำหรับ ผลิตความร้อนและไฟฟ้าในระดับอุตสาหกรรม ชุมชน หรือ วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดเล็กของประเทศไทย การออกแบบและพัฒนาเครื่องคว้านเม็ดเงาะ การออกแบบและพัฒนาเครื่องคว้านเม็ดเงาะ คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของแป้งจากเนื้อในเมล็ดมะม่วงที่ผ่านการสกัดน้ำมันและการนำไปใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์อาหาร การสกัดน้ำมันจากเมล็ดชะมดต้น (Hibiscus abelmoschus Linn.) ศึกษาคุณสมบัติทางเคมีกายภาพและฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันที่สกัดได้จากเมล็ดยางพาราด้วยวิธีการสกัดที่แตกต่างกัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก