สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนากระบวนการผลิตปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในเชิงธุรกิจ
ศ.ดร.นันทกร บุญเกิด - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ชื่อเรื่อง: การพัฒนากระบวนการผลิตปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในเชิงธุรกิจ
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Commercial Biofertilizer and Bioorganic Fertilizer Production
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศ.ดร.นันทกร บุญเกิด
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การพัฒนากระบวนการผลิตปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในเชิงธุรกิจ” แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตหัวเชื้อปุ๋ยชีวภาพเพื่อใช้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ (Bioorganic fertilizer, BOF) ที่มีคุณภาพสูง สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือผลิตใช้เองระดับชุมชน เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการผลิตพืชเกษตรอินทรีย์      นักวิจัยได้ใช้กลุ่มจุลินทรีย์ที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชเรียกว่า “Plant Growth Promoting Rhizobacteria” (PGPR)  ซึ่งได้คัดเลือกแบคทีเรีย Azotobacter  sp. และ Azospirillum  sp. ที่มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนสูง และเชื้อราไตรโคเดอร์มา ยับยั้งเชื้อก่อโรคที่ระบบรากพืช มาใช้ในการทดลอง มีการออกแบบและพัฒนาระบบต่างๆ ภายในโรงปุ๋ยให้ทำงานแบบอัตโนมัติ และได้มาตรฐาน เช่น การพัฒนาระบบการกลับกองปุ๋ยโดยใช้ “ชุดใบพลิกกลับกองปุ๋ย” ระบบเครน ระบบการให้อากาศใต้กองปุ๋ย และระบบการให้น้ำเพื่อรักษาความชื้นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในระหว่างกระบวนการผลิต ขณะเดียวกันมีระบบซึ่งก่อให้เกิดความร้อนที่จะทำลายจุลินทรีย์ ก่อโรคและเมล็ดวัชพืชได้ด้วย ทำให้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพดังกล่าวมีคุณสมบัติบำรุงดิน โดยช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารให้กับพืช รวมถึงปรับสภาพสมดุลของธาตุอาหารในดิน ให้ดินมีความร่วนซุยจับตัวกันอย่างพอเหมาะต่อการเก็บ การระบายน้ำ และอากาศถ่ายเทได้ดี ช่วยลดกิจกรรมและปริมาณของเชื้อราสาเหตุของโรคพืชบางชนิดในดิน เพิ่มความต้านทานโรคของพืช สามารถให้ปุ๋ยไนโตรเจนและออกซิเจนกับพืชได้ ใช้ได้กับพืชปลูกทุกชนิด ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีด้วย โรงผลิตปุ๋ยดังกล่าวประสบความสำเร็จในการวิจัย สามารถผลิตปุ๋ยได้มากกว่า 1,200 ตันต่อปี และลดระยะเวลาการหมักได้มากกว่ากระบวนการผลิตทั่วไป 3-4 เท่า            ประโยชน์ที่ได้รับของโครงการนี้คือ กระบวนการผลิตที่ง่ายและมีประสิทธิภาพ สามารถย่นระยะเวลาในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้เร็วกว่าการใช้แรงงาน 2-3 เท่า พัฒนาเทคโนโลยีของระบบพ่นน้ำที่รักษาความชื้นในอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการผลิต ใช้ระบบการกลับกองแบบใช้สกรู และการใช้เทคโนโลยีระบบการให้ออกซิเจน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของจุลินทรีย์ 
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-11-11
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-11-11
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2549
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
ข้อมูลทรัพยสินทางปัญญา
ประเภทIP ความลับทางการค้า
รายชื่อสิ่งประดิษฐ์ สูตรอาหารเก็บรักษาเชื้อจุลินทรีย์
เลขที่คำขอ ลค.5520
วันที่ยื่นคำขอ 2009-09-14 12:00:00
เลขที่ประกาศ
วันที่จดทะเบียน 2009-12-01 12:00:00
เลขที่จดทะเบียน อก.5273
วันที่ประกาศ
สถานะปัจจุบัน เชิงพาณิชย์
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนากระบวนการผลิตปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในเชิงธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
11 พฤศจิกายน 2551
การพัฒนากระบวนการผลิตปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในเชิงธุรกิจ ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ การศึกษาวัสดุที่เหมาะสมสำหรับทำน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 เพื่อลดเวลาการย่อยสลายฟางข้าวและเพิ่มผลผลิตข้าวในชุดดินหางดง จังหวัดเชียงใหม่ การปรับปรุงกระบวนการผลิตปุ๋ยชีวภาพโรงงานขนาดเล็กในจังหวัดพัทลุง โปรแกรมฐานข้อมูลแนะนำการใช้ปุ๋ย dbFRec for DOS การพัฒนาปุ๋ยชีวภาพจากผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่น เพื่อสนองแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ปุ๋ยชีวภาพ พีจีพีอาร์-ทู ผลของปุ๋ยชีวภาพร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็ม การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มผลผลิตสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ ด้วยการใช้น้ำหมักชีวภาพจากวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตรและการประมง สำหรับทดแทนปุ๋ยเคมี : รายงานผลการวิจัย ทุนอุดหนุนงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2559

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก