สืบค้นงานวิจัย
การติดตาม วิเคราะห์และเพิ่มประสิทธิภาพการสนับสนุนงานวิจัยยางพารา ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ และการทบทวนเพื่อเตรียมการจัดทำยุทธศาสตร์วิจัยยางพาราแห่งชาติฉบับใหม่ (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔)
พายับ นามประเสริฐ - สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ชื่อเรื่อง: การติดตาม วิเคราะห์และเพิ่มประสิทธิภาพการสนับสนุนงานวิจัยยางพารา ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ และการทบทวนเพื่อเตรียมการจัดทำยุทธศาสตร์วิจัยยางพาราแห่งชาติฉบับใหม่ (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔)
ชื่อเรื่อง (EN): Monitoring, Analysis and Optimization of Pararubber Research Year 2015 and Strategic Review for Preparation of the Next Pararubber Research Strategy
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พายับ นามประเสริฐ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การติดตามและประมวลผลการวิจัยยางพาราที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สกว. ในปี 2558 จำนวน 21 โครงการ งบประมาณวิจัย 30,357,918 บาท สังเคราะห์ผลงานวิจัยถึงแนวโน้มการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงพาณิชย์ มีโครงการที่มีศักยภาพแนวโน้มของการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ จำนวน 14 โครงการ งบประมาณ 21,924,210 บาท คิดเป็นสัดส่วนงบประมาณร้อยละ72.22 หรือคิดเป็นสัดส่วนจำนวนโครงการร้อยละ 66.67 ภาพรวมของการสนับสนุนทุนวิจัยยางพาราปี 2555 – 2558 จำนวน 149 โครงการ งบประมาณ 188.338 ล้านบาท มีทิศทางการสนับสนุนทุนวิจัยลดลงทั้งจำนวนโครงการและจำนวนงบประมาณทุกปี เมื่อเทียบกับ ยุทธศาสตร์วิจัยยางพาราแห่งชาติ (พ.ศ. 2555 - 2559) พบว่ายุทธศาสตร์การพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมและผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่มีศักยภาพ ได้รับทุนวิจัยมากที่สุดถึงร้อยละ 44.5 ยุทธศาสตร์การผลักดันนโยบายที่จำเป็น ได้รับทุนวิจัยในสัดส่วน ปานกลาง ที่ร้อยละ 28.4 ส่วนยุทธศาสตร์การสนับสนุนการส่งออก และยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้มี ประสิทธิภาพ ได้รับทุนวิจัยในสัดส่วนค่อนข้างน้อย อยู่ที่ร้อยละ 12.6 และ 14.5 ตามลำดับ และไม่มีโครงการวิจัยใน กลยุทธ์การดำเนินงานของอุตสาหกรรมเส้นด้ายยางยืด และถุงยางอนามัย ในยุทธศาสตร์การพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมและ ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีศักยภาพ ส่วนการส่งเสริม สนับสนุนงานวิจัยนั้นได้ติดตามการดำเนินงานโครงการที่น่าสนใจ (flagship project) ณ สถานีวิจัย จำนวน 4 โครงการ จัดการฝึกอบรม การพัฒนานักวิจัยด้านยางพาราเพื่องานวิจัยมุ่งเป้า 2558 จัดการ ประชุมหารือพัฒนาโจทย์วิจัยการสร้างผลิตภัณฑ์ยางพาราระดับวิสาหกิจชุมชน และร่วมกับ วช. จัดสัมมนาวิชาการ ยางพาราไทยกับงานวิจัยมุ่งเป้า 2558 อีกทั้งได้จัดกิจกรรมสนับสนุนการนำผลงานวิจัยยางพารา ปี 2557 ไปพัฒนา ต่อยอดการใช้ประโยชน์เป็นจำนวน 2 ครั้ง และศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยทางยุทธศาสตร์ กำหนดทิศทางและประเด็นสำคัญที่มุ่งเน้น การสำรวจความคิดเห็น และประชุมระดมความคิดเห็น เพื่อจัดทำ (ร่าง) ยุทธศาสตร์วิจัยยางพารา แห่งชาติฉบับใหม่ (พ.ศ.2560 -2564) สำหรับนำไปต่อยอดจัดทำเป็นยุทธศาสตร์วิจัยยางพาราแห่งชาติฉบับที่สมบูรณ์ ต่อไป
บทคัดย่อ (EN): The research of 21 projects on rubber research funded by the Thailand Research Fund in 2015, budget 30.358 million baht. Synthesis of research results to commercialization trends, 14 out of 21 projects (66.7%), overall budget 21.024 million baht (72.2%), had potential for commercial use. From 2012 to 2015, the Thailand Research Fund granted 188.388 million baht for 149 researches on rubber. It is worth noting that each consecutive year the amount of rubber research and budget had growing less and less. Regarding the 2012-2016 National Rubber Research Strategy that consisted of four main areas, the Developing New and Old Products Strategy received 44.5% of grant, followed by the Rubber Policy Enhancement Strategy (28.4%), the Developing Technology for Efficient Production (14.5%) and the Strategy on Export Supporting (12.6%). Interestingly, even the Developing New and Old Products Strategy received the highest amount of grant, none of research in Rubber Threads Products and Condom sub-strategies were done. To help the researchers achieve their projects’ goals, we not only just monitored the projects closely but organized an intense training session, held community enterprise meeting to review data and discuss research ideas as well as, in cooperation with the National Research Council of Thailand, conducted a seminar on the Targeted Research of Rubber Project year 2015. We also established two conferences to promote the application of the research results in 2014 for commercial use. Most importantly, we thoroughly evaluated and analyzed possible research factor and confounder, identified directions, key issues, and brainstormed with experts and stakeholders in this field for further development of the National Rubber Research Strategy (2017-2021).
ชื่อแหล่งทุน: T2558003 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2558 : ยางพารา
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2558
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยเชิงทดลอง
เผยแพร่โดย: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การติดตาม วิเคราะห์และเพิ่มประสิทธิภาพการสนับสนุนงานวิจัยยางพารา ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ และการทบทวนเพื่อเตรียมการจัดทำยุทธศาสตร์วิจัยยางพาราแห่งชาติฉบับใหม่ (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
2559
กลุ่มวิจัยยางพารา การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การเก็บรักษาคัพภะยางพาราในสภาพอุณหภูมิต่ำในหลอดทดลอง การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การวิจัยและพัฒนาไม้ยางพารา การพัฒนานักวิจัยเพื่อผลิตงานวิจัยยางพาราที่มีประสิทธิภาพ การวิจัยเครื่องถอนต้นกล้ายางพารา การพัฒนาประสิทธิภาพการเพาะปลูกยางพารา ยางพารากับท้องถิ่น โครงการวิจัยสร้างเครื่องต้นแบบอัดขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก