สืบค้นงานวิจัย
ผลของการใช้ฟักทองหมักร่วมกับรำข้าวในอาหารต่อประสิทธิภาพการผลิต และคุณภาพเนื้อของไก่พื้นเมือง
ชัยวัฒน์ สิงห์ชัย - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้ฟักทองหมักร่วมกับรำข้าวในอาหารต่อประสิทธิภาพการผลิต และคุณภาพเนื้อของไก่พื้นเมือง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชัยวัฒน์ สิงห์ชัย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาถึงผลของการใช้ฟักทองหมักร่วมกับรำข้าวในอาหารต่อประสิทธิภาพการผลิต และคุณภาพเนื้อไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ กระบวนการหมักฟักทองทำได้โดยการผสมฟักทองกับน้ำในอัตราส่วน 2:1 ร่วมกับกากน้ำตาล 1.0% (w/v) และหัวเชื้อจุลินทรีย์ในอัตราส่วน 0.1% (w/v)                ซึ่งประกอบด้วยจุลินทรีย์ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ผลิตเอนไซม์เซลลูเลส ได้แก่ Trichoderma spp. กลุ่มที่ผลิตเอนไซม์      อะไมเลส ได้แก่ Rhizopus oryzae Mucor spp. และยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ทำการหมักไว้ในภาชนะปิดสนิทเป็นระยะเวลา 7 วัน ผลการทดลองพบว่าฟักทองที่ผ่านการหมักมีคุณค่าทางโภชนะ คือ โปรตีน 18.05% ไขมัน 7.23% เยื่อใย 18.92% และวัตถุแห้ง 6.19% จากการใช้ฟักทองหมักผสมรำหยาบทดแทนอาหารข้นสำเร็จรูปโปรตีน 19% ในอัตราส่วน 10, 20 และ 30% ในการเลี้ยงไก่จำนวน 30 ตัวต่อกลุ่ม อายุเริ่มต้น 14 วัน น้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้น 112 กรัมต่อตัว เป็นระยะเวลา 4-12 สัปดาห์ พบว่าการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพการผลิตของไก่ประดู่หางดำ เช่น การเจริญเติบโตเฉลี่ย ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว ในทุกกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ในขณะที่ค่าอาหารในการเลี้ยงไก่เมื่อมีการเสริมฟักทองหมักในอาหารข้น 10, 20 และ 30% มีต้นทุนค่าอาหารลดลงเท่ากับ 25.19, 38.20 และ 49.05% ตามลำดับ คุณภาพซากเนื้ออกไก่พบว่า ปริมาณของกรดอะมิโนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่กรดไขมันพบว่ามีการสะสมกรดโอเลอิก (C18:1) กรดสเตียริค (C18:0) และกรดอะราคิโดนิก (C20:4) เพิ่มขึ้นในเนื้อไก่เมื่อได้รับอาหารข้นที่มีการเสริมฟักทองหมัก
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: สาขาวิชาเทคโลยีชีวภาพ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา พะเยา
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2562
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://www.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/210912
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการใช้ฟักทองหมักร่วมกับรำข้าวในอาหารต่อประสิทธิภาพการผลิต และคุณภาพเนื้อของไก่พื้นเมือง
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2562
เอกสารแนบ 1
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ผลของสถานที่ การศึกษา สายพันธุ์ และวัตถุประสงค์การผลิตในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองต่อรายได้ของเกษตรกรในวังทอง เมือง บางระกำ และอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก วิถีชีวิตแบบสโลว์ฟูดส์… เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี การศึกษาคุณภาพเนื้อไก่ลูกผสมพื้นเมือง (ชี) การปรับวิธีการเลี้ยงของเกษตรกรเพื่อยกระดับการผลิตไก่พื้นเมือง การใช้ประโยชน์ของข้าวไม่ขัดสีต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต และคุณภาพเนื้อของไก่เนื้อ ผลของชนิดและระดับของกรดไขมันในอาหาร ต่อจุลินทรีย์ในรูเมนความสามารถในการย่อยได้ของโภชนะ การผลิตแก๊สมีเทน ประสิทธิภาพการให้ผลผลิต และคุณภาพเนื้อของแพะ การเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหาร และคุณภาพเนื้อ ของปลาดุกลูกผสมที่ได้รับอาหารผสมฟักทอง การศึกษาการผสมพันธุ์ไก่พื้นเมืองและใช้ตู้ฟักไข่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไก่พื้นเมือง ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับการใช้ชุดตรวจสอบดินภาคสนามต่อผลผลิตข้าวในชุดดินสายบุรี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก