สืบค้นงานวิจัย
ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาทรายแดงชนิด Nemipterus hexodon และ N. peronii ในอ่าวไทย
นิภา กุลานุจารี, อุดมสิน อักษรผอบ, นายปรเมศร์ อรุณ, วิรัตน สนิทมัจโร - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาทรายแดงชนิด Nemipterus hexodon และ N. peronii ในอ่าวไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Stock Assessment of Threafim Breams, Nemipterus hexodon and N. peronii in the Gulf of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ปลาทรายแดงชนิด Nemipterus hexodon และ Nemipterus peronii แพร่กระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณอ่าวไทยและพบได้ที่ระดับความลึก 10-60 เมตร ซึ่งถือเป็นสัตว์น้ำหลักของปลาหน้าดินที่พบได้จากเครื่องมืออวนลากในบริเวณอ่าวไทย โดยเครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็ก อวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดกลาง และอวนลากคู่มีอัตรการจับ N.hexodon เท่ากับ 0.35, 1.12 และ1.63 กก/ชม. ตามลำดับ และมีขนาดความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 14.22, 15.82 และ 17.80 ซม.ตามลำดับส่วน N.peronii มีอัตราการจับอยู่ที่ 0.08, 0.22 และ 1.63 กก./ชม.ตามลำดับ และมีขนาดความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 15.39, 18.80 และ 18.86 ซม.ตามลำดับ และพบว่าความยาวเฉลี่ยของ N.hexodon และ N.peronii ที่จับได้จากเครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็ก อวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดกลางและเครื่องมืออวนลากคู่ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ส่วนเครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดกลางกับเครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็กไม่มีความแตกต่างกัน องค์ประกอบของปลาทรายแดงที่จับได้จากเครื่องมืออวนลากพบมากกว่าร้อยละ 50 เป็นชนิด N.hexodon และ N.peronii เมื่อพิจารณาอัตราการจับจากเขตทำการประมงของ พบว่า N.hexodon ในเขตทำการประมงที่ 1 มีอัตราการจับเท่ากับ 1.09 กก/ชม.ในเขตทำการประมงที่ 2 มีอัตราการจับเท่ากับ 0.85 กก/ชม ในเขตทำการประมงที่ 3 มีอัตราการจับเท่ากับ 1.55 กก/ชม.ในเขตทำการประมงที่ 4 และ 5 มีอัตราการจับอยู่ที่ 1.14 และ 2.60 กก./ชม.ตามลำดับ ขนาดความยาวเฉลี่ยของ N.hexodon ในเขตทำการประมงที่ 1 เท่ากับ 16.67 ซม.ในทำการประมงเขตที่ 2 มีความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 17.31 ซม. ในเขตทำการประมงที่ 3 มีความยาวเฉลี่ย 17.35 ซม. และมีความยาวเฉลี่ยในเขตทำการประมงที่ 4 และ 5 เท่ากับ 15.69 และ 15.65 ซม.ตามลำดับ และพบว่าความยาวเฉลี่ยที่จับได้ในเขตทำการประมงที่ 3 กับ 4 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ส่วนความยาวของสัตว์น้ำที่จับได้จากแหล่งทำการประมงในเขตอื่นไม่แตกต่างกัน N.peronii มีอัตราการจับในเขตทำการประมงที่ 1 เท่ากับ 1.96 กก./ชม.ในเขตทำการประมงที่ 2 มีอัตราการจับเท่ากับ 1.39 กก./ชม. ในเขตทำการประมงที่ 3 มีอัตราการจับเท่ากับ 0.63 กก./ชม.และในเขตทำการประมงที่ 4 และ 5 มีอัตราการจับ 0.54 และ 0.09 กก./ชม.ตามลำดับ ความยาวเฉลี่ยของ N.peronii ในเขตทำการประมงที่ 1 เท่ากับ 17.13 ซม. เขตทำการประมงที่ 2 เท่ากับ 16.47 ซม. ในเขตทำการประมงที่ 3 เท่ากับ 18.27 ซม. ในเขตทำการประมงที่ 4 เท่ากับ 18.79 ซม.และ ในเขตทำการประมงที่ 5 เท่ากับ 25.16 ซม. และพบว่าขนาดความยาวที่จับได้ในเขตทำการประมงที่ 1 กับ 5 และเขตทำการประมงที่ 2 กับ 5 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ส่วนขนาดความยาวที่จับได้จากเขตทำการประมงอื่นๆ ไม่มีความแตกต่างกัน สัดส่วนองค์ประกอบชนิด N.hexodon และ N.peronii ในเขตทำการประมงที่ 1 เท่ากับ ร้อยละ 37.17 และ 36.78 ตามลำดับ ในเขตทำการประมงที่ 2 มีองค์ประกอบชนิด N.hexodon และ N.peronii ร้อยละ 19.52 และ38.55 ตามลำดับ ในเขตทำการประมงที่ 3 มีองค์ประกอบ N.hexodon และ N.peronii ร้อยละ 37.99 และ 20.71 ตามลำดับในเขตประมงที่ 4 มีองค์ประกอบ N.hexodon และ N.peronii ร้อยละ 29.21 และ 14.96 ตามลำดับและในเขตทำการประมงที่ 5 มีองค์ประกอบ N.hexodon และ N.peronii ร้อยละ 25.89 และ0.69 ตามลำดับ และหากพิจารณาร่วมกันระหว่างเครื่องมือทำการประมงและเขตทำการประมงพบว่า ขนาดความยาวสัตว์น้ำที่จับได้จากเครื่องมืออวนลากมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลจากการประเมินสภาวะทรัพยากรปลาทรายแดงพบว่า N.hexodon มีค่าสัมประสิทธิ์การเติบโต (K) ของ เท่ากับ 1.59 ต่อปี ส่วน N.peronii มีค่าเท่ากับ 1.46 ต่อปี ค่าความยาวสูงสุด (L?) ของ N.hexodon เท่ากับ 30.65 ซมและ N.peronii มีค่าเท่ากับ 28.95 ซม. ค่าความยาวแรกจับ (Lc) ของ N.hexodon เท่ากับ 3.0 ซม. ของ N.peronii มีค่าเท่ากับ 3.5 ซม. ค่าความยาวเฉลี่ย (Lt) ของ N.hexodon มีค่าเท่ากับ 11.652 ซม. และ N.peronii เท่ากับ 12.91 ซม. ค่าพารามิเตอร์การตายซึ่งประกอบด้วยค่าสัมประสิทธิ์การตายรวม (Z) สำหรับปลาทรายแดงชนิด N.hexodon เท่ากับ 4.237 ต่อปีและ N.peronii เท่ากับ 3.162 ต่อปี ค่าสัมประสิทธิ์การตายโดยธรรมชาติ (M) ในชนิดของ N.hexodon เท่ากับ 2.46 ต่อปี และ N.peronii มีค่าเท่ากับ 2.36 ต่อปี ค่าสัมประสิทธิ์การตายเนื่องจากการทำการประมง (F) ของปลาทรายแดงชนิด N.hexodon และ N.peronii มีค่าเท่ากับ 1.776 และ 0.802 ต่อปี ตามลำดับ สัดส่วนของการใช้ประโยชน์ (E) พบว่า N.hexodon และ N.peronii มีค่าเท่ากับ 0.419 และ 0.253 ตามลำดับและสถานะของทรัพยากรปลาทรายแดงชนิด N.hexodon อยู่ในระดับที่ถึงศักย์การผลิต ส่วน N.peronii ยังไม่ถึงระดับศักย์การผลิต
บทคัดย่อ (EN): Nemipterus hexodon and Nemipterus peronii were distributed in the Gulf of Thailand to be found at the range of depth 10-60 meters.Those were the most important of demersal fish that taken from the trawling net.The average catch of N.hexodon was 0.35 kg/hr of the small trawling net, 1.12 of the middle trawling net and 1.63 of pair trawling net.The average length of N.hexodon was 14.22 of the small trawling net, 15.82 of the middle trawling net and17.80 of the pair trawling net.By the name , N.peronii has the average catch was 0.08 kg/hr of the small trawling net, 0.22 kg/hr of the middle trawling net and 1.63 kg/hr of the pair trawlingnet and has the average length equal 15.39 of the small trawling net, 18.80 of the middle trawling net and 18.86 of the pair trawling net.The average length of N.hexodon and N.peronii that taken from the small trawling net, middle trawling net and pair trawling net were significantly different while those of small and middle trawling were not different. More than 50 percent of species composition were N.hexodon and N.peronii.The average catch of N.hexodon in the fishing ground AREA I was 1.09 kg/hr, 0.85 kg/hr in the AREA II ,1.55 kg/hr in the AREA III, follow by 1.14 , 2.60 kg/hr in AREA IV and AREA V.The average length of N.hexodon in AREA I was 16.67 centimeters, 17.31 centimeter in AREA II, 17.35 centimeters in AREA III ,15.69 centimeter in AREA IV and 15.65 centimeter in AREA V. The average length of N.hexodon that taken from fishing ground AREAIII and IV were significantly different while the other were not different.The average catch of N.peronii in fishing ground AREA I was 1.96 kg/hr,1.39 kg/hr in the AREA II, 0.63 kg/hr in the AREA III, 0.54 kg/hr in the AREA IV and 0.09 kg/hr in the AREA V.The average length of N.peronii in the fishihg ground AREA I was 17.13 centemiters,in the AREA II was 16.47 centrimeter,AREA III was 18.27 centremeter, AREA IV was 18.79 centimeter and AREA V was 25.16 centimeter .The average length of N.peronii that taken from fishing ground AREA I AREA II and and AREA V were significantly differently wihile the other were not different.The species composition (by weight) of N.hexodon and N.peronii in fishing ground AREA I were 37.17 and 36.78 percent, 19.52 and 38.55 percent in the AREA II, 37.99 and 20.71 percent in AREA III, 29.21 and 14.96 percent in AREA IV,25.89 and 0.69 percent in AREA V.The average length that taken from the trawling net wer significantly relationship while average length that taken from fishing ground were not relation. Total length measurement of individual both of N.hexodon and N.peronii landed and commercialized at the port around the gulf of Thailand, from January-December 2007 were used to estimate growth and mortality parameters for these species. The average estimate population parameters were:asymptotic length (L?)= 30.65 centimeter of N.hexodon and 28.95 centimeter of N.peronii, the curvature parameter (K)= 1.59 year-1 of N.hexodon and 1.46 year-1,the length of first capture (Lc)= 3.0 centimeter of N.hexodon and 3.5 centimeter of N.peronii ,the yearly average length (Lt)= 11.652 centimeter of N.hexodon and 12.91 centimeter of N.peronii, the total mortality coefficient (Z)= 4.237 year-1 of N.hexodon and 3.162 year-1 of N.peronii , the natural mortality coefficient (M)= 2.46 year-1 of N.hexodon and 2.36 year-1 of N.peronii ,the fishing mortality coefficient (F)= 1.776 year-1 of N.hexodon and 0.802 year-1 of N.peronii, the exploitation rate (E)= 0.419 of N.hexodon and 0.253 of N.peronii .Yield per recruit analysis suggests that the stock of N.hexodon is overexploited while N.peronii is not yet overexploited
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาทรายแดงชนิด Nemipterus hexodon และ N. peronii ในอ่าวไทย
กรมประมง
30 กันยายน 2551
กรมประมง
การประเมินสภาวะทรัพยากรปลากะตักในอ่าวไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรหมึกกล้วยชนิด Photololigo chinensis และ P. duvaucelii ในอ่าวไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาทรายแดง ชนิด Nemipterus delagoae(Valenciennes, 1830) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย สภาวะทรัพยากรและการประมงปลาโอในอ่าวไทย ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาหลังเขียวชนิด Sardinella gibbosa (Bleeker, 1849) ในอ่าวไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรกุ้งแชบ๊วยบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง สภาวะแวดล้อมเขตชายฝั่งในอ่าวไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาแป้นกระดาน (Photopectoralis bindus (Valenciennes,1835) ในอ่าวไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาแป้นกระดาน (Photopectoralis bindus (Valenciennes,1835) ในอ่าวไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาหลังเขียว(Sardinella gibbosa(Bleeker, 1849)) ในอ่าวไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก