สืบค้นงานวิจัย
ผลกระทบจากการระบายน้ำทำเทือกนาหว่านน้ำตมที่มีผลต่อคลองชลประทาน และการอนุรักษ์ดินและน้ำ (ปีที่ 2)
อุดมเกียรติ เกิดสม - กรมชลประทาน
ชื่อเรื่อง: ผลกระทบจากการระบายน้ำทำเทือกนาหว่านน้ำตมที่มีผลต่อคลองชลประทาน และการอนุรักษ์ดินและน้ำ (ปีที่ 2)
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of drainage water from paddy field to irrigation canal, soil and water conservation (2nd year)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อุดมเกียรติ เกิดสม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Udomkiat Kerdsom
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ผลกระทบจากการระบายน้ำทำเทือกนาหว่านน้ำตมที่มีผลต่อคลองชลประทาน และการอนุรักษ์ดินและน้ำ ดำเนินการ ณ สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 8 (นครศรีธรรมราช) จังหวัดนครศรีธรรมราช ปริมาณน้ำชลประทานที่ ใช้ทำเทือกสุทธิ 188 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำระบาย 87 มิลลิเมตร วางแผนทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) 4 ซ้ำ 4 วิธีการทดลอง ประกอบด้วย วิธีการระบายน้ำหลังจากทำเทือกทันที ระบายน้ำหลังจากทำเทือก 1, 2 และ 3 วัน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบจากการระบายน้ำทำเทือกนาหว่านน้ำตมที่มีผลต่อการตื้นเขินของ คลองชลประทาน ผลต่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ และศึกษาหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการระบายน้ำหลังทำเทือกนาหว่านน้ำ ตม จากผลการทดลอง พบว่า วิธีการระบายน้ำหลังจากทำเทือกทันที มีน้ำหนักแห้งตะกอนแขวนลอยสูงสุดเท่ากับ 639.26 กิโลกรัมต่อไร่ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับวิธีการระบายน้ำหลังทำเทือก 1, 2 และ 3 วัน มีน้ำหนักแห้งตะกอนแขวนลอย น้อยมากเพียง 3.05, 2.88 และ 3.24 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ตะกอนแขวนลอยที่ปะปนมากับน้ำระบายหลังทำเทือกจะ เกิดการทับถมกัน และส่งผลกระทบต่อการตื้นเขินของคลองชลประทาน นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ทั้งใน ด้านการสูญเสียหน้าดินในรูปตะถอนแขวนลอยที่ระบายไปกับน้ำทำเทือก และคุณภาพน้ำทิ้งในทางน้ำชลประทาน จากผล การทดลองสรุปได้ว่า กรระบายน้ำหลังทำเทือก 1 วันเป็นวิธีการระบายน้ำทำเทือกนาหว่านน้ำตมที่เหมาะสม และเป็นวิธีการที่ เกษตรกรปฏิบัติได้
บทคัดย่อ (EN): The experiment was conducted at Irrigation Water Management Experiment Station 8 (Nakhon Si Thammarat), Nakhon Si Thammarat province. Total water used of plot preparing was 188 mm. and drainage was 87 mm. The experiment design was Randomized Complete Block Design with 4 replications 4 treatment on immediately drainage after plot preparing, drainage after plot preparing at 1, 2 and 3 day. The aims of this research were to evaluate optimum time of drainage water from paddy field after plot preparing and effect of drainage water from paddy field to soil and water conservation. The results showed that the immediately drainage after plot preparing gave the highest dry weight of sediment, having 639.26 kg/rai which was significantly (p<0.01) higher than that drainage after plot preparing at 1, 2 and 3 day (3.05, 2.88 and 3.24 kg/rai respectively). Moreover the immediately drainage after plot preparing having impact of shoal to irrigation canal, sediment loss, soil erosion, soil fertility losses and impact to quality of irrigation water. We concluded that in drainage after plot preparing at 1 day had optimum time to drainage water from paddy field and farmers can be implemented the practice.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมชลประทาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลกระทบจากการระบายน้ำทำเทือกนาหว่านน้ำตมที่มีผลต่อคลองชลประทาน และการอนุรักษ์ดินและน้ำ (ปีที่ 2)
กรมชลประทาน
2558-
เอกสารแนบ 1
กรมชลประทาน
ผลกระทบจากการระบายน้ำทำเทือกนาหว่านน้ำตมที่มีผลต่อคลองชลประทานและการอนุรักษ์ดินและน้ำ ปีที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างดิน น้ำ และพืช ผลกระทบจากการระบายน้ำทำเทือกนาหว่านน้ำตมที่มีผลต่อคลองชลประทานและการอนุรักษ์ดินและน้ำ ปีที่ 1 การศึกษาการสูญเสียน้ำเนื่องจากการรั่วซึมในแบบจำลองคลองชลประทานที่มีส่วนผสมของน้ำยางพารา ความถี่ อัตราและช่วงระยะเวลาการให้น้ำสำหรับอ้อยในเขตชลประทานภาคกลาง การควบคุมแมลงศัตรูข้าวในนาหว่านน้ำตม การลดความขุ่นของน้ำที่เกิดจากตะกอนดินกระจายตัวในแหล่งน้ำแบบยั่งยืน : กรณีศึกษาในแหล่งน้ำชลประทาน จังหวัดสระแก้ว การศึกษาประสิทธิภาพการระบายน้ำของคลองท่าตะเภาภายหลังการก่อสร้างประตูระบายน้ำท่าตะเภา จังหวัดชุมพร การจัดทำถังบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้ออกซิเจนสำหรับชุมชนริมคลองชลประทาน ผลกระทบของปุ๋ยหมักต่อสมบัติทางกายภาพบางประการของดิน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก