สืบค้นงานวิจัย
ผลของการเสริมเปลือกกล้วยหมักร่วมกับยีสต์ในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ของเป็ดไข่
ทศพร อินเจริญ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของการเสริมเปลือกกล้วยหมักร่วมกับยีสต์ในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ของเป็ดไข่
ชื่อเรื่อง (EN): Influence of dietary fermented banana peel with yeast on egg performance and quality of laying ducks
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทศพร อินเจริญ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Tossaporn Incharoen
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของการเสริมเปลือกกล้วยหมักร่วมกับยีสต์ในอาหารเป็ดไข่ ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ จากผลการวิเคราะห์คุณค่าโภชนะของเปลือกกล้วยหมักร่วมกับยีสต์ ซึ่งเมื่อเทียบกับเปลือกกล้วยที่ไม่ผ่านการหมัก พบว่าระดับโปรตีนรวมเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ งานทดลองนี้ใช้เป็ดไข่ เพศเมีย สายพันธุ์ซีพีซุปเปอร์ อายุ 28 สัปดาห์ จำนวน 50 ตัว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ซ้ำ ซ้ำละ 5 ตัว ประกอบด้วย 1) กลุ่มควบคุม (T1) เป็ดได้รับอาหารพื้นฐาน (CP, 16%; ME, 2,850 kcal/kg) และกลุ่มทดลอง (T2) เป็ดได้รับอาหาร พื้นฐาน + เปลือกกล้วยหมักร่วมกับยีสต์ ที่ระดับ 10 เปอร์เซ็นต์ จากผลการทดลองพบว่า สมรรถภาพการผลิตไข่ และ คุณภาพไข่ มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ยกเว้นค่าสีของไข่แดงลดลง และสัดส่วนของเปลือก ไข่เพิ่มขึ้น (P<0.05) ในกลุ่ม T2 จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า สามารถใช้เปลือกกล้วยหมักร่วมกับยีสต์ในอาหารของ เป็ดไข่ได้ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่มีผลกระทบในเชิงลบต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่
บทคัดย่อ (EN): The objective of this research was to investigate the influence of dietary fermented banana peel with yeast (FBY) on egg performance and quality of laying ducks. FBY was prepared and analyzed. The result of proximate analysis showed that crude protein increased slightly (approximately 2% CP) in FBY when compared with non-fermenting. At 28 weeks of age, a total of 50 laying ducks (CP Super breed) were divided into 2 treatment groups, each with five replicates of five laying ducks. The control group (T1) was fed a basal diet (CP, 16%; ME, 2,850 kcal/kg) and the another group was fed the basal diet+FBY at 10% level. Compared with the T1 group, there were no significant (P>0.05) differences in egg performance and quality. However, shell ratio was higher (P<0.05) in T2 group when compared with the T1 group, whereas yolk color was lower (P<0.05) in T2 group. In conclusion, this result suggests that FBY can be added up to 10% in basal diet of laying duck without any negative effect on the egg performance and quality.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P010 Ani12.pdf&id=2284&keeptrack=13
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการเสริมเปลือกกล้วยหมักร่วมกับยีสต์ในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ของเป็ดไข่
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2559
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของการเสริมใบชะพลูในอาหารต่อสมรรถภาพ คุณภาพไข่ และปริมาณเชื้อแบคทีเรียในมูลของเป็ดไข่ ผลของการเสริมกากข้าวโพดในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่ไข่และคุณภาพไข่ ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมปูนสำเร็จรูปเป็นแหล่งแคลเซียมในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพไข่ และคุณลักษณะของเปลือกไข่ในช่วงระยะเริ่มให้ผลผลิตไข่ ผลการใช้กากมันสำปะหลังหมักต่อสมรรถภาพการผลิตในเป็ดไข่รุ่น ผลการเสริมไฟโตไบโอติกส์ในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ ผลของการเสริมสารประกอบ Ceraclean® ในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตคุณภาพไข่ และความแข็งแรงกระดูกของไก่ไข่ ผลการเสริมเลซิตินถั่วเหลืองในอาหารไก่ไข่ต่อการย่อยได้ของโภชนะ สมรรถภาพการผลิต และคุณภาพไข่ ผลการเสริมไข่น้ำในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตและสีไข่แดงของเป็ดไข่ ผลของการจำกัดอาหารเป็ดรุ่นต่อสมรรถภาพการไข่ของเป็ดไข่ (พันธุ์ลูกผสมกากีแคมป์เบลส์กับพื้นเมือง) ผลของการเสริมเห็ดถั่งเช่าสีทองในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถนะการผลิตและคุณภาพไข่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก