สืบค้นงานวิจัย
ความหนาแน่นที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาชะโอนในบ่อดิน
แสงเดือน นาคสุวรรณ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ความหนาแน่นที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาชะโอนในบ่อดิน
ชื่อเรื่อง (EN): Culture of Butter Catfish Ompok bimaculatus (Bloch,1794) at different stocking densities in Earthen Pond
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: แสงเดือน นาคสุวรรณ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): sangdoune naksuwon
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Mullika Wannaprapha
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ผลการเลี้ยงปลาชะโอนในบ่อดินที่ความหนาแน่น 10, 20 และ 30 ตัวต่อตารางเมตร ในบ่อดิน ขนาด 800 ตารางเมตร โดยกันเป็นบ่อพลาสติกขนาด 5x5 เมตร รักษาระดับน้ำ 70 เซนติเมตรจำนวน 9 บ่อ ในศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเขต 7 (ชลบุรี ให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปโปรตีนไน่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ให้กินจนอิ่มวันละ 2 ครั้ง ที่เวลา 8.00 นาฬิกา และ 16.00 นาฬิกา เป็นระยะเวลา 30 สัปดาห์ ผลการทดลองโดยน้ำหนักปลาเริ่มต้นเฉลี่ย 2.23 - 0.12, 2.33 0.02 และ 2.22 + 0.02 กรัม และความยาวเริ่มตันเฉลี่ย 6.94 + 0.24, 7.14 + 0.16 และ 7.00 0.03 เชนติเมตร ผลทดสอบความเป็นเอก พันธ์ (homogeneity of variance) ของน้ำหนักและความยาวตัวอย่างปลามีความแปรปรวนเท่ากัน (p>0.05)เมื่อสิ้นสุดการทดลองที่ 30 สัปดาห์ ปลาชะโอนมีน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย 64.71 1.66, 56.76 + 3.11 และ 59.19 + 0.26 กรัม ความยาวสุดท้ายเฉลี่ย 19.70 + 0.34, 19.23 + 0.25 และ 19.15 + 0.03 เชนติเมตร ส่วนน้ำหนักเพิ่มต่อวัน 0.30 : 0.01, 0.26 + 0.01 และ 0.25 0.00 กรัมต่อวัน และอัตราการ เจริญเติบโตจำเพาะเฉลี่ย 1.60 : 0.03, 1.52 : 0.03 และ 1.52 : 0.00 เปอร์เซนต์ต่อวัน ผลการทตสอบ ความแปรปรวนของการเจริญเติบโตระหว่างชุดกรทดลองทั้ง 4 ปัจจัย พบมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมี นัยสำคัญ (p0.05) คุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงปลาชะโอนในบ่อดิน มีความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำมีค่าอยู่ในช่วง 7.1-8.3 ความเป็นด่างของน้ำมีค่าอยู่ในช่วง 80 - 134 มิลลิกรัมต่อลิตร ความกระด้างของน้ำ อยู่ในช่วง 70 - 136 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำ อยู่ในช่วง 3.0 - 5.4 มิลลิกรัมต่อลิตร และค่าแอมโมเนียรวม มีค่าอยู่ระหว่าง 0.03 - 0.34 มิลลิกรัมต่อลิตร ต้นทุนทั้งหมดของการเลี้ยงปลาชะโอนในบ่อดินเท่ากับ 2,743.15, 3,776.24 และ 4,750.45 บาท ผลตอบแทน ที่ราคาปลาชะโอนกิโลกรัมละ 250 บาท มีผลตอบแทนเป็นรายได้ทั้งหมด 2,875.00, 4,060.00 และ 5,680.00 บาทต่อบ่อ ผลตอบแทนต่อการลงทุนร้อยละ 4.81, 7.51 และ 19.57 บาท ตามลำดับ จุดคุ้มทุนในการเลี้ยงปลาชะโอนในบ่อดิน 238.53, 232.53, และ 209.09 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ เมื่อพิจารณาต้ทุและผลตอบแทน ความหนาแน่นที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาชะโอนในบ่อดิน คือ 30 ตัวต่อตารางเมตร
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 154,600.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-04-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเขต 7 ชลบุรี
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2558
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความหนาแน่นที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาชะโอนในบ่อดิน
กรมประมง
30 เมษายน 2559
กรมประมง
การเลี้ยงปลาสายยูในบ่อดินที่ระดับความหนาแน่นต่างกัน การเลี้ยงปลาเทพาในบ่อดินที่อัตราความหนาแน่นต่างกัน 3 ระดับ การเลี้ยงปลาอีกงในบ่อดินที่ระดับความหนาแน่นต่างกัน การอนุบาลปลากระแหในบ่อดินโดยความหนาแน่นต่างกัน การเลี้ยงปลาชะโอนในกระชังที่ความหนาแน่นแตกต่างกัน 2 ช่วงอายุ ระบบการเลี้ยงปลาบึกอายุ 1 - 2 ปี ร่วมกับปลาเผาะในบ่อดินเพื่อการค้า ความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินของเกษตรกรในจังหวัดลำพูน สภาวะการเลี้ยงปลากะพงขาวในบ่อดินของเกษตรกรจังหวัดตราด ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน ของเกษตรกร จังหวัดบึงกาฬ ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินของเกษตรกรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก