สืบค้นงานวิจัย
ประเมินความสำเร็จตลาดเครือข่ายของตลาดกลางยางพารา
สมมาต แสงประดับ - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ประเมินความสำเร็จตลาดเครือข่ายของตลาดกลางยางพารา
ชื่อเรื่อง (EN): Performance of Central Rubber Market Network in Southern Region of Thailand Rubber
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมมาต แสงประดับ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การจัดตั้งตลาดเครือข่ายของตลาดกลางช่วยยกระดับราคาที่แท้จริงแก่เกษตรกรผู้ขายยาง สนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรมีบทบาทในการดำเนินการด้านตลาด การประเมินผลความสำเร็จมี วัตถุประสงค์ ประเมินลักษณะการดำเนินงานของตลาดเครือข่าย ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการ ดำเนินงานของตลาดเครือข่าย ทราบปัญหาอุปสรรคสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่มีผลกระทบความสำเร็จของ การดำเนินงานของตลาดเครือข่าย โดยแนวคิดการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ กระบวนการดำเนินงาน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้นำเครือข่าย ซึ่งมี 19 แห่ง เกษตรกร ชาวสวนยางที่เป็นสมาชิกตลาดเครือข่ายแบ่งเป็นในเขตพื้นที่ตลาดกลางสงขลา สุราษฎร์ธานี และ นครศรีธรรมราช รวมประชากรทั้งสิ้น ประมาณ 1,200 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยเปิดตารางเครซี่ และมอร์แกน ได้จำนวนตัวอย่าง 151 คนวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และ ทดสอบไคสแควร์ ผลการประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายจากเครือข่ายภาคใต้ 19 แห่ง พบว่า เครือข่าย 16 แห่งเปิดดำเนินการ เครือข่ายของตลาดกลาง 3 แห่ง ปิดดำเนินการ โดยเงื่อนไขที่ตลาดกลางวางไว้ คือทุกเครือข่ายที่เข้าร่วมต้องส่งน้ำหนักเข้ามาประมูลที่ตลาดกลางอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอิงหลักเกณฑ์ เครือข่ายแนวตั้งเท่านั้น ผลปรากฏว่าเครือข่ายส่วนใหญ่ไม่สามารถปฏิบัติได้ เมื่อดูผลการดำเนินงาน และจำนวนครั้งที่เปิดดำเนินการ พบว่า เครือข่ายในเขตให้บริการของตลาดกลางสุราษฎร์ธานีเปิด ให้บริการแก่เกษตรกร 5 แห่งจาก 7 แห่ง มีลักษณะการดำเนินงานสามรูปแบบคือ เครือข่ายแนวตั้ง เครือข่ายแนวนอน และการประมูลโดยอิสระ สำหรับกลุ่มเครือข่ายแนวตั้งของเขตให้บริการของตลาด กลางนครศรีธรรมราชเปิดให้บริการ 3 เครือข่าย แยกตัวเป็นเครือข่ายอิสระ 1 แห่ง และ 3 แห่งปิด ดำเนินการ สำหรับเครือข่ายในเขตความรับผิดชอบของตลาดกลางยางพาราสงขลาเปิดให้บริการทั้งหมด 5 แห่ง เป็นรูปแบบเครือข่ายแนวนอน การประเมินการใช้ประโยชน์ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 43 155 ประเมินการใช้ประโยชน์เครือข่ายให้บริการกับเกษตรกรในระดับมาก ผลการทดสอบความสัมพันธ์ ของเขตพื้นที่ให้บริการของตลาดกลางที่รับผิดชอบเครือข่าย กับความพึงพอใจในการใช้บริการตลาด กลางระบบเครือข่าย พบว่า ความสัมพันธ์ของพื้นที่ให้บริการที่แตกต่างกันกับความพึงพอใจในการ บริการตลาดเครือข่ายแต่ละแห่งแตกต่างกันทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้น ค่าบริการโดยรวมที่เครือข่ายเก็บไม่มีความสัมพันธ์กับพื้นที่ให้บริการ ผลการทดสอบความสัมพันธ์เขต พื้นที่ให้บริการกับประสิทธิผลของเครือข่ายทุกด้าน พบว่าพื้นที่ให้บริการต่างกันประสิทธิผลของ เครือข่ายแตกต่างกัน ผลการทดสอบความสัมพันธ์ของรูปแบบการดำเนินงานของตลาดเครือข่าย กับ ความพึงพอใจในการบริหารจัดการตลาดเครือข่ายตลาดกลางระบบเครือข่ายในขั้นตอนต่างๆ ได้แก่ ขั้นตอนการติดต่อขอใช้บริการ ขั้นตอนกระบวนการให้บริการ ขั้นตอนระหว่างรอใช้บริการ และ ขั้นตอนหลังใช้บริการ พบว่า ความสัมพันธ์รูปแบบการดำเนินงานของตลาดเครือข่ายกับความพึงพอใจ ในการบริการตลาดเครือข่ายแต่ละแห่งแตกต่างกันในด้าน ขั้นตอนติดต่อขอใช้บริการ กระบวนการรอ ใช้บริการ กระบวนการให้บริการ ระหว่างให้บริการ และผลกระทบต่อความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานยางดี ขึ้น สำหรับความสัมพันธ์ของรูปแบบเครือข่ายไม่มีความแตกต่างกันกับประสิทธิภาพการดำเนินงานใน ด้านขั้นตอนการขนส่งยางหลังจากใช้บริการ ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ ความสัมพันธ์รูปแบบเครือข่าย กับประสิทธิผลพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับผลต่อระดับราคายางต่อระดับท้องถิ่น ผลต่อคุณภาพยางดีขึ้น หลังใช้บริการ ผลต่อความรู้สถานการณ์ตลาดยาง และความพอใจโดยรวม แสดงว่ารูปแบบเครือข่าย แตกต่างกันประสิทธิผลของเครือข่ายที่มีต่อระบบตลาดท้องถิ่นไม่แตกต่างกัน นั่นคือเครือข่ายประสบ ผลสำเร็จในการพัฒนาระบบตลาดท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในด้าน ราคา คุณภาพ ความรู้ของ ผู้ใช้บริการ คะแนนเฉลี่ยการบริหารจัดการตลาดเครือข่ายอิสระ และเครือข่ายแนวนอนมีประสิทธิภาพ ปานกลาง ส่วนเครือข่ายแนวตั้งมีประสิทธิภาพมาก ประเมินผลสภาวะแวดล้อมธุรกิจโดยมีการ เปรียบเทียบศักยภาพของเครือข่ายกับเอกชน พบว่าเครือข่ายส่วนใหญ่มีสภาพสิ่งอำนวยความสะดวกสูง กว่าเอกชน ผลสำเร็จของเครือข่ายจากการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามกระบวนการบริหาร จัดการของเครือข่ายทุกด้านมีความสัมพันธ์กับเขตพื้นที่ให้บริการ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลเชิง เปรียบเทียบกับเอกชนในขั้นตอนการให้บริการด้านต่าง ๆ ทุกด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นขั้นตอนการ สูญเสียน้ำหนักหลังใช้บริการในกระบวนการขนส่งยางไปยังผู้ซื้อ รวมทั้งค่าใช้จ่ายโดยรวมในการใช้ บริการที่ตลาดเครือข่ายจัดเก็บ การจัดการเครือข่ายภายใต้สถานการณ์แวดล้อมของภาวะตลาดยางพารา ที่ผันผวน ควรเลือกแนวทางการบริหารจัดการตลาดที่ถูกต้องเหมาะสมของผู้บริหารจัดการเครือข่ายแต่ ละแห่ง รวมทั้งการใช้ผลการดำเนินงานของตลาดกลางยางพาราที่เป็นแม่ข่ายมาประกอบการตัดสินใจ จึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จ การยึดถือกลุ่มเกษตรกรเข้มแข็งเป็นตัวตั้งมีความสำคัญมากกว่าการ บรรลุผลการดำเนินงานด้านปริมาณยางของตลาดกลาง
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประเมินความสำเร็จตลาดเครือข่ายของตลาดกลางยางพารา
การยางแห่งประเทศไทย
2553
กลยุทธ์ความสำเร็จของการบริหารจัดการตลาดเครือข่ายตลาดกลางยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรณีศึกษา ตลาดเครือข่ายตลาดกลางยางพาราหนองคายที่อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ และตลาดเครือข่ายตลาดกลางยางพาราบุรีรัมย์ท การพัฒนาระบบตลาดเครือข่ายของตลาดกลางยางพารา กลุ่มวิจัยยางพารา ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการตลาดกลางยางพาราของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การประเมินระบบประมูลยางอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดกลางยางพารา สำนักตลาดกลางยางพารา สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร วิเคราะห์ผลกระทบการตั้งตลาดกลางยางพาราจังหวัดหนองคาย ต่อผู้เกี่ยวข้องต่อธุรกิจยาง การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน ความพึงพอใจของเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการค้ายาง ที่มีต่อการให้บริการตลาดกลางยางพารา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก