สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาการป้องกันกำจัดแมลงวันศัตรูไหมเพื่อสร้างศักยภาพการเลี้ยงไหมในชุมชน อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
ชาญชัย ถาวรอนุกูลกิจ, สุนารักษ์ โสภา, วิทยา มาศวรรณา - กรมหม่อนไหม
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการป้องกันกำจัดแมลงวันศัตรูไหมเพื่อสร้างศักยภาพการเลี้ยงไหมในชุมชน อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
ชื่อเรื่อง (EN): Study the potential in Biocontrol of uzifly at A. Nichomchumsoy, Mukdahan Province
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาปริมาณรังไหมที่ถูกทำลายจากแมลงวันก้นขน พบว่าแมลงวันก้นขนสามารถทำลายหนอนไหม และเจริญเติบโตได้ดีตลอดทั้งปี โดยพบประชากรมากในฤดูฝน สูงสุดในเดือน กรกฎาคม รองลงมาคือเดือนกันยายน พ.ศ. 2555 เท่ากับ 2.85 และ 2.80 กิโลกรัมต่อการเลี้ยงไหม 1 แผ่น ส่วนฤดูหนาว พบแมลงวันก้นขนน้อย การถูกทำลายต่ำสุดในเดือนมกราคม 2555 เท่ากับ 1.147 กิโลกรัมต่อการเลี้ยงไหม 1 แผ่น ปริมาณน้ำฝนมากที่สุด 7.02 มิลลิเมตร ในเดือนพฤษภาคม ส่วนเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยที่สุด คือเดือนมกราคม เท่ากับ 0.45 มิลลิเมตร เดือนกุมภาพันธ์และเดือนธันวาคมไม่มีฝนตก อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 28.99 องศาเซลเซียส ในเดือนพฤษภาคม และอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 23.37 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม การแพร่ระบาดของแมลงวันก้นขนจะระบาดมากในช่วงเดือน กรกฎาคมถึงเดือนกันยายนซึ่งเป็นช่วงที่มีปริมาณน้ำฝนสะสมมากและอุณหภูมิค่อนข้างสูง และจะพบการระบาดเริ่มลดลงในเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤษภาคม และจะเพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายนเนื่องจากมีปริมาณน้ำฝนสะสมจากเดือนพฤษภาคม จากการตรวจสอบรังไหมที่ถูกทำลายจากแมลงวันก้นขนในการป้องกันกำจัดด้วยวิธีต่างๆโดยทำการเก็บข้อมูลในเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม พบว่า การควบคุมกำจัดแมลงวันก้นขนโดยวิธีใช้กับดักแสงไฟมีค่าเฉลี่ยปริมาณรังไหมที่ถูกทำลายจากแมลงวันก้นขน ต่อ 1 แผ่น มีค่าต่ำสุดเท่ากับ 1.66 กิโลกรัม และมีแนวโน้มจะลดลงในเดือนพฤศจิกายน และเดือนธันวาคม ส่วนวิธีการซ่อมแซมโรงเรือนให้แข็งแรงมีการจัดการระบบรอบโรงเรือนสะอาดมีค่าเฉลี่ยปริมาณรังไหมที่ถูกทำลายจากแมลงวันก้นขน ต่อ 1 แผ่น ใกล้เคียงกับ วิธีใช้กับดักแสงไฟ เท่ากับ 1.69 กิโลกรัม ส่วนการใช้สารเคมีฆ่าแมลงผสม Autolysed Protein 16 % มีค่าเฉลี่ยปริมาณรังไหมที่ถูกทำลายจากแมลงวันก้นขน ต่อ 1 แผ่น เท่ากับ 1.89 กิโลกรัม และกรรมวิธีควบคุม มีค่าเฉลี่ยปริมาณรังไหมที่ถูกทำลายจากแมลงวันก้นขน ต่อ 1 แผ่น มากที่สุดเท่ากับ 2.19 กิโลกรัม และมีแนวโน้มลดลง ทุกกรรมวิธีในการป้องกันกำจัดมีแนวโน้มการรังไหมถูกทำลายลดลงในเดือนธันวาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมหม่อนไหม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาการป้องกันกำจัดแมลงวันศัตรูไหมเพื่อสร้างศักยภาพการเลี้ยงไหมในชุมชน อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
กรมหม่อนไหม
30 กันยายน 2555
กรมหม่อนไหม
บันทึกอบรมผู้เข้าร่วมงานกับผู้เชี่ยวชาญครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เกี่ยวกับเทคนิคการเลี้ยงไหม (2514) การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นในการผลิตไข่ไหม การศึกษาหาวิธีการเลี้ยงไหมที่ตัวอ่อนของหนอนไหมเก็บไว้ที่ห้อง 10 °ซ. ก่อนการเลี้ยง ศึกษาการทำแผ่นใยไหมจากหนอนไหม การศึกษาหาระยะเวลาการเจริญเติบโตของหนอนไหมและระยะที่เป็นดักแด้ของไหมพันธุ์ที่ใช้ผลิตไข่ไหมในศูนย์วิจัยและอบรมไหมนครราชสีมา เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของหนอนไหม ผลผลิต ของรังไหมและการวางไข่ของแม่ผีเสื้อ เพื่อใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดเชื้อราต่างกัน ผลของเวลาการให้อาหารไหมต่อความเจริญเติบโตของหนอนไหม การทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมีกำจัดเชื้อรา ในการป้องกันกำจัดโรคแอสเปอร์จอลลัสของหนอนไหม การทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมีกำจัดเชื้อราในการป้องกันกำจัดโรคแอสเปอร์จิลลัสของหนอนไหม การศึกษาหาแนวทางของการชักนำให้เกษตรกรปรับปรุงเทคนิค การป้องกันกำจัดโรคของหนอนไหม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก