สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงพันธุ์แตงกวาและฟักทองสำหรับระบบอินทรีย์
จานุลักษณ์ ขนบดี - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงพันธุ์แตงกวาและฟักทองสำหรับระบบอินทรีย์
ชื่อเรื่อง (EN): Cucumber and Pumpkin Breeding for Organic System
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จานุลักษณ์ ขนบดี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: แตงกวา ฟักทอง การปรับปรุงพันธุ์ ระบบอินทรีย์
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การคัดเลือกพันธุ์แตงกวาและฟักทองสำหรับระบบอินทรีย์” แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดย ผศ.จานุลักษณ์ ขนบดี เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) คัดเลือกพันธุ์/สายพันธุ์แตงกวาและฟักทองให้เหมาะสมกับระบบอินทรีย์ 2) ถ่ายทอดเทคโนโลยีเรื่องพันธุ์แตงกวาและฟักทอง ตลอดจนระบบอินทรีย์แก่ผู้ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และ3) เป็นศูนย์เผยแพร่องค์ความรู้ด้านการปรับปรุงพันธุ์พืชวงศ์แตงของประเทศไทย พันธุ์ที่เหมาะสมกับระบบอินทรีย์ การสอนในด้านการปรับปรุงพันธุ์พืชและการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จากการศึกษาวิจัย พบว่าพันธุ์ลูกผสมแตงกวาผลสั้นมีการปรับตัวในแต่ละฤดูแตกต่างกัน พันธุ์ที่เหมาะกับฤดูฝนมี 6 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ล้านนา4/ล้านนา8  พันธุ์ล้านนา2/ล้านนา3  พันธุ์ล้านนา8/ล้านนา3  พันธุ์ล้านนา6/ ล้านนา7  พันธุ์ล้านนา4/ล้านนา7 และ พันธุ์ล้านนา4/ล้านนา6 พันธุ์ที่เหมาะกับฤดูหนาว มี 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ล้านนา6/ ล้านนา2  พันธุ์ล้านนา6/ล้านนา1 และ พันธุ์ล้านนา7/ล้านนา2 พันธุ์ลูกผสมที่มีความต้านทานต่อโรคระดับปานกลาง คือ พันธุ์ล้านนา6/ล้านนา2 และ พันธุ์ล้านนา6/ล้านนา7 การทดสอบสมรรถนะการผสมของแตงกวาผลยาว พบว่า พันธุ์ ลูกผสม P2/L6 ให้ผลผลิตต่อไร่สูงสุด เท่ากับ 3.9 ตัน ทนต่อโรคราน้ำค้าง ระดับ 4.9 การคัดเลือกแบบจดบันทึก ประวัติสามารถสร้างพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 2 ได้ 76 สายพันธุ์ และคัดเลือกสายพันธุ์พันธุ์ชั่วที่ 5 และ 6 จานวน 120 สายพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ฟักทอง พบว่าพันธุ์มีการปรับตัวในแต่ละฤดูแตกต่างกัน พันธุ์ 3/7 พันธุ์5/3 พันธุ์ 2/7 พันธุ์ 5/4 พันธุ์ 4/5 และ พันธุ์ 1/7 ให้ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ 3.0 ตัน และให้ผลผลิตสูงในฤดูฝนเช่นกัน ลักษณะผลผลิตต่อไร่ ให้ค่าผกผันต่อคุณภาพของเนื้อฟักทอง พบว่า พันธุ์ 1/3 พันธุ์ 2/6 และ พันธุ์ 2/1 ให้ค่าปริมาณของแข็งมากกว่า ร้อยละ 20 พันธุ์ 4/3 พันธุ์ 4/7 และ พันธุ์ 2/1 มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ มากกว่า 11.0 องศาบริกซ์ ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัย ได้สายพันธุ์/พันธุ์แตงกวาและฟักทองที่เหมาะสมกับระบบอินทรีย์ ซึ่งสามารถทำให้ประเทศสามารถดำเนินการระบบอินทรีย์ได้สมบูรณ์ ตลอดสามารถทำให้สร้างผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบที่ได้รับการรับรองระบบอินทรีย์ ทำให้สามารถขยายตลาดสินค้าอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองระดับสากลได้ 
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560-03-15
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561-03-14
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2560
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงพันธุ์แตงกวาและฟักทองสำหรับระบบอินทรีย์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
14 มีนาคม 2561
การปรับปรุงพันธุ์แตงกวาและฟักทองสำหรับระบบอินทรีย์ บทบาทของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชกับการปรับปรุงพันธุ์ โครงการขึ้นทะเบียนพันธุ์ คุ้มครองพันธุ์ และจัดแปลงสาธิตสายพันธุ์/พันธุ์แตงกวา และฟักทอง การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ แตงกวา และฟักทอง ที่เหมาะสม โครงการปรับปรุงพันธุ์ผักเพื่อระบบเกษตรอินทรีย์ การปรับปรุงพันธุ์โคเนื้อเกษตรกรฟาร์มเครือข่าย การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักระบบอินทรีย์ โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยสำหรับภาคกลาง เหนือ ตะวันออกและตะวันตก การพัฒนาระบบปฏิบัติการตรวจสอบจีโนไทป์ข้าวแบบประสิทธิภาพสูงสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ข้าว (Rice Breeding Platform) การค้นหาตำแหน่งยีนโดย GWAS และ การประเมินคุณค่าและศักยภาพทางพันธุกรรมของข้าวพันธุ์ปรับปรุ ปรับปรุงพันธุ์ฟักทองเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก