สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาสารสกัดสมุนไพรที่มีศักยภาพต้านไวรัสและแบคทีเรียก่อโรคในสุกร
รศ.ดร. ศิริพร โอโกโนกิ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสารสกัดสมุนไพรที่มีศักยภาพต้านไวรัสและแบคทีเรียก่อโรคในสุกร
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Potential Medicinal Plant Extracts Possessing Activity against Pathogenic Virus and Bacteria in Swine
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รศ.ดร. ศิริพร โอโกโนกิ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาสารสกัดสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อก่อโรคในสุกร โดยเน้นไปที่เชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย การวิจัยเริ่มต้นด้วยการรวบรวมพืชสมุนไพรซึ่งปรกติมีใช้ในสูตรตำรับยาพื้นบ้านที่เกี่ยวข้องกับการรักษาอาการของโรคติดเชื้อ ซึ่งการรวบรวมพืชดังกล่าวทำให้ได้พืชสมุนไพรในการศึกษาจำนวน 22 ชนิด ได้แก่ สมอพิเภก, สมอไทย, สมอเทศ, ชุมเห็ดเทศ, มะแฮะ, เอ็กไคเนเชีย, ผักไผ่, มะรุม, โหระพา, ยอ, กะเพรา, เสลดพังพอนตัวผู้, แมงลัก, ผักไห่, คราดหัวแหวน, ดีปลี, มะเกี๋ยงแขก, เพกา, เจตภังคี, มังคุด, มะหาด, และฝาง ตัวอย่างพืชสมุนไพรเหล่านี้ถูกนำมาทำเป็นผงแห้งก่อนแล้วจึงหมักในเอธานอลความเข้มข้นร้อยละ 95 เพื่อเตรียมสารสกัดหยาบเอธานอลของพืชเหล่านั้น ผลการสกัดพบว่าตัวอย่างพืชที่ให้ปริมาณสารสกัดหยาบมากที่สุดคือผลเพกา โดยให้ปริมาณสารสกัดหยาบเท่ากับ 39% รองลงมาคือผลสมอเทศ และสมอพิเภก ให้ปริมาณสารสกัดหยาบเท่ากับ 36.2% และ 35.4% ตามลำดับ และพืชที่ให้ปริมาณสารสกัดน้อยที่สุดคือ แมงลัก และกะเพรา โดยให้ปริมาณสารสกัดหยาบเท่ากับ 11.2 และ 11.9% ตามลำดับ สารสกัดหยาบทั้งหมดที่เตรียมได้ถูกนำไปทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย โดยใช้เชื้อไวรัสก่อโรคในสุกรชื่อเชื้อพีอาร์อาร์เอสเป็นเชื้อไวรัสทดสอบ และใช้เชื้อแบคทีเรียก่อโรคจำนวน 6 สายพันธุ์ ได้แก่เชื้อ Escherichia coli, Staphylococcus aureus, Staphylococcus epidermidis, Streptococcus suis, Corynebacterium diphtheria และเชื้อSalmonella spp. เป็นเชื้อแบคทีเรียทดสอบ ผลการทดลองพบว่าสารสกัดหยาบของพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสก่อโรคในสุกรสูงที่สุดเป็นสารสกัดหยาบที่ได้จากมังคุด, เสลดพังพอน, ยอ, และผักไห่ ดังนั้นพืชทั้ง 4 ชนิดนี้จึงถูกเลือกไปศึกษาต่อในการต้านไวรัส ส่วนสารสกัดหยาบที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดต้องการออกซิเจนเป็นสารสกัดหยาบที่ได้จากมังคุด, ผักไห่, ชุมเห็ดเทศ, มะเกี๋ยงแขก และแก่นฝาง ในขณะที่สารสกัดหยาบที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดไม่ต้องการออกซิเจนเป็นสารสกัดหยาบที่ได้จากชุมเห็ดเทศ ผักไห่ และฝาง ดังนั้นพืชทั้ง 5 ชนิดนี้จึงถูกเลือกไปศึกษาต่อในการต้านแบคทีเรีย พืชสมุนไพรที่คัดเลือกถูกนำมาศึกษาต่อโดยการสกัดแยกส่วนเพื่อให้ได้สารสกัดที่บริสุทธิ์มากขึ้น ซึ่งทำโดยการหมักผงแห้งของพืชสมุนไพรในตัวทำละลายต่างๆ ที่มีขั้วแตกต่างกันเรียงตามลำดับ ได้แก่เฮกเซน เอธิลอะซิเตต และเอธานอล ผลจากขั้นตอนนี้ทำให้ได้สารสกัดแยกส่วน 12 ชนิด สำหรับใช้ศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส และได้ 15 ชนิด สำหรับใช้ศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย จากผลการทดลองนี้พบว่าปริมาณสารสกัดแยกส่วนที่ได้จากชั้นเอธานอลของพืชส่วนใหญ่มีปริมาณมากที่สุด รองลงมาเป็นสารสกัดแยกส่วนที่ได้จากชั้นเอธิลอะซิเตต และชั้นเฮกเซนตามลำดับ การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสของสารสกัดแยกส่วนพบว่าสารสกัดแยกส่วนจากชั้นเอธิลอะซิเตตของมังคุดมีฤทธิ์สูงที่สุดในการต้านเชื้อไวรัสก่อโรคในสุกร โดยแสดงค่าไตเตอร์ของการทำลายไวรัสพีอาร์อาร์เอสเท่ากับ 101.5 ทีซีไอดี50/มิลลิลิตร การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดแยกส่วนพบว่าสารสกัดแยกส่วนจากชั้นเอธิลอะซิเตตของฝางมีฤทธิ์สูงที่สุดในการต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในสุกร โดยแสดงความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งเชื้อต่อเชื้อแบคทีเรียชนิดต้องการออกซิเจนที่ศึกษาคือ S. aureus, S. epidermidis, E. coli และ Salmonella sp. เท่ากับ 2.5, 5.0, 10, และ 40 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ และที่น่าสนใจคือสารสกัดดังกล่าวแสดงประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งเชื้อต่อเชื้อแบคทีเรียชนิดไม่ต้องการออกซิเจนที่ศึกษาคือ S. suis และ Corynebacterium sp. โดยแสดงความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งเชื้อดังกล่าว เท่ากับ 0.156 และ 2.5 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ สารสกัดแยกส่วนจากชั้นเอธิลอะซิเตตของพืชทั้งสองชนิดนี้จึงถูกนำมาควบคุมมาตรฐานโดยการเตรียมโครมาโตแกรมมาตรฐานจากเอชพีแอลซีในสภาวะที่เหมาะสม ผลการทดลองพบว่าโครมาโตแกรมมาตรฐานจากเอชพีแอลซีของสารสกัดแยกส่วนจากชั้นเอธิลอะซิเตตของมังคุด ซึ่งตรวจวัดในช่วงการดูดกลืนแสงที่ 320 นาโนเมตร แสดงพีคจำนวน 2 พีค ที่ตำแหน่งเวลา 7.302 และ 11.447 นาที ส่วนโครมาโตแกรมมาตรฐานจากเอชพีแอลซีของสารสกัดแยกส่วนจากชั้นเอธิลอะซิเตตของฝาง ซึ่งตรวจวัดในช่วงการดูดกลืนแสงที่ 280 นาโนเมตร แสดงพีคจำนวน 3 พีค ที่ตำแหน่งเวลา 5.055, 6.464 และ 8.986 นาที การศึกษาความคงตัวของสารสกัดแยกส่วนจากชั้นเอธิลอะซิเตตของมังคุดและฝางโดยเก็บที่อุณหภูมิต่าง ๆ คือ 4, 30, 45 องศาเซลเซียส ในภาชนะที่ปิดสนิท เป็นเวลานาน 6 เดือน พบว่าสารสกัดทั้งสองมีลักษณะทางกายภาพที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนเมื่อเก็บที่อุณหภูมิสูง และพบว่าสารสำคัญของสารสกัดทั้งสองมีปริมาณลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเก็บสารสกัดไว้ที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส โดยสรุปแล้วการวิจัยนี้พบว่าสารสกัดของพืชบางชนิดสามารถต้านเชื้อไวรัสและแบคทีเรียก่อโรคของสุกรได้ ในบรรดาสารสกัดทั้งหมดที่นำมาศึกษาพบว่าสารสกัดแยกส่วนจากชั้นเอธิลอะซิเตตของมังคุดและฝางมีฤทธิ์แรงที่สุดในการต้านเชื้อไวรัสและแบคทีเรียก่อโรคของสุกรตามลำดับ ผลการทดลองในการศึกษาเรื่องความคงตัวมีข้อบ่งบอกว่าควรเก็บสารสกัดที่มีประสิทธิภาพเหล่านี้ไว้ในที่เย็นเพื่อให้มีความคงตัวสูง
บทคัดย่อ (EN): The aim of this research project was to search for the potential plant extracts having high activity against virus and bacteria that cause certain diseases in swine. The research started with collecting plants normally used in traditional medicinal remedies related to the treatment of infectious diseases. For this purpose, twenty two plant samples of Terminalia bellirica, Terminalia chebula, Terminalia arjuna, Cassia alata, Cajanus cajan, Echinacea purpurea, Polygonum odoratum, Moringa oleifera, Ocimum basilicum, Morinda citrifolia, Barleria lupulina, Ocimum sanctum, Ocimum basilicum, Momordica charantia, Acmella oleracea, Morinda citrifolia, Syzygium cumini, Oroxylum indicum, Cladogynos orientalis, Garcinia mangostana, Artocarpus lakoocha, and Caesalpinia sappan were collected. The dried powder of these plant samples were firstly macerated in 95% ethanol to get the ethanol crude extracts. It was found that O. indicum gave the highest extract yield of 39% followed closely by T. arjuna and T. bellirica which gave the extract yield of 36.2% and 35.4%, respectively. The crude extracts of all plant samples obtained were subjected to the antiviral and antibacterial activity tests. Pathogenic viral strain that causes porcine reproductive and respiratory syndrome (PRRS) was used as a tested virus whereas six pathogenic bacterial strains of Escherichia coli, Staphylococcus aureus, Staphylococcus epidermidis, Streptococcus suis, Corynebacterium diphtheria, and Salmonella spp. were used as the tested bacteria. It was found that G. mangostana, B. lupulina, M. citrifolia, and M. charantia yielded the crude extracts with higher antiviral activity. Therefore, these four plants were selected for further study on antiviral activity. The crude extracts of S. cumini, G. mangostana and C. sappan showed the higher bacterial inhibition against aerobic bacteria whereas that of C. alata, M. charantia, and C. sappan demonstrated the higher antibacterial activity against anaerobic bacteria. Therefore, these five plants were selected for further study on antibacterial activity. Further study for the selected plants was done by fractionation to get more purified extracts. This was done by macerating the dried powders of the selected plants in the series of solvents with different polarity, i.e. hexane, ethyl acetate, and ethanol, respectively. According to this performance, twelve fractionated extracts were obtained for antiviral activity test and fifteen fractionated extracts were obtained for antibacterial activity test. It was found that the highest extract yield of the most plants was obtained from the ethanol fractionated extracts, followed by the ethyl acetate and ethanol fractionated extracts, respectively. The antimicrobial activity testes demonstrated that the ethyl acetate fractionated extract of G. mangostana was the most effective against PRRS virus with the titer of 101.5 TCID50/mL whereas the ethyl acetate fraction of C. sappan showed the most effective against aerobic pathogenic bacteria of S. aureus, S. epidermidis, E. coli and Salmonella sp. with the minimum bactericidal concentration (MBC) of 2.5, 5, 10, and 40 mg/mL, respectively. Most interestingly, this fractionated extract was also the most effective against the pathogenic anaerobic strains of S. suis and Corynebacterium sp. with the MBC of 0.156 and 2.5 mg/mL. HPLC fingerprint of the ethyl acetate fractionated extracts of these two effective fractions was performed under suitable condition for quality control. The HPLC fingerprint of the ethyl acetate fractionated extracts of G. mangostana obtained at UV detection of 320 nm exhibited two peaks at the retention times of 7.302 and 11.447 min. The HPLC fingerprint of the ethyl acetate fractionated extracts of C. sappan obtained at UV detection of 280 nm showed three peaks at the retention times of 5.055, 6.464, and 8.986 min. Stability study of these effective extracts was done by keeping the extracts in closed containers at different temperatures of 4, 30, 45?C for 6 months. It was found that the high temperature caused the obviously change in physical appearance of the extracts. The significant decrease of the ingredients was found in the extracts kept at 45?C. It was concluded that certain plant extracts could inhibit the pathogenic virus and bacteria of swine. Among the tested extracts, the ethyl acetate fractionated extracts of G. mangostana and C. sappan possessed the strongest swine pathogenic antiviral and antibacterial activities, respectively. The stability study suggested that these effective extracts should be kept in a cool place in order to keep high stability.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/292622
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาสารสกัดสมุนไพรที่มีศักยภาพต้านไวรัสและแบคทีเรียก่อโรคในสุกร
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
30 กันยายน 2556
เอกสารแนบ 1
การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากสมุนไพรไทยบางชนิดในการกำจัดหอยเชอร์รี่ โครงการนำร่องการจัดทำระบบคอมพาร์ทเมนต์สุกร เพื่อรับรองสถานภาพปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยและโรคอหิวาต์สุกรเพื่อการส่งออก การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารจากสมุนไพร (metabolites) ที่ตรวจพบในเลือดของอาสาสมัครสุขภาพดีหลังกินยาจากสมุนไพรอายุรเวทศิริราชตำรับห้าราก (AVS022) กับลักษณะการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดเป็นรายบุคคล- โครงการ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารจากสมุนไพร (metabolites) ที่ตรวจพบในเลือดของอาสาสมัครสุขภาพดีหลังกินยาจากสมุนไพรอายุรเวทศิริราชตำรับห้าราก (AVS022) กับลักษณะการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดเป็นรายบุคคล: โครงการ การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของสารสกัดดาหลา (Etlingera elatiorL.) ต่อแบคทีเรียก่อโรคในพืช การศึกษาฤทธิ์ต้านไวรัสของสารสกัดพืชสมุนไพรไทยต่อการแบ่งตัวของ highly pathogenic porcine reproductive and respiratory syndrome virus การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดหยาบจากงวงตาลตัวผู้ต่อการต้านเชื้อจุลชีพก่อโรคในคน การต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านภาวะโรคไตเรื้อรัง และฤทธิ์ต้านมะเร็ง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยสู่มาตรฐานสากล ประสิทธิภาพของสารสกัดสมุนไพรบางชนิดต่อการยับยั้งเชื้อไวรัสก่อโรคในปลาทะเลเศรษฐกิจ การพัฒนาสารสกัดสมุนไพรเพื่อบำบัดผู้เสพติดสารกระตุ้นประสาท : รายงานแผนงานวิจัย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก