สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตองุ่น
กรมวิชาการเกษตร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตองุ่น
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Tropical Viticulture
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรมวิชาการเกษตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: จากการความร่วมมือทางวิชาการไทย-อาร์เมเนีย ได้มีการทดสอบการปรับตัวพันธุ์องุ่นจากอาร์เมเนีย เพื่อศึกษาหาพันธุ์องุ่นที่เหมาะสมกับประเทศ โดยได้นำพันธุ์มาทดสอบที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ จำนวน 15 พันธุ์ และศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ จำนวน 8 พันธุ์ (ในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น ละติจูดต่ำกว่า 20 องศาเหนือ ช่วงปี 2554 – 2558 เป็นเวลา 5 ปี ) (ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 300 – 1,200 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ระดับความลาดชัน 0 – 30 เปอร์เซ็นต์) พบว่ามีพันธุ์ที่มีศักยภาพมีการปรับตัวได้ดีเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่ทดสอบ ได้แก่ พันธุ์ Rkatsiteli, Haghtanak, Kakhet และ Banant โดยจะต้องมีการจัดการเขตกรรมที่เหมาะสมในเรื่องการตัดแต่งกิ่งซึ่งมีความสำคัญต่อการปรับตัวคือการจัดแต่งทรงพุ่มแบบ Double Guyot ความยาวกิ่ง ไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตรทิ้งตาไว้เพื่อแตกยอดจำนวน 5 – 8 ตาต่อกิ่ง การจัดการน้ำแบบ Reasonate Irrigation (RI) ในระหว่างฤดูการเก็บเกี่ยว การจัดการปุ๋ยทั้งทางใบ (Foliar fertilization) และการปรับปรุงดิน การวางแผนการจัดการโรคในฤดูฝนและฤดูหนาว รวมทั้งการจัดการในแปลงองุ่นที่ดี (green working) โดยพันธุ์ที่เหมาะสมในการปลูกและทำไวน์ ได้แก่ พันธุ์ Rkatsiteli ซึ่งผลเมื่อสุกมีสีเหลืองทองสะท้อนเขียว ขนาดผล 7 – 15 มิลลิเมตร ความหวานสูงสุด 25 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ ปริมาณกรด (Total acidity) 8.5 – 11 กรัมต่อลิตร น้ำองุ่นมีสีเหลืองขุ่น กลิ่นน้ำผึ้งและดอกลิลลี่สีขาว เมื่อผลิตไวน์กลิ่นจะมีการพัฒนาไปในลักษณะของกลิ่นวานิลลาและดอกไม้ป่า เนื่องจากผลผลิตในพื้นที่สูงมีสภาวะความเป็นกรดสูงจึงจำเป็นต้องทำการหมักแลกติกพบกลิ่นเนยและขนมปังในไวน์ที่บ่มไว้ 18 เดือน พันธุ์ Haghtanak ผลสุกมีสีแดงอมม่วงเข้มจัด ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 – 8 มิลลิเมตร ความหวานสูงสุดอยู่ที่ 28 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ ปริมาณกรด (Total acidity) 9.5 – 12.5 กรัมต่อลิตร น้ำองุ่นมีสีแดงเข้ม กลิ่นผลไม้แดง ดอกกุหลาบและดอกไวโอเลต เมื่อผลิตไวน์กลิ่นจะมีการพัฒนาไปในลักษณะของกลิ่นช็อกโกแลตและผลไม้นึ่ง เมื่อหมักกรดแลกติกมีศักยภาพในการพัฒนากลิ่นไปในรูปแบบของไวน์คุณภาพสูงที่มีกลิ่นหมัก ขนมปัง ไวน์อายุน้อยมีสีใสและตะกอนแทนนินต่ำ เมื่อทดลองหมักแบบแชมเปญพบศักยภาพการผลิตฟองระดับดีที่ 30 – 50 มิลลิกรัมต่อลิตร (แชมเปญ : 45 มิลลิกรัมต่อลิตร) ถือเป็นพันธุ์ที่มีศักยภาพในการผลิตไวน์ฟองหรือ Effervescence wine พันธุ์ Kakhet ผลสุกมีสีแดงเข้ม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 – 10 มิลลิเมตร พวงค่อนข้างแน่นเป็นรูปทรงหัวใจหรือสามเหลี่ยมคว่ำ ความหวานสูงสุดอยู่ที่ 21 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ Total acidity 8.7 – 11.3 กรัมต่อลิตร น้ำองุ่นมีสีแดงชมพู กลิ่นสตรอเบอร์รี่ ดอกไวโอเลต เมื่อผลิตไวน์กลิ่นจะมีการพัฒนาไปในลักษณะของกลิ่นวานิลลาและดอกไม้ป่า พันธุ์ Banant ผลสุกมีสีชมพูอมน้ำตาล ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 – 15 มิลลิเมตร ความหวานสูงสุดอยู่ที่ 14 – 19 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ ปริมาณกรด (Total acidity) 7.2 – 10 กรัมต่อลิตร น้ำองุ่นมีสีชมพูขุ่น กลิ่นส้มและดอกกุหลาบ เมื่อผลิตไวน์กลิ่นจะมีการพัฒนาไปในลักษณะของกลิ่นวานิลลาและดอกไม้ป่า แต่ไม่มีความคงตัวของกลิ่นเหมือนพันธุ์อื่น ในผลผลิตฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) กลิ่นขององุ่นจะมีรสเปรี้ยวฝาดซึ่งเหมาะในการผลิตไวน์มากกว่าฝนผลิตฤดูหนาว(เดือนมีนาคม) ผลการศึกษาทางสรีระวิทยาการออกดอก ความยาวกิ่ง น้ำหนักกิ่งตอน ปริมาณแสง และผลความเครียดของน้ำในช่วง 5 ปีที่ทำการศึกษา (ปี 2554, -0.5kPA ; ปี 2555, -1.3kPA ; ปี 2556, -0.6kPA ; ปี2557, -0.6kPA และ ปี 2558, -0.95 kPA) สามารถแบ่งกลุ่มพันธุ์จาก 15 พันธุ์ที่ได้รับ ออกเป็น 3 กลุ่มตามเวลารอบการผลิตขององุ่น vigor และปริมาณผลผลิต ดังนี้ พันธุ์เบา ได้แก่ Rkatsiteli, Kakhet และ Banant พันธุ์ปานกลาง ได้แก่ Kangyn, Hayastan, Haghtanak, Varadaguyn Yerevani และ Cardinal พันธุ์หนัก ได้แก่ Areny, Van, Typhoon, Tayfi Varadaguyn, Khndoghni และ Muskad นอกจากนี้ ได้มีการรวบรวมต้นพันธุ์องุ่นที่ใช้สำหรับเป็นต้นตอมาปลูก ในสภาพแปลงที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ปี 2553 – 2558 ทำการประเมินการเจริญเติบโตทางลำต้น การทนทานต่อสภาพแวดล้อมและโรคแมลงศัตรูองุ่น พบว่าองุ่นต้นตอแต่ละพันธุ์มีการตอบสนองไม่เหมือนกัน โดยองุ่นพันธุ์ 5BB Brazil IAC 572 และ Harmony มีการเจริญเติบโตทางลำต้นดีที่สุดและมีค่าดัชนีพื้นที่ใบมากกว่า90 เปอร์เซ็นต์ องุ่นพันธุ์ 1613C Brazil IAC 572 และ Harmony สามารถออกดอกติดผลและพัฒนาจนสุกแก่และมีความทนทานต่อการเข้าทำลายของโรคแอนแทรกโนส (Sphaceloma sp.) ราน้ำค้าง (Plasmopara viticola) และ ราสนิม (Physopella ampelopsidis) มากที่สุด ในขณะที่พันธุ์ Teleki 5C Ruggeri Ramsey และ 1103 Paulsen มีการเจริญเติบโตทางลำต้น การทนทานต่อสภาพแวดล้อมและการเข้าทำลายของโรคศัตรูองุ่นได้น้อยกว่าทุกพันธุ์ ทั้งนี้ได้มีการสำรวจโรคที่เกิดจากเชื้อรา ที่สามารถเข้าทำลายองุ่นสายพันธุ์จากต่างประเทศ มี 5 ชนิด ได้แก่ โรคราน้ำค้าง เกิดจากเชื้อรา Plasmopara viticola โรคราแป้ง จำแนกได้เป็น Oidium tuckeri โรคแอนแทรกโนส สาเหตุจากเชื้อรา Colettotrichum gloeosporioides โรคสแคป สาเหตุจากเชื้อรา Sphaceloma ampelinum และโรคราสนิม แต่เนื่องจากมีปริมาณน้อยมาก ไม่สามารถนำมาจำแนกเชื้อราสาเหตุได้
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตองุ่น
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย โรคสแคปขององุ่น (Sphaceloma ampelinum de Bary) โครงการวิจัยและพัฒนาส้มเกลี้ยงจังหวัดลำปาง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรด เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตห้อมในพื้นที่จังหวัดแพร่ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตฝรั่ง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตบัวบก โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกลอย โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก