สืบค้นงานวิจัย
การใช้น้ำมันกานพลูเป็นยาสลบสำหรับสัตว์น้ำ
นนทวิทย์ อารีย์ชน, ประพันธ์ศักดิ์ ศรีษะภูมิ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การใช้น้ำมันกานพลูเป็นยาสลบสำหรับสัตว์น้ำ
ชื่อเรื่อง (EN): Application of clove oil as anesthetic for aquatic animals
บทคัดย่อ: การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจของประเทศไทยได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ และเป็นอาชีพที่มีความยั่งยืน สัตว์น้ำที่ดำเนินการเป็นธุรกิจประกอบด้วยสัตว์น้ำที่เป็นอาหาร และสัตว์น้ำสวยงาม การเพาะ เลี้ยงสัตว์น้ำมีกิจกรรมหลายประการที่ก่อให้เกิดความเครียดกับสัตว์น้ำ เช่นการขนส่ง และการกักขังหรือการสัมผัสในกิจกรรมบางอย่าง เช่น การให้วัคซีน และส่งผลให้ปลามีสุขภาพอ่อนแอ เจริญเติบโตช้า และเกิดการติดเชื้อโรค เป็นต้น ทางโครงการจึงทำการศึกษาเพื่อลดระดับความเครียดในสัตว์น้ำ โดยใช้ยาสลบชนิดยูจีนอลสังเคราะห์ เปรียบเทียบกับน้ำมันกานพลู และสาร MS-222 (Tricaine methanesulfonate) เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเครียดกับสัตว์น้ำต่อไป การขนส่งลูกปลานิล (Oreochromis niloticus) แปลงเพศขนาดน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 0.3 กรัม หรือที่เรียกกันว่าปลาขนาดใบมะขาม โดยใช้ยาสลบที่ระยะ sedation พบว่าสามารถรักษาคุณภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าการไม่ใช้ยาสลบ โดยเฉพาะค่าออกซิเจนที่ละลายน้ำ ค่าแอมโมเนีย และค่าไนไตรท์ ทั้งการขนส่งที่จำนวน 1,000 และ 1,200 ตัวต่อถุง บรรจุน้ำ 3 ลิตร เป็นเวลา 6 และ 12 ชั่วโมง อัตรารอดหลังการขนส่งก็มีความแตกต่างกัน เช่นกัน ส่วนการขนส่งปลาสวยงามชนิด ปลาฉลามหางไหม้ (Balantiocheilus melanopterus) ที่ความหนาแน่น 50, 60, 75, 100 และ 125 ตัวต่อถุง ขนส่งเป็นเวลา 24 ชั่วโมง พบว่าการใช้ยาสลบให้ผลดีเฉพาะกับอัตราการขนส่งที่ 100 และ 125 ตัว แต่อัตรารอดหลังการขนส่งจะค่อนข้างต่ำ การทดลองใช้สารยูจีนอลสังเคราะห์ และ MS-222 ในการลดความเครียดของปลานิลขนาดลงเลี้ยงในกระชัง น้ำหนักประมาณ 70 กรัม ที่ทำให้เกิดความเครียดโดยการใส่ปลาในถุงพลาสติกในอัตราหนาแน่น เป็นเวลา 3 ชั่วโมง พบว่าปลานิลที่ใช้ยาสลบมีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ (non-specific immunity) โดยเฉพาะค่า percent phagocytosis สูงกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่การใช้ยาสลบก่อนการฉีดวัคซีนไม่มีผลต่อการตอบสนองแบบจำเพาะ (specific immunity) โดยการประเมินจากค่าแอนติบอดี้ในเลือด และเมื่อศึกษาสภาพความเครียดของปลาจากการตรวจ glucose และฮอร์โมน cortisol ในเลือด พบว่าปลานิลที่ถูกกระตุ้นให้เกิดความเครียดนาน 3 ชั่วโมงโดยใช้ยาสลบมีปริมาณสารทั้งสองชนิดโดยเฉพาะค่า glucose ต่ำกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ซึ่งแสดงถึงระดับความเครียดที่น้อยกว่า ในขณะที่ชุดควบคุมมีปริมาณ glucose และ cortisol ขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง และลดต่ำลงสู่สภาวะปกติภายในเวลา 24 ชั่วโมงหลังจากเกิดความเครียด การทดลองนี้ยังแสดงให้ทราบว่าปริมาณ glucose ในเลือดเป็นค่าที่สามารถใช้ระบุถึงสภาพความเครียดของปลาได้เป็นอย่างดี อีกด้วย การวิจัยครั้งนี้ระบุอย่างชัดเจนถึงแนวทางการใช้ยาสลบเพื่อควบคุมความเครียดที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของปลาที่เป็นอาหารและที่เป็นปลาสวยงาม เช่นการขนส่ง และกิจกรรมอื่น ๆ ที่ต้องกักขังปลาในสภาพที่หนาแน่น โดยอาศัยหลักการใช้ยาสลบเพื่อให้ปลาเข้าสู่สภาวะ sedation (สลบระยะที่ 1) ซึ่งปลาจะมี metabolic activity ลดลงทำให้การใช้ออกซิเจน และการขับถ่าย by product จากกิจกรรมต่าง ๆ ลดน้อยลง ทำให้ปลาเกิดความเครียดน้อยกว่าการไม่ใช้ยาสลบ การทดลองนี้ยังชี้ให้เห็นถึงศักยภาพการขนส่งสัตว์น้ำในปริมาณที่มากขึ้น ทั้งในกรณีปลานิล และปลาฉลามหางไหม้โดยการใช้ยาสลบเพื่อลดต้นทุน เมื่อเปรียบเทียบยาสลบทั้งสามชนิด พบว่าสารยูจีนอลสังเคราะห์มีประสิทธิภาพดีกว่าน้ำมันกานพลูเล็กน้อย ส่วน MS-222 มีประสิทธิภาพต่ำที่สุด การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจของประเทศไทยได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ และเป็นอาชีพที่มีความยั่งยืน สัตว์น้ำที่ดำเนินการเป็นธุรกิจประกอบด้วยสัตว์น้ำที่เป็นอาหาร และสัตว์น้ำสวยงาม การเพาะ เลี้ยงสัตว์น้ำมีกิจกรรมหลายประการที่ก่อให้เกิดความเครียดกับสัตว์น้ำ เช่นการขนส่ง และการกักขังหรือการสัมผัสในกิจกรรมบางอย่าง เช่น การให้วัคซีน และส่งผลให้ปลามีสุขภาพอ่อนแอ เจริญเติบโตช้า และเกิดการติดเชื้อโรค เป็นต้น ทางโครงการจึงทำการศึกษาเพื่อลดระดับความเครียดในสัตว์น้ำ โดยใช้ยาสลบชนิดยูจีนอลสังเคราะห์ เปรียบเทียบกับน้ำมันกานพลู และสาร MS-222 (Tricaine methanesulfonate) เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเครียดกับสัตว์น้ำต่อไป การขนส่งลูกปลานิล (Oreochromis niloticus) แปลงเพศขนาดน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 0.3 กรัม หรือที่เรียกกันว่าปลาขนาดใบมะขาม โดยใช้ยาสลบที่ระยะ sedation พบว่าสามารถรักษาคุณภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าการไม่ใช้ยาสลบ โดยเฉพาะค่าออกซิเจนที่ละลายน้ำ ค่าแอมโมเนีย และค่าไนไตรท์ ทั้งการขนส่งที่จำนวน 1,000 และ 1,200 ตัวต่อถุง บรรจุน้ำ 3 ลิตร เป็นเวลา 6 และ 12 ชั่วโมง อัตรารอดหลังการขนส่งก็มีความแตกต่างกัน เช่นกัน ส่วนการขนส่งปลาสวยงามชนิด ปลาฉลามหางไหม้ (Balantiocheilus melanopterus) ที่ความหนาแน่น 50, 60, 75, 100 และ 125 ตัวต่อถุง ขนส่งเป็นเวลา 24 ชั่วโมง พบว่าการใช้ยาสลบให้ผลดีเฉพาะกับอัตราการขนส่งที่ 100 และ 125 ตัว แต่อัตรารอดหลังการขนส่งจะค่อนข้างต่ำ การทดลองใช้สารยูจีนอลสังเคราะห์ และ MS-222 ในการลดความเครียดของปลานิลขนาดลงเลี้ยงในกระชัง น้ำหนักประมาณ 70 กรัม ที่ทำให้เกิดความเครียดโดยการใส่ปลาในถุงพลาสติกในอัตราหนาแน่น เป็นเวลา 3 ชั่วโมง พบว่าปลานิลที่ใช้ยาสลบมีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ (non-specific immunity) โดยเฉพาะค่า percent phagocytosis สูงกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่การใช้ยาสลบก่อนการฉีดวัคซีนไม่มีผลต่อการตอบสนองแบบจำเพาะ (specific immunity) โดยการประเมินจากค่าแอนติบอดี้ในเลือด และเมื่อศึกษาสภาพความเครียดของปลาจากการตรวจ glucose และฮอร์โมน cortisol ในเลือด พบว่าปลานิลที่ถูกกระตุ้นให้เกิดความเครียดนาน 3 ชั่วโมงโดยใช้ยาสลบมีปริมาณสารทั้งสองชนิดโดยเฉพาะค่า glucose ต่ำกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ซึ่งแสดงถึงระดับความเครียดที่น้อยกว่า ในขณะที่ชุดควบคุมมีปริมาณ glucose และ cortisol ขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง และลดต่ำลงสู่สภาวะปกติภายในเวลา 24 ชั่วโมงหลังจากเกิดความเครียด การทดลองนี้ยังแสดงให้ทราบว่าปริมาณ glucose ในเลือดเป็นค่าที่สามารถใช้ระบุถึงสภาพความเครียดของปลาได้เป็นอย่างดี อีกด้วย การวิจัยครั้งนี้ระบุอย่างชัดเจนถึงแนวทางการใช้ยาสลบเพื่อควบคุมความเครียดที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของปลาที่เป็นอาหารและที่เป็นปลาสวยงาม เช่นการขนส่ง และกิจกรรมอื่น ๆ ที่ต้องกักขังปลาในสภาพที่หนาแน่น โดยอาศัยหลักการใช้ยาสลบเพื่อให้ปลาเข้าสู่สภาวะ sedation (สลบระยะที่ 1) ซึ่งปลาจะมี metabolic activity ลดลงทำให้การใช้ออกซิเจน และการขับถ่าย by product จากกิจกรรมต่าง ๆ ลดน้อยลง ทำให้ปลาเกิดความเครียดน้อยกว่าการไม่ใช้ยาสลบ การทดลองนี้ยังชี้ให้เห็นถึงศักยภาพการขนส่งสัตว์น้ำในปริมาณที่มากขึ้น ทั้งในกรณีปลานิล และปลาฉลามหางไหม้โดยการใช้ยาสลบเพื่อลดต้นทุน เมื่อเปรียบเทียบยาสลบทั้งสามชนิด พบว่าสารยูจีนอลสังเคราะห์มีประสิทธิภาพดีกว่าน้ำมันกานพลูเล็กน้อย ส่วน MS-222 มีประสิทธิภาพต่ำที่สุด
บทคัดย่อ (EN): Many activities associated with aquaculture can cause serious stressful condition in both food and ornamental fish such as transportation or handling for vaccination etc. Stress can deteriorate the health condition and lead to the growth retard or disease outbreaks. This study revealed the investigation on the potential usage of synthetic eugenol, clove oil and tricaine methanesulfonate (MS-222) as anesthetic to reduce the metabolic activity as a mean to control the stress response. The study on transportation of tilapia (Oreochromis niloticus Linnaeus) fry with average weight of 0.3 g at 1,000 and 1,200 fry per bag (with 3 liters of water) for 6 and 12 hrs indicated that the addition of synthetic eugenol, clove oil and MS-222 at sedation stage concentration could significantly maintain the water condition in the bags including dissolved oxygen, total ammonia nitrogen and nitrite due to lowered metabolic activity of sedated fish. Survival rates after transportation and 7 days after were also significantly higher in the sedated fish. Transportation of ornamental fish, Bala shark Balantiocheilus melanopterus was conducted in the plastic bag holding about 3 liter of water with stocking density of 50, 60, 75, 100 and 125 fish per bag. Additional of anesthetics did not affect the 50, 60 and 75 fish density in term of survival rates but it significantly improved the survival rates of 100 and 125 fish per bag after 24 hr transportation. Benefits of stress control by anesthetics were also investigated by the study on non-specific and specific immunity of Nile tilapia. Stress induction by three hours with the addition of synthetic eugenol and MS-222 in the water did cause the significant differences of percent phagocytosis when compared with the control. While the application of anesthetics before Streptococcus agalactiae vaccination did not cause any difference of antibody titer of both primary and secondary immune response. Serum glucose and cortisol analysis did clearly show that anesthetics could reduce the stress condition in tilapia. Serum glucose and serum cortisol of sedated fish were significantly lowered than the control especially at the first hour after stress induction. It was interesting to note that it took about 24 hrs for the level of glucose and cortisol of control fish to drop to normal level. It appeared from this study that serum glucose is a good indicator of stress in Nile tilapia. The result from this study revealed the benefits of anesthetics as an effective mean of stress control which can be used for many activities of aquaculture such as transportation or handling of both food and ornamental fish. It also indicated that the efficacy of synthetic eugenol as anesthetic in Nile tilapia and Bala shark was higher than clove oil and MS-222. Many activities associated with aquaculture can cause serious stressful condition in both food and ornamental fish such as transportation or handling for vaccination etc. Stress can deteriorate the health condition and lead to the growth retard or disease outbreaks. This study revealed the investigation on the potential usage of synthetic eugenol, clove oil and tricaine methanesulfonate (MS-222) as anesthetic to reduce the metabolic activity as a mean to control the stress response. The study on transportation of tilapia (Oreochromis niloticus Linnaeus) fry with average weight of 0.3 g at 1,000 and 1,200 fry per bag (with 3 liters of water) for 6 and 12 hrs indicated that the addition of synthetic eugenol, clove oil and MS-222 at sedation stage concentration could significantly maintain the water condition in the bags including dissolved oxygen, total ammonia nitrogen and nitrite due to lowered metabolic activity of sedated fish. Survival rates after transportation and 7 days after were also significantly higher in the sedated fish. Transportation of ornamental fish, Bala shark Balantiocheilus melanopterus was conducted in the plastic bag holding about 3 liter of water with stocking density of 50, 60, 75, 100 and 125 fish per bag. Additional of anesthetics did not affect the 50, 60 and 75 fish density in term of survival rates but it significantly improved the survival rates of 100 and 125 fish per bag after 24 hr transportation. Benefits of stress control by anesthetics were also investigated by the study on non-specific and specific immunity of Nile tilapia. Stress induction by three hours with the addition of synthetic eugenol and MS-222 in the water did cause the significant differences of percent phagocytosis when compared with the control. While the application of anesthetics before Streptococcus agalactiae vaccination did not cause any difference of antibody titer of both primary and secondary immune response. Serum glucose and cortisol analysis did clearly show that anesthetics could reduce the stress condition in tilapia. Serum glucose and serum cortisol of sedated fish were significantly lowered than the control especially at the first hour after stress induction. It was interesting to note that it took about 24 hrs for the level of glucose and cortisol of control fish to drop to normal level. It appeared from this study that serum glucose is a good indicator of stress in Nile tilapia. The result from this study revealed the benefits of anesthetics as an effective mean of stress control which can be used for many activities of aquaculture such as transportation or handling of both food and ornamental fish. It also indicated that the efficacy of synthetic eugenol as anesthetic in Nile tilapia and Bala shark was higher than clove oil and MS-222.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/291439
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้น้ำมันกานพลูเป็นยาสลบสำหรับสัตว์น้ำ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2551
เอกสารแนบ 1
การใช้ประโยชน์สัตว์น้ำและวิถีการตลาดสินค้าสัตว์น้ำจากหนองหาร จังหวัดสกลนคร ปริมาณน้ำอิสระในอาหารสำเร็จรูปสำหรับสัตว์น้ำ การใช้จุลินทรีย์เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำในตู้เลี้ยงสัตว์น้ำ การใช้ไรน้ำนางฟ้าเพื่อเป็นอาหารสัตว์น้ำเศรษฐกิจในจังหวัดตรัง การใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ (พด. 6) เพื่อการกำจัดกลิ่นและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มสัตว์น้ำ ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำอิสระกับความชื้นในอาหารสำเร็จรูปสำหรับสัตว์น้ำ การใช้เทคโนโลยีทางเลือกเพื่อผลิตสัตว์น้ำอย่างปลอดภัยและยั่งยืน การใช้สารสกัดจากสบู่ดำในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หนังสือเมนูจากสัตว์น้ำ การใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำของชุมชนในบริเวณแม่น้ำชี
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก