สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
ธัชธาวินท์ สะรุโณ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
ชื่อเรื่อง (EN): Modeling Development of Appropriate Cropping Systems for Sufficiency Economy in Lower Southern Area
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธัชธาวินท์ สะรุโณ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ธัชธาวินท์ สะรุโณ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างมี วัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการจัดกระบวนการผลิตพืชผสมผสานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงที่เหมาะสมกับภูมิสังคมที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีสมัยใหม่กับภูมิปัญญาท้องถิ่นของครัวเรือนเกษตรกร และพัฒนาครัวเรือนเกษตรกรต้นแบบการปลูกพืชตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงบูรณาการแบบองค์รวม (Holistically Integrative Research) ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดพัทลุงและสงขลา ระหว่างปี 2551-2553 ผลการวิจัยพบว่า การจัดกระบวนการผลิตพืชผสมผสานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงให้ประสบความสำเร็จจำเป็นจะต้องมีการสร้างวาทกรรม “4 เสาหลักสู่ความพอเพียง” ได้แก่ “หัวใจพอเพียง” “ภูมิปัญญาภิวัฒน์พอเพียง” “9 พืชผสมผสานพอเพียง” และ “ดำรงชีพพอเพียง” เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างรูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาระบบการผลิตพืช โดยกุญแจที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนา จะต้องจัดทำแปลงต้นแบบระบบปลูกพืชในไร่นา พร้อมๆกับการจัดกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยการจัด “เวทีวิจัยสัญจร” ให้มีการแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาระหว่างเกษตรกรกับเกษตรกรและนักวิจัยในไร่นาเกษตรกรหมุนเวียนเดือนละครั้ง การสร้างอัตลักษณ์ ความเป็นตัวตนของเกษตรกรผู้นำ การสร้างแปลงต้นแบบการปลูกพืชตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การจัดกระบวนการเผยแพร่ผลงานและข้อมูลข่าวสารสู่สาธารณะ การจัดกิจกรรมและค่ายพัฒนาพฤติกรรมเพื่อเพิ่มทุนมนุษย์และทุนทางสังคม ซึ่งผลจากการพัฒนาดังกล่าวทำให้เกษตรกรมี “หัวใจพอเพียง” คือ เกิดความตั้งใจที่ใช้ชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากการส่งเสริมการเรียนรู้และน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต มีการปลูกพืชผสมผสานที่เพียงพอกับความต้องการตามแนวทาง “9 พืชผสมผสานพอเพียง” คือ มีการปลูกพืช 9 กลุ่มพืช ได้แก่กลุ่มพืชรายได้ พืชอาหาร พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ พืชสมุนไพรกำจัดศัตรูพืช พืชอาหารสัตว์ ไม้ใช้สอย พืชอนุรักษ์ดินและน้ำ พืชอนุรักษ์พันธุ์กรรม และพืชพลังงาน ผลจากการดำเนินงานทำให้เกษตรกรสามารถพัฒนาการผลิตพืชได้เพิ่มขึ้นจาก 22 ชนิด เป็น 58 ชนิด หรือเพิ่มขึ้น 36 ชนิด เกษตรกรมี “ภูมิปัญญาภิวัฒน์พอเพียง” คือพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นหลายภูมิปัญญา เช่น การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูมะระด้วยกับดักกาวเหนียว การป้องกันกำจัดศัตรูถั่วฝักยาวด้วยสารสกัดจากพืช การใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกข้าว มันเทศ แตงกวา แตงโม ข้าวโพดหวาน ยางพารา การปลูกพืชต่างระดับ 4 ชั้น ในสวนยางพารา และบริเวณบ้าน และการจัดการสวนยางพารา พืชผักและกระชายดำแบบอินทรีย์ ผลจากการพัฒนาได้ทำให้เกิด “การดำรงชีพพอเพียง” คือสามารถเกิดความพอเพียงในการดำรงชีพเพิ่มขึ้น
บทคัดย่อ (EN): The development of Cropping Systems Modeling if for Sufficiency Economy in Lower Southern. Research aims to find a model for integrated systems of crop production under sufficiency economy , appropriate technology combined with social, ecology, modern technology, local knowledge and develop a master farmer households planting along the sufficiency economy . Research Methodology used the Holistically Integrative Research approach in the province, Phatthalung During the year 2008-2010. The results showed that the appropriate modeling in the development of crop production under sufficiency economy is a process plant production by the discourse " 4 pillar to the sufficiency" as " Sufficiency heart " " Sufficiency knowledge " " Sufficiency 9 Integrated Plant " and " sufficiency livelihood ".The key to the success of the development is required to conduct the field along with the process of social movements such as " On-Farm Discussion " to exchange of knowledge between farmers to farmers and researchers in the farmers fields, rotate once a month. Creating their own identity as a master farmer , process and disseminate information to the public, camp activities and behaviors to develop human capital and social capital. Results of research and development have made the farmers more sufficiency. such as " Sufficiency heart " is the intention of living under the sufficiency economy philosophy. " Sufficiency 9 Integrated Plant" is a plant in 9 groups plants including, income, food, health, pest, feed , living wood, soil and water conservation, local conservation , and energy crops. Farmers can improve crop production has increased from 22.2 to 58.5 species, up 6.3 Type species. “ Sufficiency knowledge " is the development of appropriate technology with local knowledge such as Management of insect pests with sticky glue traps, plant extracts. , the use of chemical fertilizer and organic fertilizer in rice, sweet potato, cucumber, Bitter cucumber-chinese , watermelon, sweet corn, rubber. Crop levels 4-storey at house and rubber plantations and Organic farming plantations. "sufficient livelihood" is to the adequacy of living increase from moderate to high level . Average income is 140,304 baht per year, income from crops increased 2.1 percent, total expenditures decreased 16.1 percent and agriculture expenditures decreased 56.0 percent. And farmers have developed sufficient higher than most neighboring list. Results of research have created a model farm households planting along the sufficiency of the 11 patients have a role in the development of society and communities in the area. And the importance of research to create new knowledge on " 4 pillars to the sufficient" to be used with the application of Sufficiency economy philosophy in agricultural crops. And can also be applied to drive the development of the sufficiency economy philosophy with people of various sectors of society, particularly young people, students and the general public to study in Research station and by farmers master more than 11,000 people.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการวิจัยพัฒนารูปแบบระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ การศึกษาทิศทางและการพัฒนาสภาพการเลี้ยงแกะในระบบเศรษฐกิจพอเพียงพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาสภาพการเลี้ยงการตลาดแพะในระบบเศรษฐกิจพอเพียงพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก