สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพของสารเคมีในการป้องกันกำจัดโรครากแดงกับต้นกล้ายาง
อุไร จันทรประทิน - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพของสารเคมีในการป้องกันกำจัดโรครากแดงกับต้นกล้ายาง
ชื่อเรื่อง (EN): Screening of Fungicides Effectiveness on Red Root Disease of Rubber in Seedling Stage
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อุไร จันทรประทิน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ประสิทธิภาพของสารเคมีในการป้องกันกำจัดโรครากแดงกับต้นกล้ายางเป็นการศึกษาหาชนิดของสารเคมี และวิธีการใช้ที่ได้ผลดีที่สุดในการป้องกันและรักษาโรครากแดงกับต้นกล้ายางหรือยางเล็ก ดำเนินการในปี 2537-2540 ที่ศูนย์วิจัยยางสงขลา ทำการทดลองโดยใช้สารเคมี 3 ชนิด ชนิดละ 3 วิธีการ คือ cyproconazole (Alto 100) propiconazole (Tilt 100 Ec) และ tridemorph (Calixin) ผสมน้ำ ผสมน้ำมันพืช และผสม shell tree dressing (STD) ใช้สารเคมีอัตรา 7.5% (โดยปริมาตร) เท่ากันทุกวิธีการ ใช้ต้นกล้ายางอายุ 10 เดือน แช่ในสารเคมีผสมน้ำ 5 นาที หรือทาด้วยสารเคมีผสมน้ำมันปาล์มดิบ หรือสารเคมีผสม STD แล้วนำไปปลูกในบ่อซีเมนต์ ซึ่งฝังท่อนเชื้อโรครากแดงไว้บ่อละ 4 จุด แต่ละจุดปลูกต้นกล้ายาง 5 ต้น ใช้สารเคมีซ้ำทุก 6 เดือน โดยวิธีการผสมน้ำ ใช้สารเคมีเทราดรอบๆโคนต้นยาง ส่วนวิธีผสมน้ำมันปาล์มดิบและผสม STD ใช้วิธีขุดดินรอบโคนต้นให้เห็นรากแล้วใช้แปรงจุ่มสารเคมีทารอบๆโคนราก แล้วกลบดิน ผลการทดลองหลังใส่สารเคมีครบ 4 ครั้ง และติดตามผลหลังจากหยุดใส่สารเคมีอีกประมาณ 1 ปี ครึ่ง พบว่า สารเคมีและวิธีใช้ที่ได้ผลดีที่สุดในระดับที่แตกต่างกับวิธีการเปรียบเทียบคือ cyproconazole อัตรา 7.5% ผสม STD มีต้นตายประมาณ 10-20% รองลงมาคือ tridemorph อัตรา 7.5% ผสม STD มีต้นตายประมาณ 20-25% ส่วนวิธีการอื่นๆได้ผลไม่ต่างกับวิธีการเปรียบเทียบ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพของสารเคมีในการป้องกันกำจัดโรครากแดงกับต้นกล้ายาง
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การทดสอบประสิทธิภาพสารเคมีป้องกันกำจัดโรคราสนิม การทดสอบประสิทธิภาพสารเคมีป้องกันกำจัดโรคขอบใบแห้งของข้าว พืชอาศัยเชื้อราโรครากแดงของยางพารา ศึกษาประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ต่อต้านในการป้องกันกำจัดโรคยางพาราที่สำคัญ ประสิทธิภาพของสารเคมีในการป้องกันกำจัดโรครากสีน้ำตาล ประสิทธิภาพของไคโตซานต่อการควบคุมโรคใบร่วงของต้นกล้ายางพารา ประสิทธิภาพการควบคุมโรคลำต้นเน่าของยางชำถุงด้วยสารเคมี การวิจัยการใช้สารเคมีที่เหมาะสมในการผลิตยาง การวิจัยเครื่องถอนต้นกล้ายางพารา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก