สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องอบแห้งมันเส้น
นิทัศน์ ตั้งพินิจกุล - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องอบแห้งมันเส้น
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of Machinery for Cassava Chip Drying
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: นิทัศน์ ตั้งพินิจกุล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยนี้ประกอบด้วย 2 โครงการ คือ 1) การวิจัยและพัฒนาเครื่องสับหัวมันสำปะหลังให้เป็นแบบเต๋า และ 2)วิจัยและพัฒนาเครื่องอบแห้งมันเส้นแบบโรตารี่ขนาดระดับชุมชน 1) การวิจัยและพัฒนาเครื่องสับหัวมันสำปะหลังให้เป็นแบบเต๋า เพื่อพัฒนาต่อยอดการผลิตมันเส้นสะอาด จากกระบวนการอบแห้ง เนื่องจากการอบแห้งมันเส้นประสบปัญหาของเรื่องขนาดชิ้นมันที่นําไปอบแห้งไม่มีความ สม่ำเสมอ ส่งผลต่อการอบแห้ง เช่น เวลาที่ใช้การเกิดเจลในชิ้นมันที่มีความหนามากๆ อุณหภูมิที่ใช้ในการอบแห้ง ซึ่งจากการวิจัยและพัฒนาเครื่องสับมันสําปะหลังให้เป็นแบบเต๋า พบว่า สามารถสับหัวมันสําปะหลังให้มีลักษณะ สมมาตรได้ที่หน้าตัดชิ้นมันขนาด 1x1 ซม และความยาว 2-5 ซม ในสมรรถนะ 1.94 ตันต่อชั่วโมง โดยใช้ต้นกําลัง มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 22 กิโลวัตต์ ( 30 แรงม้า) มีประสิทธิภาพในการสับได้ขนาดชิ้นมันที่เหมาะสม 81.75 % (หลัง การอบแห้ง) และสามารถนําไปใช้กับกลุ่มเกษตรกรครอบคลุมพื้นที่ 907 ไร่ต่อปี 2) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องอบแห้งแบบโรตารีสำหรับอบลดความชื้นมันเส้น ที่ออกแบบมีขนาดความจุ 7,000 กิโลกรัม ตัวเครื่องอบประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ คือ 1) ถังอบแห้งที่มีการวางท่อลมกระจายความร้อนการอบแห้งดี ขับเคลื่อนการหมุนถังอบด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 5 กิโลวัตต์ 2) พัดลมแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ ต้นกำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้า 3.5 กิโลวัตต์ 3) แหล่งความร้อนจากแก๊สหุงต้ม ผลการทดสอบอบแห้งมันเส้นสด 7,000 กิโลกรัม ที่อุณหภูมิลมร้อน 70 องศาเซลเซียส ใช้เวลาอบแห้ง 12 ชั่วโมง ที่ความชื้นมันเส้นเริ่มต้น 62 % ลดลงเหลือ 13% อัตราการใช้แก๊ส 5 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ได้มันเส้นอบแห้ง 3,057 กิโลกรัม คิดเป็นสัดส่วนมันเส้นสดต่อมันเส้นอบแห้ง 2.29:1
บทคัดย่อ (EN): This research project had 2 topic was 1) research and Development of a Cassava Dicer machine and 2) research and development of a cassava chip rotary dryer for farmer scale. 1) The objective of the research and development of a cassava dicer machine was to develop the clean cassava chip after drying process. The problem was the difference size of cassava chip which affected the drying process such as drying time, thick gelatinization layer and drying temperature. The result of the research and development of a cassava dicer machine showed the cassava can be cut to 1x1 cm of cross section and 2-5 cm length with capacity 1.94 ton per hour. The electricity was 22 kW (30 hp) and the cutting efficiency for suitable piece was 81.75% (after drying). The machine can be used to agriculture in the area of 907 rai per year. 2) The objective of this study is to design and develop a rotary dryer to dehydrate cassava chip. Dryer capacity was designed 7,000 kg/batch. A dryer composes of 3 main parts; 1) A dryer’s drum was hot air duct installed for a good hot air distribution and was rotated by 5 kw electric motor. 2) A centrifugal fan powered by 3.5 kw electric motor. 3) A LPG burner set was designed for drying heat source. Results of fresh cassava chip drying 7,000 kg at 70 degree Celsius of hot air was drying time was 12 hours started at 62% moisture content of cassava chip reduced to 13%. The LPG consumption rate was 5 kg/hr. Weight of dried cassava chip was 3,057 kg. The proportion of fresh cassava chip per dried cassava chip was 2.29:1.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องอบแห้งมันเส้น
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
สร้างและทดสอบเครื่องอบแห้งแผ่นยางพาราด้วยไมโครเวฟ โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรสำหรับทำมันเส้นสะอาด การศึกษาและพัฒนาเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์ลมสำหรับอบแห้งพริก ในตำบลนางาม อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ การพัฒนาเครื่องปลูกมันสำปะหลัง โครงการวิจัยและพัฒนาการตรวจสอบปริมาณแป้งในหัวมันสำปะหลังสด โครงการวิจัยและพัฒนาการปรับปรุงพันธุ์ดาหลา โครงการวิจัยและพัฒนาข้าวฟ่าง โครงการวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ โครงการวิจัยและพัฒนาชาน้ำมัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก