สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาโครงการแปรรูปผลผลิตเกษตรเชิงธุรกิจขนาดย่อมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร
พะเยาว์ รัตนวิบูลย์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาโครงการแปรรูปผลผลิตเกษตรเชิงธุรกิจขนาดย่อมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พะเยาว์ รัตนวิบูลย์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาโครงการแปรรูปผลผลิตเกษตรเชิงธุรกิจขนาดย่อมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเป็นการวิเคราะห์โครงการ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มประชากรศึกษาด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ซึ่งตัวอย่างประชากรที่สัมภาษณ์เป็นคณะกรรมการบริหารกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่แปรรูปจากผลผลิตจากพืช เช่น พริก กระเทียม กล้วย ส้มโอ ถั่วเหลือง ข้าว อ้อย มะพร้าว และพืชสมุนไพร เป็นต้น ตลอดจนผลิตผลจากสัตว์ คือ ไข่เป็ด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะโครงสร้างการบริการองค์กร และลักษณะการดำเนินงานของกลุ่มวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต ผลตอบแทนและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ผลการดำเนินงานในด้านระยะเวลาคืนทุนและตอบแทนการลงทุนของผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายโดยทั่วไป กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรภาคต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 14 กลุ่ม ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่ดำเนินธุรกิจ โดยการจำหน่ายผลิตผลการเกษตร จำแนกตามกลุ่มพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบดังนี้ พืชสวน วัตถุดิบที่ใช้ เช่น พริก ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปเพื่อเป็นสินค้าจำหน่ายมีหลายชนิด เช่น พริกแกง (กาญจนบุรี, เพชรบุรี) และน้ำพริกประเภทต่าง ๆ (สมุทรสาคร) เป็นต้น เป็นการดำเนินธุรกิจที่การลงทุนน้อยระยะคืนทุนนั้นมาก และเป็นธุรกิจที่ดีมาก อย่างไรก็ตาม ธุรกิจ ประเภทนี้ยังสามารถขยายตัวได้อีก เนื่องจากการผลิตในปัจจุบันยังต่ำกว่ากำลังผลิตที่ควรจะเป็น พืชไร่ วัตถุดิบที่ใช้ เช่น ข้าว ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าจำหน่าย คือ ข้าวซ้อมมือ (แม่ฮ่องสอน) ซึ่งเป็นแปรรูปผลผลิตการเกษตร โดยไม่ต้องแปรสภาพจากวัสดุเดิมมาก ใช้อุปกรณ์เพียงเครื่องกะเทาะเปลือกและเครื่องโม่ไฟฟ้า สำหรับการบรรจุผลิตภัณฑ์ใช้เครื่องผนึกถุงแบบใช้เท้าเหยียบ ผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์นี้ขึ้นกับข้าวเปลือก ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีต้นทุนผันแปรที่สำคัญที่สุด (ร้อยละ 91.34) ดังนั้น ในกรณีที่ต้นทุนผันแปรไม่สูงเกินไป ธุรกิจนี้ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสามารถยึดเป็นธุรกิจที่มีลู่ทางแจ่มใสในอนาคตได้ เนื่องจากเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ผลิตผลจากสัตว์ วัตถุดิบที่ใช้ คือ ไข่เป็ด ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าจำหน่าย คือ ไข่เค็มพอก (แม่ฮ่องสอน) เป็นธุรกิจที่สามารถดำเนินการได้เกือบตลอดทั้งปี จะผลิตได้น้อยในช่วงเดือนกรกฏาคมถึง กันยายน ต้นทุนผันแปรที่สำคัญ คือ ไข่เป็ด (ร้อยละ 66.31) กลุ่มสามารถผลิตได้ประมาณ 3,500 กล่องต่อปี ธุรกิจดังกล่าวมีปัญหาเรื่องการจัดกาการวัตถุดิบยังไม่เพียงพอกับความต้องการและคุณภาพของไข่เปิดที่ซื้อแต่อย่างไรก็ตาม ธุรกิจนี้ก็เป็นอาชีพเสริมและเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรและชุมชนได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาธุรกิจการแปรรูปผลผลิตการเกษตรของกลุ่มแม่บ้าน ปรากฎว่าเป็นอาชีพหรือกิจกรรมที่ดำเนินเพื่อเสริมอาชีพการเกษตรที่ตนดำเนินอยู่ ผลิตภัณฑ์บางชนิด เช่น กระเทียมดอง หรือกระเทียมตากแห้ง (นครพนม) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรยังไม่สามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปัญหาวัตถุดิบขึ้นอยู่กับฤดูกาล หรือในกรณีการผลิตพริกแกง (เพชรบุรี) สามารถหาวัตถุดิบได้ต่อเนื่องตลอดปี แต่ในปัจจุบันยังมีปัญหาในด้านสถานที่เก็บวัตถุดิบตลอดจนการควบคุมคุณภาพของพริกแกง หรือในกรณีการผลิตอ้อยคั้นน้ำ (นครนายก) ก็จะเกิดปัญหาใกล้เคียงกัน คือ วัตถุดิบมีเป็นช่วง ๆ หรือฤดูทำให้เครื่องหีบอ้อยใช้งานไม่เต็มที่ เพราะมีอายุการใช้งาน 8 ปี นอกจากนี้ในการดำเนินธุรกิจกลุ่ม บางกลุ่มจะเป็นลักษณะร่วมแรงร่วมใจแต่กลับมีปัญหาเรื่องตลาด ในขณะเดียวกันจะมีลักษณะตัวแทนที่เด่นเพียง 3-4 คนเท่านั้น ทำให้การดำเนินธุรกิจในรูปกลุ่มจะเป็นลักษณะไม่เข้มแข็งและต่อเนื่องเท่าที่ควร จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเสมือนปัญหาขั้นพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น การดำเนินธุรกิจของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจะเป็นไปได้เพียงใดไม่ใช่เพียงผลิตผลิตภัณฑ์และจำหน่ายได้และอยู่ในระดับคุ้มทุน แต่ควรคำนึงถึงความสม่ำเสมอของผลผลิตที่ จำหน่าย การควบคุมคุณภาพ การพัฒนาสินค้า ตลอดจนการรู้จักบริหารองค์กรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรและ การจัดการธุรกิจกลุ่มให้เข้มแข็งและนำพาสู่ความสำเร็จ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาโครงการแปรรูปผลผลิตเกษตรเชิงธุรกิจขนาดย่อมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร
กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปผลผลิตเกษตรเชิงธุรกิจขนาดย่อมศึกษาเฉพาะกรณีกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหัวแรต ตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ความต้องการฝึกอบรมการแปรรูปผลผลิตเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ความต้องการฝึกอบรมการแปรรูปผลผลิตเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปผลผลิตเกษตรเชิงธุรกิจขนาดย่อม ในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชุมชนวัดขุนก้อง ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรเชิงธุรกิจของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี การมีส่วนร่วมในกิจกรรมแปรรูปผลผลิตเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ในกลุ่มประสบผลสำเร็จระดับดี และระดับปานกลาง จังหวัดราชบุรี ความต้องการฝึกอบรมการแปรรูปผลผลิตเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ปี พ.ศ. 2546 อำเภอกู่สิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ การจัดการธุรกิจการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย การดำเนินงานในการผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรปี 2546 ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก