สืบค้นงานวิจัย
การวิจัยอย่างมีส่วนร่วมต่อการจัดภูมิทัศน์วัดในเขตเวียงโบราณ กรณีศึกษา วัดสองแคว กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่
ลักษณา สัมมานิธิ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การวิจัยอย่างมีส่วนร่วมต่อการจัดภูมิทัศน์วัดในเขตเวียงโบราณ กรณีศึกษา วัดสองแคว กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Participatory research for landscape design of a temple located within an ancient city: The case study of Wat Song Kwuay, Doi Lor subdistrict, Chiang Mai
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ลักษณา สัมมานิธิ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Luxsana Summarniti
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนได้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาภูมิทัศน์วัดในเขตเวียงโบราณ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดภูมิทัศน์วัดที่ส่งเสริมต่อความสําคัญและความเป็นมาทางประวัติศาสตร์วิธีการวิจัยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากวัดประชาชนในชุมชน หน่วยงานท้องถิ่น และสถาบันการศึกษาแนวความคิดในการออกแบบปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางภูมิทัศน์ประยุกต์ใช้แนวทางการออกแบบเพื่อคงไว้ซึ่่งเอกลักษณ์วัฒนธรรม กิจกรรม และวิถีชีวิตของผู้คนที่มีต่อวัด โดยยังคงรูปแบบผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน สิ่งก่อสร้างและพรรณไม้เดิมไว้ ทั้งหมด เน้นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มีความร่มรื่น สวยงาม ไม่ส่งผลกระทบต่อโบราณสถาน รวมถึงใช้พื้นที่สีเขียว เป็นขอบเขตพื้นที่ใช้สอยส่วนต่างๆการปรับปรุงพื้นผิวทางสัญจรทั้งภายในและภายนอกวัดให้มีความชัดเจนขึ้น สิ่งประกอบบริเวณทางภูมิทัศน์มีแนวคิดที่ยังคงรูปแบบพื้นถิ่นไว้ ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ หรือมีจำนวนมากเกินไป จากผลการวิจัยคณะผู้วิจัยได้จัดทําแบบก่อสร้างนําเสนอต่อหน่วยงานท้องถิ่นและบุคคลที่เกี่ยวข้องให้สามารถนําผลการวิจัยไปทําการออกแบบปรับปรุงให้เป็นจริงได้ต่อไป
บทคัดย่อ (EN): This is an applied research aiming to encourage the participation among villagers in the landscape development of the temple located within the ancient city. The method focused on a participatory process of all related sectors, including the temple, the villagers, a local government, and education institute. The landscape design and improvement concept was design guidelines to maintain unique characteristics, culture, activities, and people’s life style related to the temple while, existing land use planning, structure, and all planting were still preserved as the same. The design focused on the extension of the temple’s green areas to create shady and graceful scenery without any impact to an archeology site. Moreover, these green areas were used as boundaries of function spaces. Surface of circulation paths both inside and outside were distinctly improved. The typical detail was designed to preserve local style. The size and amount of path were kept to mimicries. The research team finally produced a construction drawing and cost estimation that were submitted to the local government agencies and stakeholders for implementations.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะผลิตกรรมการเกษตร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-48-014
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 115,100
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
เอกสารแนบ: https://kukrdb.lib.ku.ac.th/proceedings/KUCON/search_detail/result/10737
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2548
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิจัยอย่างมีส่วนร่วมต่อการจัดภูมิทัศน์วัดในเขตเวียงโบราณ กรณีศึกษา วัดสองแคว กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2548
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ โรงเรียนประถมศึกษาระดับท้องถิ่นกรณีศึกษา: โรงเรียนในเขตกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ การสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวอินทรีย์ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โครงการวิจัยและพัฒนาการทำการเกษตรเชิงอนุรักษ์ภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านหนองแหวน และชุมชนบ้านระหาร ตำบลห้วยสะแก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โครงการดูแลรักษาพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับและภูมิทัศน์ ศักยภาพการผลิตสินค้าการเกษตรอินทรีย์สู่มาตรฐานสากล ของ จังหวัดเชียงใหม่ ผลกระทบของการถ่ายทอดเทคโนโลยยีเกษตรต่อครอบครัวเกษตรกรชนบทในจังหวัดเชียงใหม่ ความรู้เกี่ยวกับผักพื้นบ้านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เหมาะสมของเส้นทางสายแม่ริม-สะเมิง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบการพัฒนาเกษตรอินทรีย์เชิงนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพแก่ผู้พิการในจังหวัดเชียงใหม่ ศึกษาแนวโน้มความต้องการการบริโภคเนื้อคุณภาพสูงและเนื้อคุณภาพปานกลางภายในจังหวัดเชียงใหม่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก