สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์ลองกองและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
กรมวิชาการเกษตร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์ลองกองและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ชื่อเรื่อง (EN): Research on breeding program and production technology for longkong
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรมวิชาการเกษตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การรวบรวมและคัดเลือกสายต้นลองกองพันธุ์ดี มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและคัดเลือกสายต้นลองกองพันธุ์ดีเด่นสำหรับใช้เป็นต้นแม่พันธุ์ในการขยายพันธุ์สู่เกษตรกร ดำเนินการคัดเลือกสายต้นลองกองพันธุ์ดีในแปลงทดลองของศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง และสวนเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี สงขลา พัทลุง และนราธิวาส ตั้งแต่ปี 2554-2556 โดยทำการคัดเลือกต้นตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี สามารถคัดเลือกสายต้นลองกองพันธุ์ดีได้ 33 สายต้นในปี 2554 และทำการคัดเลือกจนเหลือ 10 สายต้น ในปี 2555 ซึ่งเป็นสายต้นจากศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีทั้งหมดเนื่องจากสายต้นลองกองในแปลงเกษตรกร เกษตรกรได้ตัดต้นลองกองทิ้งและไปปลูกทุเรียนแทน และต่อมาได้ทำการคัดเลือกสายต้นลองกองที่มีคุณภาพดีเหมาะสมในการแนะนำพันธุ์ให้เกษตรกร เหลือเพียงจำนวน 5 สายต้น ในปี 2556 คือ พันธุ์ จบ.1 พันธุ์ จบ.2 พันธุ์ จบ.3 พันธุ์ จบ.4 พันธุ์ จบ.5 ส่วนที่ศูนย์วิจัยพืชสวนตรังได้ดำเนินการคัดเลือกต้นลองกองที่ปลูกในศูนย์จากต้นลองกองทั้งหมด 377 ต้น คัดเลือกเบื้องต้นได้ 40 ต้น แล้วจึงศึกษาการออกดอก และผลผลิต พบว่า ปี 2556 ต้นลองกองมีผลผลิต เท่ากับ 15-85 กิโลกรัมต่อต้น แต่สามารถคัดเลือกต้นลองกองที่ออกดอก และติดผลติดต่อกัน 3 ปี ได้ 12 ต้น ซึ่งมีผลผลิตตั้งแต่ 20-80 กิโลกรัมต่อต้น ส่วนสวนเกษตรกรที่ พัทลุง ออกดอก 2 ครั้ง ส่วนที่จังหวัดสตูล สงขลา และนราธิวาส ลองกองไม่ออกดอกทั้ง 3 ปี จึงไม่ได้คัดเลือก การใส่ปุ๋ยลองกอง ดำเนินการระหว่างปี 2556-2558 โดยที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ใช้ลองกองต้นที่คัดเลือกจำนวน 10 ต้น ที่มี อายุ 30 ปี ระยะปลูก 6x6 เมตรมีทรงพุ่ม 6.3-10.1 เมตร และเส้นรอบวงลำต้น 83.0-110.0 เซนติเมตร ให้ผลผลิต 40.4-100.2 กิโลกรัมต่อต้น เมื่อใส่ปุ๋ย15-15-15 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้น 13-13-21 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น และ 12-12-17+2Mg อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้น ราคาปุ๋ย 114.40 บาทต่อต้น ได้ผลผลิต 40.4-100.2 กิโลกรัมต่อต้น และเมื่อใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน พบว่าในดินมีไนโตรเจน 1.44-2.36% เท่ากับ 101.1-165.7 กรัมต่อต้น ฟอสฟอรัส มี 0.22-0.23% เท่ากับ ฟอสฟอรัสในรูปของ P2O5 5,038-5,107 กรัมต่อต้น และโพแทสเซียม 2.11-2.56% ซึ่งเป็น K2O เท่ากับ 25,230-30,720 กรัมต่อต้น มีแต่ธาตุไนโตรเจนเท่านั้นที่น้อยกว่าอัตราแนะนำ ซึ่งอัตราที่แนะนำคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสในรูปของ P2O5 และโพแทสเซียมในรูปของ K2O อย่างละ 300 กรัมต่อต้น ไนโตรเจนที่ต้องใส่เพิ่มเท่ากับ ต้นละ 134.3-198.9 กรัม ใช้ปุ๋ย 46-0-0 ใส่อัตรา 291-432 กรัมต่อต้น ปริมาณฟอสฟอรัส (P2O5) และ โพแทสเซียม (K2O) มีมากกว่าปริมาณที่แนะนำ ไม่ต้องใส่เพิ่ม เสียค่าปุ๋ยเพียง 7.50-11.10 บาท ต่อต้น และใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ แต่ละต้นให้ผล 44.2-167.6 กิโลกรัม ส่วนที่ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง พบว่าปี 2556ในดินมีธาตุไนโตรเจน 0.07-0.15% ซึ่งเท่ากับปริมาณไนโตรเจน 4.9-12.6 กรัมต่อต้น ในขณะที่อัตราแนะนำให้ใส่ ไนโตรเจน 300 กรัมต่อต้น จึงต้องใส่ไนโตรเจนเพิ่ม 287.3-295.1 กรัมต่อต้น สำหรับฟอสฟอรัสมีในดิน 172-1,196 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักดิน 1 กิโลกรัม (มก./กก.) ซึ่งเท่ากับ ฟอสฟอรัสในรูปของ P2O5 393.9-2,738.8 กรัม ปริมาณฟอสฟอรัสที่มีอยู่ในดินนี้มากกว่าที่แนะนำ ส่วน โพแทสเซียมในดินมี 50-346 มก./กก. เท่ากับโพแทสเซียมในรูป K2O จำนวน 60.5-418.7 กรัมต่อต้น จึงต้องมีการเพิ่มโพแทสเซียมในรูป K2O จำนวน 4.8-239.5 กรัมต่อต้น ปี 2557 มีไนโตรเจน 0.04-0.10% ซึ่งเท่ากับปริมาณไนโตรเจน 2.81-7.02 กรัมต่อต้น เช่นเดียวกับปี 2556 จะต้องใส่ไนโตรเจนเพิ่ม 293.0-297.2 กรัมต่อต้น สำหรับฟอสฟอรัสมีในดิน 69.3-460.1 มก./กก. ซึ่งเท่ากับ ฟอสฟอรัสในรูปของ P2O5 158.7-1,053.6 กรัม ปริมาณฟอสฟอรัสที่มีอยู่ในดินนี้ของ 34 ต้น มีมากกว่าที่แนะนำ ซึ่งมีมากกว่าตั้งแต่ 46.3-753.6 กรัมต่อต้น และ 6 ต้นมีน้อยกว่า ซึ่งต้องใส่เพิ่ม 16.7-141.3 กรัมต่อต้น ส่วนโพแทสเซียมในดินมี 44.8-218.3 มก./กก. เท่ากับโพแทสเซียมในรูป K2O จำนวน 54.2-264.1 กรัมต่อต้น จึงต้องมีการเพิ่มโพแทสเซียมในรูป K2O จำนวน 35.9-245.8 กรัมต่อต้น ส่วนปี 2558 มีไนโตรเจน 0.03-0.07% ซึ่งเท่ากับปริมาณไนโตรเจน 2.11-4.91 กรัมต่อต้น จะต้องใส่ไนโตรเจนเพิ่ม 295.1-297.9 กรัมต่อต้น สำหรับฟอสฟอรัสมีในดิน 20.4-201.3 มก./กก. ซึ่งเท่ากับ ฟอสฟอรัสในรูปของ P2O5 46.7-461.0 กรัม ปริมาณฟอสฟอรัสที่มีอยู่ในดินนี้ของ 8 ต้น มีมากกว่าที่แนะนำ ซึ่งมีมากกว่าตั้งแต่ 1.1-161.0 กรัมต่อต้น และ 32 ต้นมีน้อยกว่า ซึ่งต้องใส่เพิ่ม 37.3-253.3 กรัมต่อต้น ส่วนโพแทสเซียมในดินมี 25.9-132.9 มก./กก. เท่ากับโพแทสเซียมในรูป K2O จำนวน 31.3-160.8 กรัมต่อต้น จึงต้องมีการเพิ่มโพแทสเซียมในรูป K2O จำนวน 139.2-268.7 กรัมต่อต้น เนื่องจากไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในดินที่ปลูกลองกองที่ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง มีปริมาณต่ำมาก ดังนั้นปริมาณไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P2O5) และโพแทสเซียม (K2O) ที่ใช้เท่ากับปริมาณที่แนะนำ และได้ผลผลิต ดังนี้ปี 2556 ผลผลิตของลองกอง เก็บเกี่ยวได้ 33 ต้น มีน้ำหนัก 15-95 กิโลกรัมต่อต้นปี 2557 เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 29 ต้น ได้ต้นละ 15-50 กิโลกรัม และปี 2558 มีต้นลองกองที่ออกดอกและเก็บผลผลิตได้ 28 ต้น ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้มีนำหนักตั้งแต่ 5-55 กิโลกรัมต่อต้น การศึกษาระดับที่เหมาะสมในการตัดยอดต้นลองกอง ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของต้นลองกอง การออกดอกติดผล และคุณภาพผลผลิต โดยดำเนินการคัดเลือกต้นลองกองในแปลงลองกองของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนราธิวาส ที่มีอายุประมาณ 30 ปี จำนวน 30 ต้น ที่ต้นมีความสูง และความกว้างของทรงพุ่มสม่ำเสมอ วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (CRD) มี 6 กรรมวิธี จำนวน 5 ซ้ำ ได้แก่ (1.) ไม่มีการตัดยอด (ควบคุม) (2.) ตัดยอดให้เหลือความสูงของต้น 2 เมตร (3.) ตัดยอดให้เหลือความสูงของต้น 3 เมตร (4.) ตัดยอดให้เหลือความสูงของต้น 4 เมตร (5.) ตัดยอดให้เหลือความสูงของต้น 5 เมตร และ (6.) ตัดยอดให้เหลือความสูงของต้น 6 เมตร ดำเนินการทดลองตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555 และสิ้นสุดเดือนกันยายน 2558 จากการศึกษาการเจริญเติบโตและการพัฒนาของต้นลองกอง พบว่า การตัดยอดต้นลองกองมีผลทำให้การแตกใบอ่อนเพิ่มขึ้น แต่ทำให้การเพิ่มขนาดของลำต้นลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับต้นที่ไม่มีการตัดยอด สำหรับการออกดอก พบว่า ในปี 2557 และ 2558 ต้นลองกองที่ตัดยอดให้เหลือความสูงของต้น 6 เมตร มีจำนวนช่อดอกต่อต้นเฉลี่ยสูงสุด มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่น และ ต้นลองกองที่ตัดยอดให้เหลือความสูงของต้น 6 เมตร มีจำนวนช่อผลต่อต้นเฉลี่ยสูงสุด มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่น ส่วนคุณลักษณะของคุณภาพผลผลิตลองกองในแต่ละกรรมวิธีปรากฏผลไม่แน่นอนและมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากการทดลองครั้งนี้ไม่มีการตัดแต่งช่อดอก หรือการตัดแต่งช่อผล แต่ต้นลองกองที่ตัดยอดให้เหลือความสูงของต้น 6 เมตร มีแนวโน้มที่จะให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่น
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์ลองกองและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
ศึกษาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ลองกองกวนชนิดแผ่น โครงการวิจัยพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตไหมที่เหมาะสม ชุดโครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ยางเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์ลิ้นจี่ การใช้ชนิดต้นตอที่เหมาะสมสำหรับการขยายพันธุ์ลองกอง การศึกษาประสิทธิภาพของสารเร่ง พด.7 ในการป้องกันกำจัดหนอนชอน เปลือกลองกอง ทดสอบการจัดการดินที่เหมาะสมร่วมกับเทคโนโลยีชีวภาพในระบบเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสานเพื่อปลูกลองกอง การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ แตงกวา และฟักทอง ที่เหมาะสม การรักษาคุณภาพของลองกองพร้อมบริโภคด้วยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว โครงการวิจัยการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตลองกองคุณภาพ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก