สืบค้นงานวิจัย
ผลยับยั้งของสารสกัดจากผลดีปลีต่อเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของผลมะม่วง
วนัสนันท์ สะอาดล้วน - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ผลยับยั้งของสารสกัดจากผลดีปลีต่อเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของผลมะม่วง
ชื่อเรื่อง (EN): Inhibitory Effect of Java Long Pepper Fruit Extracts on Colletotrichum gloeosporioides Causing Anthracnose Disease of Mango Fruit
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วนัสนันท์ สะอาดล้วน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Wanassanan Sa-ardluan
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พิทยา สรวมศิริ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Pittaya Sruamsiri
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ทำการศึกษาโดยสกัดสารออกฤทธิ์จากผลดีปลีแห้ง Java long pepper (Piper retrofractum Vahl.) ด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ คือ เอทธานอล 95% ได้ปริมาณสารสกัดหยาบเท่ากับ 12.1% หลังจากนั้นทำการแยกสาร องค์ประกอบในสารสกัดหยาบด้วย TLC (Thin layer chromatography) โดยใช้ตัวทำละลายเคลื่อนที่ คือ hexane : ethyl acetate : methanol ในอัตราส่วนต่าง ๆ ก่อนตรวจสอบทางชีววิทยา (TLC-bioassay) โดยใช้เชื้อรา Cladosporium cladosporioides พบบริเวณต้านเชื้อรา (clear zone) ที่ชัดเจนที่สุด 2 บริเวณ คือบริเวณที่มีค่าเท่ากับ 0.12-0.36 และ 0.51-0.72 เพื่อตรวจสอบฤทธิ์ควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคแอนแทรคโนส ทำการแยกสารองค์ประกอบบริเวณที่ออกฤทธิ์ดีข้างต้นเพื่อให้บริสุทธิ์ขึ้นด้วยวิธี Column chromatography ได้กลุ่มสารที่เรียกว่า dp ทำการวิเคราะห์สารองค์ประกอบด้วยวิธี GC-MS พบว่าประกอบด้วยสาร piperine เป็นองค์ประกอบหลัก 39.17% และสารอื่น ๆ อีก เมื่อนำไปทดสอบความเป็นพิษ ต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides โดยเปรียบเทียบที่ความเข้มข้น 5 ระดับ คือ 0, 250, 500, 1,000 และ 2,000 ppm และเปรียบเทียบกับสารเคมี benomylเข้มข้น 500 ppm พบว่าที่ระดับความเข้มข้น 500 ppm ขึ้นไปสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นใยเชื้อราได้ 100 % เท่ากับสาร benomyl และที่ระดับความเข้มข้น 250 ppm สามารถยับยั้งได้ 89.91%
บทคัดย่อ (EN): Fruits of Java long pepper (Piper retrofractum Vahl.) were extracted with 95% ethanol. The percentage yield is 12.1%DW. In order to confirm the active ingredients, the crude extract was separated by TLC (Thin layer chromatography) in many proportions of mobile phase system; hexane:ethyl acetate:methanol, then determined with TLC- bioassay method using Cladosporium cladosporioides as an indicator. Two clear zones of fungal inhibition were found at Rf 0.12-0.36 and 0.51-0.72. To examine and purify the active compound, the crude extract were fractioned based on Rf-value by CC (Column chromatography). Obtained liquid were mixed together called “dp” and analyzed by GC-MS to identify the chemical structure, chemical component and amount of the substances. It was found that piperine was the major component in crude extract with the amount of 39.17%. Efficiency of “dp” to inhibit growth of Colletotrichum gloeosporioides was tested by comparing 5 concentrations of 0, 250, 500, 1000 and 2000 ppm and compare to 500 ppm of benomyl. The result revealed that dp at the concentration 500 ppm and higher concentrations could completely (100%) inhibit the growth of fungus as same as benomyl 500 ppm, where as dp at the concentration of 250 ppm showed 89.91% inhibition.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/246580/168662
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลยับยั้งของสารสกัดจากผลดีปลีต่อเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของผลมะม่วง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2548
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
บทบาทของสารประกอบที่ว่องไวปฏิกิริยาต่อการเจริญและเปลี่ยนแปลงของเซลล์เชื้อราก่อโรคแอนแทรคโนสในพริก สารออกฤทธิ์ชีวภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพรป่าชายเลนที่มีต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Penz.) ผลของแบคทีเรีย Bacillus licheniformis BFP011 ในการยับยั้งเชื้อรา Colletotrichum capsici สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของพริก ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากตะไคร้หอมในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคผลเน่าในมะม่วงและโรคโคนเน่าในผัก สารสกัดอย่างหยาบของพืชสมุนไพรบางชนิดที่มีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อรา การผลิตน้ำเชื่อมจากข้าวเหนียวด้วยรา ผลของเอทธานอลต่อโรคแอนแทรคโนสของผลท้อ ผลของสารสกัดบริสุทธิ์จากสมุนไพรต่อการยับยั้นการเจริญของเชื้อ Pythium insidiosum (คปก. ต่อยอด) ฤทธิ์ของสารสกัดจากสาหร่ายทะเลบางชนิดในการยับยั้งเชื้อโนดะไวรัสที่ก่อโรคในปลากะรังดอกแดง ประสิทธิภาพของสารสกัดจากไมยราบต่อการควบคุมโรคแอนแทรคโนสของมะม่วงน้ำดอกไม้ในระหว่างการเก็บรักษา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก