สืบค้นงานวิจัย
ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของหมึกสายขาว (Amphioctopus aegina (Gray, 1849)) บริเวณอ่าวไทยตอนใน
จามรี พัดสอน - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
ชื่อเรื่อง: ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของหมึกสายขาว (Amphioctopus aegina (Gray, 1849)) บริเวณอ่าวไทยตอนใน
ชื่อเรื่อง (EN): Reproductive Biology of Marbled Octopus (Amphioctopus aegina (Gray, 1849)) in the Inner Gulf of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จามรี พัดสอน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Jamaree Padsorn
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่: ประมง หรือ สัตว์น้ำ
หมวดหมู่ AGRIS: M การประมงและการเพาะเลี้ยงพืชและเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquatic sciences and fisheries)
บทคัดย่อ: หมึกสายขาว (Amphioctopus aegina (Gray, 1849)) รวบรวมจากเครื่องมือลอบหมึกสาย อวนลากคู่ และอวนลากแผ่นตะเฆ่ บริเวณอ่าวไทยตอนใน (จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์) ปี 2559 จำนวนทั้งสิ้น 2,551 ตัว มีความยาวลำตัวอยู่ในช่วง 1.60-9.80 เซนติเมตร น้ำหนักตัวอยู่ในช่วง 2.68- 156.00 กรัม ประกอบด้วย หมึกสายขาวเพศผู้ จำนวน 1,419 ตัว มีความยาวลำตัวอยู่ในช่วง 1.60-8.10 เซนติเมตร น้ำหนักตัวอยู่ในช่วง 2.68-108.09 กรัม เพศเมีย จำนวน 1,132 ตัว มีความยาวลำตัวอยู่ในช่วง 2.00-9.80 เซนติเมตร น้ำหนักตัวอยู่ในช่วง 3.00-156.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวลำตัวกับน้ำหนักของหมึกสายขาว รวมเพศ อยู่ในรูปสมการ W = 0.7991ML2.3164 เพศผู้ W = 0.7887ML2.3334 และเพศเมีย W = 0.7812ML2.3190 อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียโดยรวมตลอดปี ไม่เท่ากับ 1 : 1 (p<0.05) โดยมีอัตราส่วนเพศผู้มากกว่าเพศเมีย (1 : 0.798) มีขนาดแรกสืบพันธุ์ของเพศผู้และเพศเมีย เท่ากับ 3.02 และ 5.91 เซนติเมตร ตามลำดับ มีการวางไข่ ได้ตลอดปี โดยวางไข่สูงในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม
บทคัดย่อ (EN): Reproductive biology of marbled octopus (Amphioctopus aegina (Gray, 1849)) was studied in the Inner Gulf of Thailand (Samut Prakan, Samut Sangkram, Phetchaburi and Prachuap Khiri Khan Provinces) in 2015 from octopus pot, otter board trawl and pair trawls. Total of marbled octopus was 2,551 samples consisted of 1,419 males and 1,132 females. Lengths of total marbled octopus were found at the range of 1.60-9.80 cm whereas those male 1.60-8.10 cm and female 2.00-9.80 cm. Body weights of total marbled octopus were found at the range of 2.68-156.00 g whereas those male 2.68-108.09 g and female 3.00-156.00 g. The length-weight relationships for both sex, male and female were W = 0.7991ML2.3164, W = 0.7887ML2.3334, W = 0.7812ML2.3190, respectively; sex ratio (male to female) was significantly different from 1 : 1 (p<0.05). In which the proportion of males greater than females (1 : 0.798). Lengths at first maturity (L50) were 3.02 and 5.91 cm in male and female while spawned all year round, with peaks during March to May.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับชาติ: การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: -
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: -
เลขทะเบียนวิจัยกรม: 62-3-0208-62004
ชื่อแหล่งทุน: -
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: -
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: https://www.fisheries.go.th/marine/research/files/th/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%205-2562.pdf
พื้นที่ดำเนินการ: อ่าวไทยตอนใน
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: มกราคมถึงธันวาคม ปี 2559
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Submitted by จิดาภา ตะเวทีกุล กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล (epinny@gmail.com) on 2020-06-26T09:30:24Z No. of bitstreams: 1 5-2562 ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของหมึกสายขาว จามรี.pdf: 661017 bytes, checksum: 05f7363a10c12e4c9d3b631369388831 (MD5)
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของหมึกสายขาว (Amphioctopus aegina (Gray, 1849)) บริเวณอ่าวไทยตอนใน
กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
2560
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ชีววิทยาสืบพันธุ์ของปลาทูในบริเวณอ่าวไทยตอนใน การศึกษาพฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยของหมึกสายขาว (Octopus aegina Gray, 1849) ในห้องปฏิบัติการ การประมงลอบหมึกบริเวณอ่าวไทยตอนใน ชีววิทยาปลาข้างเหลืองชนิด Selaroides leptolepis (Cuvier, 1833) ในอ่าวไทย การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำบริเวณอ่าวไทยตอนใน สภาวะแวดล้อมเขตชายฝั่งในอ่าวไทย การศึกษาการจัดทำธนาคารปูม้า บริเวณอ่าวไทยตอนใน การเปลี่ยนแปลงสภาวะทรัพยากรประมงบริเวณอ่าวไทยตอนใน ทรัพยากรประมงจากเรืออวนดำบริเวณอ่าวไทยตอนใน ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาหลังเขียว(Sardinella gibbosa(Bleeker, 1849)) ในอ่าวไทย
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก